เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ


1,351 ผู้ชม


นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปประจำชาติที่คนไทยควรช่วยกันรักษาโดยเฉพาะอย่างคือนาฏศิลป์พื้นบ้านทั้งสี่ภาค   

       เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ 

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

ที่มาภาพ   www.entertain.teenee.com

        ทูตน้อยวัฒนธรรมไทย(Thai culture junior ambassador) เวทีที่เปิดโอกาสสำหรับเยาวชนไทย อายุ 10-13 ปี 
ทั่วประเทศที่มีความสามารถด้านนาฏศิลป์ไทย 4 ภาค เพื่อเข้ามาคัดเลือกผู้ชนะจะได้รับทุนการศึกษา 100,000 บาท 
พร้อมถ้วยเกียรติยศ และตั๋วเครื่องบินเพื่อบินไปเผยแพร่วัฒนธรรม ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
        จะเห็นได้ว่าสังคมไทยเริ่มให้การยอมรับคนที่มีความรู้ ความสามารถด้านนาฏศิลป์ไทยมากขึ้น จากอดีตเป็นอาชีพที่ไม่มีใครสนใจแต่ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพที่ทำรายได้ ได้อย่างมหาศาล แถมยังมีโอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศ  จึงเป็นแรงจูงใจให้พ่อแม่ผู้ปกครองส่งเสริมสนับสนุนให้บุญหลานเรียนนาฏศิลป์ไทยมากขึ้น ทำให้โรงเรียนสอนพิเศษเกี่ยวกับด้านนาฏศิลป์ไทยเกิดขึ้นมากมาย
       นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะประจำชาติที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์ และขนบธรรมเนียมที่ดีงามของชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบันด้านการฟ้อนรำที่บรรพบุรุษได้ร่วมกันสั่งสม และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นศิลปะชั้นสูงที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ นาฏศิลป์พื้นบ้านเป็นการแสดงพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่น ที่ยึดถือความเป็นเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของภาคนั้นๆไว้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ แบ่งตามภูมิประเทศของไทยได้ 4 ภาค ดังนี้ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับคำว่าภาคอีสาน ภาคใต้ 
         เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศ.3.2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือช่วงชั้นที่  2


        1.ภาคเหนือ การแสดงจะมีความอ่อนช้อยสวยงามเรียบง่าย มีการแสดงคือ ฟ้อนเล็บ กลองสะบัดชัย ฟ้อนเจิง เป็นต้น
             ฟ้อนเล็บหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ฟ้อนครัวทาน" เป็นการแสดงที่เก่าแก่สวยงาม เป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป  ใช้แสดงนำหน้าขบวนแห่ครัวทานที่จะนำไปถวายวัด ในงานบุญ งานปอยต่าง ๆ ผู้แสดงใช้สภาพสตรีทั้งหมดการแต่งกายตามแบบฉบับโบราณ ใช้เสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่น ห่มสไบ บนศีรษะทัดดอกดอกเอื้องผึ้ง นิยมเกล้าผมมวยทรงญี่ปุ่น ซึ่งในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี  ทรงนำการเกล้าผมแบบญี่ปุ่นเข้ามาเผยแพร่ ซึ่งเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน ผู้แสดงจะสวมใส่เล็บ จึงเรียกว่าการแสดงชนิดนี้ว่า ฟ้อนเล็บ ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บนั้นใช้ วงกลองตึ่งโนง

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ 

ที่มาภาพ   www.fm100cmu.com

         ฟ้อนเจิง เป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงลีลาการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของชาย ซึ่งมีท่วงท่าที่สง่างามและน่าเกรงขาม
ดูทมัดทแมงสมชายชาตรี     
     
   

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

ที่มาภาพ   www.art-culture.chiangmai.ac.th

         กลองสะบัดชัย แต่เดิมใช้ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ แต่ปัจจุบันการตีกลองสะบัดชัยกลายเป็นเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3ทำนอง คือ ชัยเภรี ชัยดิถี และชนะมาร ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้าน ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม  

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

                                                                         ที่มาภาพ    www.pantip.com
        2.ภาคกลาง   การแสดงความสอดคล้องกับวิถีชีวิตส่วนใหญ่จะดัดแปลงมาจากการละเล่นพื้นบ้าน เช่น รำวง กลายเป็น รำวงมาตรรฐาน  การเกี่ยวข้าวกลายเป็นระบำทำนา เป็นต้น ซึ่งได้นำการละเล่นพื้นบ้านในท้องถิ่นมาดัดแปลงให้มีความสวยงามแต่ยังความเป็นเอกลักษณ์ของการละเล่นพื้นบ้านเอาไว้  เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงา มีการแสดงคือ รำกลองยาว ระบำม้า 
รำสีนวลเป็นต้น
          รำกลองยาว เป็นการแสดงที่แสดงถึงการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายกับหญิง ชายจะใช้กลองยาวเป็นอุปกรณ์ในการประกอบการแสดง คำว่า  “กลองยาว”บางทีเรียกว่า เถิดเทิง หรือเทิ่งบอง ตามเสียงกลองที่ได้ยิน  การรำกลองยาวมีกำเนิดมาจากชนบท เนื่องจากการรำกลองยาวคึกคักสนุกสนานเร้าใจ กลองยาวจึงได้รับความนิยมสูง ักจะเห็นการแสดงเช่น ใช้แห่นาคแห่กฐินไปวัด เป็นต้น

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

 ที่มาภาพ   www.pantipmarket.com

        ระบำม้า เป็นการแสดงที่เลียบแบบท่าทางของม้า เดิมใช้แสดงในละครเรื่องไชยเชษฐ์ตอนนารายธิเบศร์ไปเล่นป่า แต่ปัจจุบันนำมาแสดงเป็นชุดแยกออกจากละคร

