ประกอบเครื่องคอมฯไม่ใช่เรื่องยากหาก
1.บทนำ
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเราในทุก ๆ ด้าน ผู้คนได้ให้ความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กันอย่างกว้างขวางและมีความเกี่ยวพันและใช้งานคอมพิวเตอร์ในทุกสาขาอาชีพ จึงทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้มีการประกอบและติดตั้ง เพื่อง่ายต่อการใช้งาน เมื่อเทียบกับสมัยก่อน ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องยาก
หากเราคิดที่จะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาสักเครื่องนึงและทำการติดตั้งโปรแกรมด้วยตัวเอง... มาลองดูกันนะ!!!
การประกอบเครื่องไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
2.ที่มา ของข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=VhTdVbwdusU
3.กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับช่วงชั้นที่ 4
4.เนื้อหา
ลำดับขั้นตอนในการประกอบเครื่อง การประกอบ CPU และ RAM ลงเมนบอร์ด
1. ประกอบซีพียูและแรมลงบนเมนบอร์ด
2. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเครื่อง พร้อมต่อสายสัญญาณต่างๆภายในเครื่อง
3. ติดตั้งปล็อปปี้ดิสก์ฮาร์ดดิสก์และไดร์ฟซีดีรอม ติดตั้งการ์ดต่างๆ
4. ปิดเคส ต่ออุปกรณ์ภายนอก
5. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
-ไขควงปากแบบ หรือไขควงแฉก
-ตัวคีบสกรู ใช้คีบน๊อตใส่ในช่องเกลียวสำหรับขันน๊อตในที่แคบที่ไม่สามารถใช้มือจับได้
-ตัวถอดชิพ ใช้ถอดชิพใน CPU ที่เป็นเครื่องรุ่นเก่าๆ
-หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ ใช้สำหลับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือจากการประกอบเครื่อง ใว้ใช้ในยามจำเป็น
-ปากคีบ สำหลับคีบจับสกรูหรือจับอุปกรณ์ชิ้นเล็ก
-บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้สำหลับขันน็อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับแผงเหล็กของเคส
-หัวมะเฟือง สำหลับขันน็อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหลับอุปกรณ์บางประเภทที่ผู้ผลิต อุปกรณ์ไม่ต้องการให้มืออาชีพมาแกะซ่อมเอง
1. การประกอบ CPU และ RAM ลงเมนบอร์ด
การติดตั้ง CPU
1. เปิดคู่มือของเมนบอร์ด หาตำแหน่ง Socket สำหรับติดตั้งCPU
2. เมื่อพบตำแหน่งแล้วยกก้าน Socket ออก
3. วาง CPU บน socket สังเกตว่าหากตำแหน่งขาตรงจะสามารถวาง CPU ลงบนตำแหน่งSocket โดยไม่เอียง และไม่ต้องออกแรงกดเลย
4. กดก้านล็อก CPU ลงเพื่อยึด CPU ให้แน่นอยู่กับที่
5. นำฮีทซิงค์ติดตั้งบนตัวCPU
6. วางขายึดฮีทซิงค์ลงบนเมนบอร์ดกดลงไปตรงๆ จนขายึดเข้ากับกรอบ
7. โยกคันล็อคฮีทซิงค์ ด้านบน 2 อันในทิศทางตรงกันข้ามจนสุด
8. เสียบสายพัดลมระบายความร้อนโดยหาตำแหน่ง Socket บนเมนบอร์ด ให้เมนบอร์ดจ่ายไฟให้พัดลมทำงาน
1. การติดตั้ง RAM โดยเปิดคู่มือ ของเมนบอร์ด เพื่อดูตำแหน่งของ RAM
2. ติดตั้ง RAM ลงบนช่องสำหรับเสียบ RAM โดยง้างขาล็อก RAM บน Slot แล้ววาง RAM เทียบกับ Slot ให้ตำแหน่งร่อง RAM ลงพอดีตรงกลางแกน DIMM
3. กด RAM ลงไปโดยกดที่ขอบบน ซ้ายและขวาพร้อมกัน จนขาล็อคทั้งสองฝั่งเกาะยึดเข้ากับรอมบากด้านข้างของ RAM จนสุด
4. ติดตั้งสายเคเบิ้ลหรือสายที่เป็นตัวนำข้อมูลจาด Drive และ Socket ต่าง ๆ ไปสู่หน่วยความจำและ CPU
4.1 หา Socket IDE และ Floppy Drive ที่อยู่บนเมนบอร์ด
4.2 ติดตั้งสายเคเบิ้ล IDE สำหรับ Hard disk โดยเสียบสายเคเบิ้ลเข้ากับ Socket IDE1 โดยให้แถบพลาสติกตรงกับร่างของ Socket IDE1
4.3 กดที่ปลายทั้งสองด้านของขั้วต่อสายลงไปตรง ๆ จนสุด
