เสียงกระซิบจากขุนเขา


643 ผู้ชม


ประเพณีและวัฒนธรรมการละเล่นที่เก่าแก่ดีงามของอำเภออมก๋อยที่ควรค้นหา   

เสียงกระซิบจากขุนเขา

 เสียงกระซิบจากขุนเขา

[ที่มาภาพ  www.thaiforestbooking.com  ]
          

        ดินแดนแห่งอารยธรรม ท่ามกลางป่าเขา ที่คงมนต์ขลังแห่งเสน่ห์ด้านธรรมชาติ มีอากาศที่บริสุทธิ์ สดชื่นหนาวเย็นสบายตลอดปีและยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ ที่ดีงามไว้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อมก๋อย เป็นอำเภออยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัดเชียงใหม่ห่างจากอำเภอเมือง 179 กิโลเมตร อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน หลอมรวมกันหลายชาติพันธ์ มี ม้ง กะเหรี่ยง มูเซอ และคนพื้นเมือง ประกอบอาชีพด้านการเกษตร 

เสียงกระซิบจากขุนเขา

[ที่มาภาพ  www.tourthai.com]

        อำเภออมก๋อย มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย ดอยม่อนจอง อันซีนไทยแลนด์ระดับหนึ่งในห้าของประเทศไทย ช้างไถนาที่ตำบลนาเกียน ดอยม่อนจอง ดอยมูเชอ มีพระธาตุจอมแจ้งคู่บ้านพระเจ้าแสนทองสิ่งศักสิทธิ์คู่เมือง  
ดังคำกล่าวที่ว่า มาเที่ยวอม ก๋อยหนึ่งคืน อายุยืนสิบปี

เสียงกระซิบจากขุนเขา

[ที่มาภาพ   https://gotoknow.org]

        จากบทความข้างต้นคงมีคนเกิดคำถามขึ้นมากมายว่า ถ้าไปอยู่ไกลถึงขนาดนั้น จะมีวัฒนธรรมอะไรที่ควรค่าแก่การ
อนุรักษ์ ถ้าลองมองย้อนหลังไปจะพบว่าอมก๋อยยังมีวัฒธรรมการละเล่นที่น่าสืบสานมากมาย เพราะมีชนชาวเขาหลายเผ่าพันธ์หลอมรวมกันอยู่ที่นั้นตัวอย่างเช่นการเต้นจะคึ ของชาวเขาเผ่ามูเชอ การเต้นแม้วที่หมู่บ้านกองซาง การฟ้อนชนชาวเขาวเผ่ากะเหรี่ยง และศิลปะการฟ้อนเมืองของชนพื้นเมือง

       เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศ.3.2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือช่วงชั้นที่ 2

เสียงกระซิบจากขุนเขา 

[ที่มาภาพ   www.212cafe.com]

        คำว่า"วัฒนธรรม" ตามความหมายของพระราชบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน (หน่วยศึกษานิเทศก์, กรมการฝึกหัดครู, 2520)
       จะเห็นได้ว่าอำเภออมก๋อยเพียงอำเภอเดียวมีประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย และผู้เขียนคิดว่าทุกอำเภอในประเทศไทย
คงจะมีประเพณี วัฒนธรรมการละเล่นของภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบถอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ที่ทรงคุณค่าแก่การอนุรักษ์ และช่วยกันร่วมสืบสานวัฒนธรรมที่เก่าแก่ ที่ท่ายทอดมาจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีผู้สนใจน้อยลง หันไปสนใจกระแสค่านิยมของตะวันตกโดยลืมมองรากเหง้าของความเป็นไทยที่บรรพบุรุษช่วยกันสร้างสมมาด้วยเลือดเนื้อ หยาดเหงือ แรงกาย และชีวิต
        ดังนั้นความหมายของวัฒนธรรมไทยพื้นบ้านตามความมเข้าใจของผู้เขียน หมายถึง สิ่งที่ชนชาติไทยสั่งสมวิถีการดำรงชีวิตในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทของชุมชน อาทิ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ ทัศนคติ ความเชื่อ ลักษณะการประกอบอาชีพ วิถีความเป็นอยู่แต่เดิมรับวัฒนธรรมจากแหล่งอื่นๆ เข้ามาผสมผสานโดยดัดแปลงรวมเป็นวัฒนธรรมของชาติ ยกตัวอย่างประเพณีและวัฒนธรรมของอำเภออมก๋อยดังนี้