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ


ที่มาภาพ   www.igetweb.com

        รำสีนวล เป็นการรำที่มีความอ่อนช้อยสวยงามลีลาท่ารำตีบทตามเนื้อเพลง นักแสดงใช้หญิงล้วน

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

ที่มาภาพ   www.showwallpaper.com

         3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่คนส่วนใหญ่มักคุ้นเคยกับคำว่าภาคอีสาน แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ 
คือ กลุ่มแรคือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ”กลุ่มที่ 2กลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือมด้วยคนไทยภาคนี้เป็นคนที่รักความสนุกสนาน การแสดงที่ออกมาจึงมีท่วงทำนองจังหวะที่เร้าใจสนสุกสนานเน้นความพร้อมเพียงมีการแสดงคือเซิ้งกระโป๋ เซิ้งสวิง เซิ้งไทภูเขา เป็นต้น
           เซิ้งกระโป๋ เป็นการละเล่นของกลุ่มหนุ่มสาวชาวอีสาน เน้นความสนุกสนาน เป็นการหยอกล้อกันระหว่างชายกับหญิง 
ผู้แสดงจะถือกระโป๋ประกอบการแสดง ซึ่งกระโป๋ในที่นี้หมายถึง กะลามะพร้าว

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

 ที่มาภาพ    www.sakamula.com

        เซิ้งสวิง เป็นการละเล่น ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมด้านอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยใช้สวิงประกอบ ลีลาท่ารำเลียนแบบการจับสัตว์น้ำเน้นความสนุกสนาน และความสัมพันธ์ในชุมชน 

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

 ที่มาภาพ   www.1.bp.blogspot.com

           เซิ้งไทภูเขา การแสดงชุดนี้เป็นการจำลองชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทภูเขา ที่มีความเป็นอยู่แบบง่ายๆ รักอิสระ ช่วยกันทำมาหากิน ซึ่งได้แก่การออกไปหาหน่อไม้ ลักษณะเด่นของชาวไทภูเขาอยู่ที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่วิจิตรงดงาม

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ 

ที่มาภาพ   www.sakamula.com
         4.ภาคใต้ การแสดงจะได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจากมาลายูเป็นส่วนใหญ่เพราะบริบทอยู่ตอนใต้ของประเทศไทย 
มีการแสดงคือรำโนราห์ ระบำดีดกุ้ง ระบำตารีกีปัส
         รำโนราห์ เป็นการแสดงศิลปะพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคนส่วนใหญ่มักนึกถึงการแสดงโนราห์ถ้าพูดถึงภาคใต้

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

ที่มาภาพ  www.bloggang.com

        ระบำดีดกุ้ง เป็นการแสดงที่แสดงถึงลักษณะท่ารำที่เลียนแบบจากลักษณะ ของกุ้ง
  

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ 

ที่มาภาพ www.gotoknow.org

        ระบำตารีกีปัส เป็นการรำพัด ตารี หมายถึง พัด ผู้ร่ายรำจะถืออุปกรณ์พัดเป็นการร่ายรำประกอบการแสดง

เต้นกินรำกินจะได้รับการยกย่องจากสังคมปัจจุบันจริงหรือ

  ที่มาภาพ  www.gotoknow.org

        ไม่ว่าจะเป็นการแสดงของภาคไหนก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เราในฐานะเยาวชนคนรุ่นใหม่ควรเรียนรู้วิถีชีวิต
ความแตกต่างของบริบท รวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม และร่วมสืบสาน ยกย่อง อนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน 
ที่เป็นภูมิปัญญาของบรรพชนที่มีมาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน ให้อยู่คู่ความเป็นไทยสืบไป โดยเฉพาะการแสดงนาฏศิลป์
ไทย
พื้นบ้าน 4 ภาค ที่นับวันจะมีผู้สืบถอดและเห็นความสำคัญน้อยลง เพราะไม่ว่าเราจะเกิดภาคไหนก็คนไทยเหมือนกันจึงควร
เรียนรู้และช่วยกันส่งเสริมวัฒธรรมรักษาศิลปะพื้นบ้านไว้ เพื่อให้บรรพชนคนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้และร่วมสืบสานต่อไปในอนาคต
เพื่อเป็นการยกย่องศิลปะประจำชาติไม่ให้ใครว่าได้ว่านาฏศิลป์เป็นอาชีพที่เต้นกินรำกิน เหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นเราเยาวชน
คนรุ่นหลังต้องทำการเข้าใจใหม่ว่าเป็นศิลปะประจำชาติที่เป็นตัวบ่งบอกความมีอารยธรรมของชาติไทย
      ประเด็นคำถาม 
        
คนส่วนใหญ่มักเกิดคำถามในใจว่า ทำไมการแสดงแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ถ้ามองลงลึกจะเห็นว่าการละเล่นแต่ละพื้นที่มีมีความแตกต่างกันส่วนหนึ่งมาจากสภาพบริบท และพื้นที่ตั้ง การดำรงชิวิตที่แตกต่างกันทำให้วัฒนธรรมประเพณีที่ไหมือนกัน
      กิจกรรมเสนอแนะ
        ควรให้นักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมทางด้านนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์พื้นเมืองที่หลากหลายเพื่อ เป็นการปลูกฝังให้นักเรียนเกิดความรักความหวงแหนในศิปประจำชาติ
      การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
  กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่องสภาพที่ตั้งบริบทของแต่ละภาค สังคม ความเป็นอยู่การประกอบอาชีพ

      ที่มาของข้อมูล
www.newswit.com
www.bbacademy.net
www.geocities.com
www.banramthai.com
                
www.pantipmarket.com                

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=266

อัพเดทล่าสุด