4.4 ติดตั้งสายเคเบิ้ล IDE สำหรับ Optical Drive (CD-ROM,CD-Writer,DVD-ROM,DVD-Writer) โดยเสียบต่อสายเคเบิ้ลเข้ากับ socket IDE 2 (ดังภาพแสดงตำแหน่งของ Port ที่สำหรับเสียบสายเคเบิ้ล ) โดยให้แถบพลาสติกนูนตรงกับร่องของ Socket IDE 2
4.5 ที่ปลายทั้งสองข้างของขั้วต่อสายลงไปตรง ๆ จนสุด
4.6 การติดตั้งสายเคเบิ้ล FDD สำหรับ Floppy Drive ต้องมีการต่อสายเคเบิ้ลอีก 1 สายต่างหาก กดที่ปลายทั้งสองด้านของขั้วต่อสายลงไปตรง ๆ จนสุด
ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์(พีซี)
สำหรับขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์(พีซี)ในที่นี้ ประกอบด้วยหัวข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1. การจัดเตรียมอุปกรณ์
ชุดเครื่องมือสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ไขควงปากแบนและไขควงแฉกขนาดกลาง ใช้ขันน็อตยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส ยึดการ์ดเพิ่มเติม ติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ ีดีรอมไดรว์ และฮาร์ดดิสก์ ตลอดจนการปิดฝาเคส โดยอุปกรณ์มีดังนี้
1. ตัวครีบสกรู
2. ตัวถอดชิป
3. หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์
4. ปากคีบ สำหรับคีบจับสกรูหรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ
5. บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก
6.หัวมะเฟืองสำหรับยึดน็อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์บางประเภทที่ทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ ผู้ที่ไม่ใช่ช่างอาชีพมาแกะซ่อมเอง
2. การเปิดฝาเคส
1. ใช้ไขควงขันคลายน๊อตด้านหลังตัวเคสเพื่อเปิดฝาด้านข้างออก
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-02.jpg
2. ภายในเคสทุกตัวจะมีน๊อตประกอบเครื่อง สายเพาเวอร์เครื่อง และให้แกะออกมาจัดเตรียมไว้ให้พร้อม
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-03.jpg
3. เปิดแผงเหล็กกั้นด้านข้างตัวเคสออก เพื่อเตรียมติดตั้งเมนบอร์ด
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-06.jpg
4. แสดงให้เห็นลักษณะการง้างแผงเหล็กด้านข้าง ก่อนถอดออกมา
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-07.jpg
5. ตัวเคสที่แกะแผงข้างออกมา พร้อมประกอบเข้ากับเมนบอร์ดแล้ว
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-08.jpg
3. การติดตั้งเมนบอร์ด
ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสขั้นตอนนี้ให้แกะกล่องบรรจุเมนบอร์ดที่เพิ่งซื้อออกมาดู โดยทุกเมนบอร์ดจะมีต้วเมนบอร์ด สายฮาร์ดดิสก์/ฟล๊อบปี้ดิสก์ คู่มือเมนบอร์ด ละแผ่นซีดีไดรว์เวอร์เมนบอร์ดมาด้วย ให้ตรวจดูความเรียบร้อยก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้คือ เมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสแล้วให้กำหนดจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น "Normal" ( เมนบอร์ดที่ซื้อมาทุกอันจะถูกกำหนดจัมเปอร์เป็น "Clear CMOS" เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมด)เพราะหากไม่กำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้อง หลังประกอบเครื่องแล้วจะบู๊ตเครื่องๆไม่ได้ สำหรับการติดตั้งเมนบอร์ดมีขั้นตอนดังนี้
1. แกะกล่องเมนบอร์ดตรวจดูคู่มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-11.jpg
2. ขันแท่นรองน๊อตเข้ากับแท่นเครื่องให้ตรงกับช่องเมนบอร์ด
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-12.jpg
3.วางทาบให้ช่องเมนบอร์ดตรงกับรูแท่นรองน๊อตที่ขันยึดกับแผงเคส โดยสังเกตดูให้แท่นรองน็อตตรงกับเมนบอร์ดทุกช่อง
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-13.jpg
