ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ....(ตอนจบ.. เครื่องตีและเครื่องเป่า )


932 ผู้ชม


วิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรี เพื่อให้มีคุณภาพเสียงที่ดี ไพเราะ คงทนต่อการใช้งาน   

ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ...(ตอนจบ..เครื่องตีและเครื่องเป่า)

ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ....(ตอนจบ.. เครื่องตีและเครื่องเป่า )

ขอบคุณที่มาภาพ )
      สพฐ.จับมือเวิร์คพอยท์จัด “ช้างเผือกคุณพระ” 
เปิดเวทีให้ นร.ประชันดนตรีไทย-สากล.....

       จากการที่ สพฐ.จับมือกับเวิร์คพอยท์-อสมท จัดเวที “ช้างเผือกคุณพระ” ให้เยาวชนแสดงฝีมือด้านดนตรีไทย-สากล สู่ความเป็นเลิศให้ทั่วโลกได้รับรู้ เป็นเวทีการแข่งขันในระดับชาติที่มีคุณค่าต่อการศึกษาไทย เพราะเปิดโอกาสให้เยาวชนได้พัฒนาฝีมือตนเองไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านดนตรี อีกทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนมุ่งมั่นสืบสานวัฒนธรรมไทย ดนตรีไทยไปอีกยาวนาน ผู้ที่เข้าแข่งขันสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านวัฒนธรรมไทย  เน้นให้เยาวชนที่รักในด้านศิลปวัฒนธรรมไทยแต่ขาดโอกาสที่จะนำเสนอความเป็นไทย ซึ่งรายการคุณพระช่วย ได้เปิดเวทีเพื่อค้นหาช้างเผือกอย่างแท้จริง โดยเป็นการผสมผสานดนตรีไทยกับดนตรีสากลเพื่อให้คนทั่วโลกได้รับรู้ว่า  ดนตรีไทยกับสากลมีความน่าสนใจ มีความเป็นเอกลักษณ์ของแผ่นดินไทย โดยผ่านเยาวชนที่มีความรักในดนตรีไทย วงที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลพระราชทาน เข็มกลัดช้างเผือกคุณพระ ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งรางวัลนี้เป็นรางวัลสูงสุดของการเป็นนักดนตรีและครูผู้สอนที่จะร่วมภาคภูมิใจและจากการประชันแข่งขันดนตรีไทยร่วมสมัยรอบชิงชนะเลิศ  เมื่อวันที่  21 เมษายน  2552 ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ที่ผ่านมา โจทย์ของการประชันกำหนดให้ทั้งสามวงแต่งเนื้อร้องและทำนองขึ้นใหม่ ภายใต้แนวคิดของคำว่า “ช้าง” ที่ต้องสื่อถึงความยิ่งใหญ่ตามจินตนาการ ผลการแข่งขันปรากฏว่าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล จ.นครปฐม ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้วยบทเพลง “ร่ายคชลักษณ์” สื่อถึงความยิ่งใหญ่ของช้างทั้ง 4 ตระกูล วรรณกษัตริย์, พราหมณ์, แพทย์ และศูธ  แนวดนตรีเน้นความอลังการตื่นเต้นพร้อมเสียงขับร้องที่สุดกังวาล มีทิมปานี มีเชลโล่ เข้ามาช่วย สร้างความประทับใจต่อผู้ชมและคณะกรรมการ จนได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้

        จากการประชันแข่งขัน "ช้างเผือกคุณพระ"  การใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีมีความสำคัญมาก เนื่องจากเครื่องดนตรีไทยแบ่งตามลักษณะการบรรเลงได้ 4 ประเภท คือ เครื่องดีด  เครื่องสี   เครื่องตี และเครื่องเป่า ลักษณะของเครื่องดนตรีและวิธีการใช้ย่อมแตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ  ที่หาได้ตามท้องถิ่น เช่น  ไม้  หวาย  หนังสัตว์  งาช้าง  เขาสัตว์ เป็นต้น  เพื่อให้เครื่องดนตรีมีสภาพที่คงทนต่อการใช้งานและไม่ชำรุดเสียหายง่าย  และที่สำคัญคุณภาพเสียงดนตรีที่ดี บรรเลงแล้วเกิดเสียงที่ไพเราะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้หรือผู้บรรเลงจะต้องรู้จักวิธีใช้ ดูแลและการเก็บรักษาให้ถูกวิธี 

