ศึกษาเรื่องราวของแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม เพื่อเป็นฐานความรู้ และประโยชน์เมื่อได้สัมผัสประสบการณ์จริง
" กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความอนุเคราะห์ สนับสนุนงบประมาณ 146,500,000 บาท
เพื่อให้นักเรียนได้ไปทัศนศึกษากลุ่มเป้าหมายจะครอบคลุมนักเรียน เยาวชนและผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ทั่วประเทศ โดยเน้นการไปศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ แหล่ง โบราณคดีแหล่งทรัพยากรธรณี ที่จะเสริมกับการเรียนการสอนจึงขอความร่วมมือ จาก สพท.ได้ทำความเข้าใจกับโรงเรียนเพื่อดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูงสุดในขณะเดียวกันขอให้ สพท.ได้จัดทำรายการแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจขึ้นเว็บไซต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนที่จะมาเยือนหากสามารถจัดเอกสารและจัดมัคคุเทศก์น้อยนำชมก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง " (ที่มา พบกันทุกวันอังคาร กับเลขากพฐ. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)
ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีมาก ๆ สำหรับนักเรียนที่จะได้รับประสบการณ์ที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้
เพราะองค์ความรู้เหล่านี้ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน การที่นักเรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียน จึงเป็นการเปิดโลกกว้างให้แก่เด็ก ๆ และก่อนที่จะออกเดินทางไปสถานที่จริง เรามาศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อเป็นฐานความรู้ในการต่อยอดการเรียนรู้ สำหรับวันนี้ ขอนำเสนอ แหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญทางภาคเหนือ ให้ได้เรียนรู้กัน
เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (บูรณาการ) สำหรับนักเรียน ครู ผู้สนใจใฝ่รู้ทั่วไป
สอดคล้องมฐ.
มาตรฐาน ศ ๑.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระการเรียนรู้
ย้อนรอยอดีต นครโยนกเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา
ในพุทธศตวรรษที่ 18-19 นั้นได้มีการกล่าวไว้ในพงศาวดารโยนกว่าได้เกิด ชุมชน นครโคมคำ เมืองโยนก นาคนครเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนาไทย ขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ตั้งแต่สิบสองปันนาลงมา จนถึงเมืองหริภุญชัย (ลำพูน)
อาณาจักรนี้ ได้มีเจ้าครองนครสำคัญคือ พญาสิงหนวัติ พระเจ้าพังคราช พระเจ้าพรหมหมาราช และ พญามังราย ครองราชย์ที่เมืองเงินยาง เมื่อราว พ.ศ. 1804 พญาสิงหนวัติ ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้สถาปนาเมืองโยนกนาคพันธุสิงหนวัติขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ดินแดนที่ราบในเมืองเชียงราย เมื่อ พ. ศ .1117 โดยทำการแย่งชิงที่ดินจากพวกขอมดำ หรือ กล๋อม ที่มีอิทธิพลอยู่ในแถบนั้น ทำให้ต้องพากันหนีไปตั้งหลักแหล่งอยู่ทางใต้ บริเวณถ้ำอุโมงค์ เสรานคร
ครั้งนั้น พญาสิงหนวัติได้รวบรวมเอาพวกมิลักขุ หรือ คนป่าคนดอยเข้ามาอยู่ในอำนาจของ เมืองโยกนาคนคร ทำให้มีอาณาเขตทิศเหนือ ติดเมืองน่าน ทิศใต้จรดปากน้ำโพ ทิศตะวันออกจรดแม้น้ำดำ ในตังเกี๋ย ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำสาละวินโดยมีเมืองสำคัญคือ เมืองไชยปราการ บริเวณแม่น้ำฝาง และแม่น้ำกก ดินแดนทางใต้สุด คือเมืองกำแพงเพชร (ที่มาhttps://www.tourismchiangrai.com )
อาณาจักรโยนกนาคนคร แห่งนี้มีพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ เช่น พญาพังคราช พระเจ้าพรมหมราช พระเจ้าไชยสิริ ต่อมาในสมัยพระเจ้ามหาชัยชนะ พ.ศ.1552 อาณาจักร โยกนกนาคนคร ได้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน เนื่องมาจากพนังกั้นน้ำ หรือเขื่อนเหนือน้ำพังทลายลง ทำให้ที่ตั้งของเมืองกลายเป็นแหล่งน้ำใหญ่ (เข้าใจเป็นบริเวณที่เรียกว่า เวียงหนองหล่ม ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากทะเลสาบ เชียงแสนและบริเวณแม่น้ำกก ต่อกับแม่น้ำโขงใกล้วัดพระธาตุผาเงา)
จนเป็นเหตุให้บรรดาราชวงค์กษัตริย์ และขุนนางของโยนกนาคนครเสียชีวิตด้วยเหตุน้ำท่วมเมืองทั้งหมดส่วนชาวบ้านที่รอดชีวิตได้ประชุมปรึกษากันเลือกตั้งคน กลุ่มหนึ่งมิใช่เชื้อสายราชวงค์ขึ้นดูแลพวกตน เรียกว่า ขุนแต่งเมืองจึงเป็นเหตุของชื่อ "เวียงปรึกษา" ขึ้น อีก 98 ปี อาณาจักร โยนกนาคนครจึงสิ้นสุดลง (ที่มาhttps://www.tourismchiangrai.com)
ต่อมา พญามังราย ผู้สืบเชื้อสายมาจากผู้เมืองเงินยางเมืองเชียงแสน ได้ทรงทำการรวบรวมอาณาจักรล้านนาไทยที่กระจัดกระจายให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่และทำการสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเมื่อ พ.ศ.1805
ครั้งนั้นพระองค์ทรงยกทัพเข้ายึดอาณาหริภุญชัยจากพวกมอญเชื้อสายของพระนางจามเทวี ได้ใน พ.ศ. 1835 แล้วทำการตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรล้านนา
โดยระยะแรกมี เวียงกุมกาม เป็นราชธานี แต่ เวียงกุมกามเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง จนพญามังรายต้องขอคำปรึกษา จากพระสหายคือ พญางำเมือง เจ้าผู้ครองนครภูกามยาว (พะเยาแคว้นอิสระ แค้วนเดียวในล้านนาขณะนั้น) และพ่อขุนรามคำแหงมหาราช (กษัตริย์สุโขทัย)เพื่อหาชัยภูมิที่ดีเหมาะแก่การสร้างเมืองจึงพบกับที่ข้างแม่น้ำปิงและได้สร้างเมืองชื่อ "นพบุรีศรีนครพิงเชียงใหม่"หรือตัวเมืองเชียงใหม่ ณ ทุกวันนี้
(ที่มา https://www.tourismchiangrai.com)
คำถามสานต่อความคิด
- เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ในประเด็นใดที่ให้ความสนใจศึกษาเพิ่มเติม
เชื่อมโยงในองค์ความรู้
ภาษาไทย การอ่าน การเขียนเรียงความ
สังคมฯ ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม วิถีชีวิต
เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
- จัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
- เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้
- แนะนำแหล่งศึกษาเรียนให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติม
- นำภาพย้อนอดีตมาให้นักเรียนได้มีโอกาสเห็น แล้วฝึกวาดแบบแรเงา
อ้างอิงข้อมูล
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=415