4. ขันน๊อตลงบนแท่นรองน๊อต เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคส
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-14.jpg ภาพจากเวบ
5. ให้คีมปากจิ้งจกคีบจัมเปอร์ มาใส่ไว้ตำแหน่ง "Normal"
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-15.jpg
4. การติดตั้งโปรเซสเซอร์
ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดการติดตั้งซีพียูในปัจจุบันสะดวกกว่าแต่ก่อนมากนักเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นแบบซ๊อกเก๊ตที่มีขาทั้งตัว เวลาติดตั้งกับช็อกเก็ตบนเมนบอร์ด ห้หันมุมที่มีรอยหักให้ตรงกับด้านที่มีรอยหักบนเมนบอร์ด ก็จะเสียบลงไปได้พอดี หากใส่ไมเข้าอย่าฝืนดันเข้าไปให้ถอดออกมาตรวจสอบและตรวจดูมุมหักให้ถูกต้อง ก่อนใส่กลับเข้าไปใหม่ หลังจากนั้นให้ติดตั้งพัดลมระบายความความร้อนให้กับซีพียูด้วย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. ง้างกระเดื่องล็อคซีพียูออกทางด้านข้างจนสุด และดันขึ้นเพื่อเตรียมใส่ซีพียู
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-16.jpg
2. เสียบใส่ซีพียูเข้ากับซ็อกเก็ตโดยดันเข้าไปตรงๆ ให้ด้านที่มีรอยหักของซีพียูตรงกับรอยหักซ้อกเก็ต
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-17.jpg
3. ดันแขนกระเดื่องกลับลงมาล็อคกับช็อกเก็ตเหมือนเดิม
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-18.jpg
4. ใช้ไขควงเกี่ยวแขนล็อคพัดลมยึดกับหูล็อคบนช็อกเก็ตบนเมนบอร์ด
ที่มา :
5. เสียบสายพัดลมเข้ากับขั้วจ่ายไฟเลี้ยงเมนบอร์ดที่ตำแหน่ง "CPU FAN"
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/untitled-medium-init-.jpg
5. การติดตั้งแรม
ติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดการติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดทำได้ไม่ยาก แต่มีหลักอยู่ว่าในช่องเสียบแรมชนิดต่างๆ จะมีล็อคอยู่ในตำแหน่งต่างกัน เพื่อป้องกันการเสียบแรมผิดด้านจะทำให้แรมไหม้เสีย ดังนั้นก่อนเสียบแรมทั้งแบบ SDRAM,DDRSDRAM และ RDRAM ควรตรวจดูคันล็อคว่าอยู่ด้านใดและใส่แรมให้ถูกด้าน ดยมีขั้นตอนดังนี้
1. หาตำแหน่งสล็อตเสียบแรมบนเมนบอร์ด และเตรียมแรมให้พร้อม
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/1122-medium-init-.jpg
2. หันแรมให้ถูกด้านโดยให้รอยบากบนตัวแรม ตรงกับคันล็อคบนสล็อตเมนบอร์ด ให้ตรวจดูให้ดีว่าสล็อตเมนบอร์ดใช้แรมที่เรามีอยู่ได้หรือไม
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/255.jpg
3.ดันแรมลงไปตรงๆ จนสุด ซึ่งสังเกตได้ว่าแขนล็อคแรมได้กระดกกลับมาล็อคปลายแรมทั้งสองข้างพอดี
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Untitled-10.jpg
6. การติดตั้งฟลอปปี้ดิสก์
ติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์การติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ค่อนข้างง่ายกว่าติดตั้งอุปกรณ์อื่น เพราะมีสายที่ต้องติดตั้งเพียง 2 เส้นคือ สายไฟและสายสัญญาณ การติดตั้งสายไฟจะมี หัวล็อคอยู่ถ้าไม่พอดีอย่าฝืนดันเข้าไปส่วนสายสัญญาณก็ให้เสียบขาที่ 1 ให้ตรงกับฟล็อบปี้ดิสก์ในการสังเกต คือ เมื่อเสียบสายทั้ง 2 เส้นเข้ากับฟล็อบปี้ดิสก์แล้ว สายไฟเส้นสีแดงและสายสัญญาณด้านที่มีสีแดงต้องอยู่ชิดกัน มีขั้นตอนดังนี้
1. ใส่ฟล็อบปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้ง ( Drive Bay ) และดันเข้าไปให้สุด
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-13_0.jpg
2. ใช้ไขควงขันน๊อตยึดฟล็อบปี้ดิสก์เข้ากับช่องเคส
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-24.jpg