สอดคล้องกับสาระดนตรี มาตรฐานที่ 2.1  ตัวชี้วัดที่ 9 ใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ
                                   นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3  ช่วงชั้นที่  3 

วิธีการใช้และการดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทย

 วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี

ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ....(ตอนจบ.. เครื่องตีและเครื่องเป่า )

ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
  1. ลักษณะการบรรเลงระนาด ผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้  ลำตัวอยู่ประมาณกึ่งกลางของรางระนาด การจับไม้ระนาด โดยการจับบริเวณเหนือปลายไม้ขึ้นมาเล็กน้อย จากนั้นรวบนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยรัดไม้ระนาดไว้กับฝ่ามือดังภาพ
  2. เมื่อบรรเลงเสร็จ ควรปลดสายเชือกคล้องหูระนาดด้านซ้ายมือลงข้างหนึ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เชือกรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจจะทำให้เชือกขาดได้
  3. ควรเก็บไม้ระนาดเข้าไว้ในราง หรือมีถุงเก็บไว้เฉพาะ ไม่วางทิ้งไว้บนผืนระนาดหรือวางกับพื้น เพราะอาจเกิดการสูญหายได้
  4. ควรมีผ้าคลุมระนาด เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
  5. การเคลื่อนย้ายระนาด ควรใช้วิธีเคลื่อนที่โดยการยกขึ้นทั้งรางไม่ควรลากหรือดึง เพราะจะทำให้รางระนาดล้ม และเกิดความเสียหายได้
  6. ถ้าตะกั่วที่ติดใต้ผืนระนาดหลุด ควรใช้ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็กลนเพื่อให้ตะกั่ว  อ่อนตัว แล้วติดเข้าไว้ตามเดิม ห้ามใช้เทียนไขลน เพราะอาจทำให้น้ำตาเทียนหยดผสมกับตะกั่ว ทำให้ลื่นและติดไม่ได้
   

ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
  1. ในการบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางของฆ้องวง วิธีการนั่งสามารถนั่งพับเพียบ และขัดสมาธิ การจับไม้ตีฆ้องวง     ผู้บรรเลงจะต้องรวบนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยรัดไม้ตีฆ้องไว้กับฝ่ามือใช้นิ้วหัวแม่มือกดด้านในของไม้ตีฆ้องวง ดังภาพ
  2. การเก็บไม้ตีฆ้องวง ควรมีถุงใส่โดยเฉพาะหรือวางรวมกันไว้บนฆ้องวง ไม่ควรวางทิ้งไว้กับพื้น
  3. การทำความสะอาด ควรใช้ผ้าแห้งหรือหมาดๆ เช็ดทำความสะอาด
  4. ควรวางฆ้องวงราบกับพื้น ไม่ควรวางตั้งหรือวางพิงไว้ข้างฝาผนัง เพราะอาจทำให้วงฆ้องล้มลงหรือหักลงได้
  5. การยกฆ้องวง ไม่ควรยกเพียงคนเดียว เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่มีน้ำหนักมากและขนาดใหญ่ ควรยกให้วงฆ้องตั้งฉากหรือ ขนานกับพื้นโดยไม่กลับด้าน

 ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ....(ตอนจบ.. เครื่องตีและเครื่องเป่า )

วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า

  
ขลุ่ย  ปี่ 

 

ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ....(ตอนจบ.. เครื่องตีและเครื่องเป่า )

     1. ในการบรรเลงขลุ่ยและปี่ สามารถปิดรูเสียงตามเสียงต่างