อิทธิพล สังคมออนไลน์


824 ผู้ชม


ครือข่ายสังคมออนไลน์ รู้จักเพื่อนใหม่ผ่านโลกไร้พรมแดน   

        เครือข่ายสังคมออนไลน์   เช่น  ทวิตเตอร์(www.twitter.com) เฟสบุ๊ก (www.facebook.com) หรือ ไฮไฟ (www.hi5.com)ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับการใช้เป็นสื่อในการสื่อสารทำให้รู้จักเพื่อนใหม่ผ่านโลกไร้พรมแดนมากขึ้น ทำให้เกิดกระแสใหม่ในการรวบรวมกลุ่มคนที่มีความหลงไหลสิ่งเดียวกัน หรือ ใช้เป็นเครื่องมือแสดงพลังทั้งในทางบวกและทางลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เฟสบุ๊กที่มีผู้ใช้ทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์

อิทธิพล สังคมออนไลน์ 

ที่มาภาพ : ภาพจากวิกิพีเดีย

จากประเด็นข่าวดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงอิทธิพล ประโยชน์และอันตรายของการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สาระที่ ๓    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
มาตรฐาน ง ๓.๑    เข้าใจ   เห็นคุณค่า    และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้    การสื่อสาร  การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมี
ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล   และมีคุณธรรม 
 
มีผู้ให้ความหมายของเครือข่ายสังคม ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
       อิทธิพล ปรีติประสงค์ (gotoknow.org) กล่าวว่า 
 “เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นปรากฎการณ์ของการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต และ ยังหมายรวมถึง การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เข้าด้วยกัน ในแง่ของการให้ความหมายของคำว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์” นั้น คุณเก่ง หรือ กติกา สายเสนีย์ ในเว็บบล็อก ได้ให้ความหมายที่น่าสนใจ

        "Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น"

 อิทธิพล สังคมออนไลน์

ที่มาภาพ : ภาพจากวิกิพีเดีย

     ในเฟสบุ๊ก มักจะเห็นการสร้างสารพัดกลุ่มต่างๆ เพื่อใช้เป็นพื้นที่แสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ระหว่างกลุ่มเพื่อนหรือคนรู้จัก หรือสร้างกลุ่มเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบในวงกว้าง หรือเกิดเหตุการที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกของคนในสังคม ซึ่งการตั้งกลุ่มในเฟสบุ๊กที่สามารถดึงดูดความสนใจของคนในสังคม มักจะเป็นกลุ่มทางการเมือง กลุ่มแสดงพลังทางความคิดในเรื่องต่างๆ ที่เป็นกระแสในช่วงเวลานั้น กลุ่มของแวดดวงบันเทิง ภาพยนตร์ ละคร ทีกำลังออกอากาศ  เป็นต้น

อิทธิพล สังคมออนไลน์

   นอกจากนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์ หรือ เฟสบุ๊ก ยังถูกใช้เป็นพื้นที่ในการโฆษณาสินค้า บริการหรือ การดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ทางธุกิจต่างๆ ในการเข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว ที่มีมูลค่าทางธุรกิจมหาศาล ซึ่งผู้ใช้สามารถจะบอกต่อเรื่องราวให้เพื่อนหรือบุคคลอื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนเองต่อไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่ง ช่องทางเหล่านี้ยังเป็นจุดอ่อนที่ทำให้ผู้ใช้หลายรายใช้เป็นสื่อในด้านการแสดงความรุนแรง หยาบคาย หรือแสดงข้อมูลอันส่งผลกระทบในทางลบหรือละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นได้ง่ายเพราะไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีมาตรการหรือกฎหมายในการควบคุมการใช้สื่อเหล่านี้ที่ดีพอ

วิดีโอจาก รายการข่าวโมเดิร์นไนน์ : https://youtu.be/WxSEu60-hiE

    แม้ลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ จะเป็นสื่อให้ข้อมูลข่าวสารสามารถกระจายออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง มีคุณประโยชน์มากมายในด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม  หากผู้ใช้ขาดคุณธรรมจริยธรรม สามัญสำนึก การรู้จักเคารพสิทธิ ของผู้อื่น และความระมัดระวังในการใช้แล้ว สังคมออนไลน์เหล่านี้ก็จะเป็น "สังคมอันตราย" ที่จะเป็นด้านมืดของสังคมไทย


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 1.  เครือข่ายสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง
 2. นักเรียนจะใช้ประโยชน์จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ได้อย่างไรบ้าง
 3. นักเรียนมีวิธีการอย่างไรที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

กิจกรรมเสนอแนะ
  1. นักเรียนควรศึกษาค้นคว้าถึงมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์
  2. นักเรียนควรศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์และอันตรายจากการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์

การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
  1. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  2. ภาษาต่างประเทศ
  3. ภาษาไทย

แหล่งที่มาของข้อมูล : 
         ทีมข่าวไอทีออนไลน์.  "สะท้อนสังคม แสดงพลัง : อิทธิพลโซเชียลฯ."  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์.  
         เข้าถึงได้จาก:https://www.thairath.co.th/content/tech/169406.  สืบค้น 8 พฤษภาคม 2554.

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3701

อัพเดทล่าสุด