3.เสียบสายจ่ายไฟเลี้ยงและสายสัญญาณเข้ากับไดรว์ให้ถูกต้อง
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-25.jpg
4.เสียบสายสัญญาณอีกด้านเข้ากับช่องเสียบบนเมนบอร์ด โดยให้ด้านที่มีสายสีแดงตรงกับขา 1 บนเมนบอร์ด
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-26.jpg
7. การติดตั้งฮาร์ดดิสก์
ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ก่อนการติดตั้งวฮาร์ดดิสก์เข้าเครื่อง ให้กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ก่อนโดยถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับติดตั้ง และบู๊ตระบบต้องกำหนดให้เป็น"Master" อย่างเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ลูกที่ 2 ที่ติดตั้งบนสายเส้นเดียวกันก็ให้กำหนดเป็น "slave" และให้ติดตั้งสาย 2 เส้นเช่นเดียวกันกับฟล็อบปี้ดิสก์ คือสายจ่ายไฟ ละสายสัญญาณให้เสียบให้ถูกด้านโดยสายจ่ายไฟมีรอยหักมุมบน ส่วนสัญญาณ ให้สังเกตขา
1 เป็นหลักโดยมีตัวเลขกำกับไว้ที่ท้ายไดรว์ ส่วนที่ส่วนตัวสายขา 1 จะมีสีแดง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้1. กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ไว้ที่ตำแหน่ง "Master" เพื่อใช้บู๊ตเครื่อง
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-32.jpg
2.ใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องใส่ไดรว์ในเคส (Drive Bay) โดยดันเข้าไปให้สุด และขยับให้ช่องขันน๊อตของตัวไดรว์ตรงกับรูยึดด้านข้างของตัวเคส
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-33.jpg
3. ขันน๊อตยึดฮาร์ดดิสก์เข้ากับผนังเคส โดยขันให้ครบทั้ง 2 ด้าน
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-34.jpg
4.เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าที่ท้ายฮาร์ดดิสก์โดยให้สายจ่ายไฟด้านที่มีรอยหักมุมอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้ด้านที่มีเส้นสีแดงชิดกับสายจ่ายไฟ
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-35.jpg
5.นำปลายอีกด้านของสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องต่อบนเมนบอร์ด โดยให้เส้นสีแดงอยู่ตรงขา 1 บนเมนบอร์ดโดยจะมีตัวเลข 1 กำกับอยู่
ที่มา : https://202.44.68.33/files/u49987/Image-36.jpg
5.ประเด็นคำถาม
1.ลำดับขั้นตอนในการประกอบเครื่องมีอะไรบ้าง
2.อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
6.กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนวาดภาพ ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์
7.การบูรณาการกับสาระวิชาอื่น ๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนเขียนชื่อชิ้นส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ นักเรียนบอกการเรียงลำดับขั้นตอนการประกอบได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ นักเรียนเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนฝึกประกอบคอมพิวเตอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา นักเรียนฝึกทักษะการใช้สายตา ใช้มือ ในการประกอบเครื่อง เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ นักเรียนวาดภาพส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ นักเรียนเขียนชื่อภาษาอังกฤษชิ้นส่วนของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
8. อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.ratchaneewan.bcnice.net/unit%203/unit3-1.html
https://www.youtube.com/watch?v=VhTdVbwdusU
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3717