เสียงกระซิบจากขุนเขา
[ที่มาภาพ   www.lahu.hilltribe.org]

             การเต้น“ เต้นจะคึ ”  เป็นการละเล่นที่สำคัญของชาวเผ่ามูเซอ ที่จะเต้นรำในวันสำคัญของชนเผ่า   อาทิ เฉลิมฉลองประเพณีปีใหม่กินวอ หรือแสดงเพื่อต้อนรับและขอบคุณแขก การเต้นจะคึ จะเต้นรำตามจังหวะของเครื่องดนตรี ทั้ง กลอง ฉาบ ฆ้อง รวมถึงแคนด้วยซึ่งผู้แสดงจะจับมือกันและกระทืบเท้าตามจังหวะนดนตรีเป็นหลัก ลักษณะเด่นอีกอย่างของการเต้นจะคึคือการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันท่าเต้นส่วนใหญ่จะจับมือเดินตามกันไป 

เสียงกระซิบจากขุนเขา 

[ที่มาภาพ www.karen.hilltribe.org]

             การฟ้อนกะเหรี่ยง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงหลังจากการเก็บเกี่ยวผล
ผลิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มักจะจัดในช่วงปีใหม่ และวันที่สำคัญของชาวกะเหรี่ยง ลีลาการเต้นจะประกอบการร้องเพลง มักนิยมแสดงเป็นหมู่หรือจากบ้านไปทำงานที่อื่น จะกลับมาร่วมงานปีใหม่กันอย่างถ้วนหน้า สิ่งที่ควรเตรียมก่อนวันขึ้นปีใหม่

เสียงกระซิบจากขุนเขา

[ที่มาภาพ   www.hmong.hilltribe.org]
        

        การเต้นม้ง เป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตของชนชาวม้งที่มีความเรียนง่าย มักจะใช้แสดงในประเพณีขึ้นปีใหม่หรือประเพณีฉลองปีใหม่ซึ่งเป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุก ๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย

เสียงกระซิบจากขุนเขา

[ที่มาภาพ   www.geocities.com]

         การฟ้อน เมืองส่วนใหญ่ในอำเภออมก๋อยก็นิยมแสดงฟ้อนเล็บหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ฟ้อนครัวทาน" เป็นการแสดงที่เก่าแก่สวยงาม เป็นที่รู้จักกันดีของคนทั่วไป  ใช้แสดงนำหน้าขบวนแห่ครัวทานที่จะนำไปถวายวัด ในงานบุญ งานปอยต่าง ๆ ผู้แสดงใช้สภาพสตรีทั้งหมดการแต่งกายตามแบบฉบับโบราณ ใช้เสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่น ห่มสไบ บนศีรษะทัดดอกเอื้องผึ้ง นิยมเกล้าผมมวยทรงญี่ปุ่นซึ่งในสมัยพระราชชายาเจ้าดารารัศมี  ทรงนำการเกล้าผมแบบญี่ปุ่นเข้ามาเผยแพร่ ซึ่งเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน ผู้แสดงจะสวมใส่เล็บจึงเรียกว่าการแสดงชนิดนี้ว่า ฟ้อนเล็บ ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนเล็บนั้นใช้ วงกลองตึ่งโนง
         ที่ผู้เขียนได้หยิบยกเอาอำเภออมก๋อยมาเขียน ส่วนหนึ่งอยากช่วยประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว ประเพณีวัฒณธรรมการละเล่นที่น่าสนใจและอยากเป็นกระบอกเสียง เพื่อให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้สภาพท้องถิ่นที่ทุรกันดารอีกมุมมองหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ด้านการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านที่หลอมรวมกันหลายเชื้อชาติ
 

        ประเด็นคำถาม
ทำไมการละเล่นของชนชาวเขามักจัดในช่วงเทศกาลวันปีใหม่
นอกจากการละเล่นเหล่านี้อมก๋อยมีการละเล่นหรือหรือไม่
การจะเดินทางไปอำเภออมก๋อยจะไปได้โดยวิธีใด


         การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น
การงานและเทคโนโลยี เรือง การสำรวจอาชีพของคนในท้องถิ่น


          อ้างอิงที่มาข้อมูล 
www.hmong.hilltribe.org 
www.karen.hilltribe.org
www.blog.eduzones.com
www.blog.sanook.com
www.hilltribe.org
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=302

อัพเดทล่าสุด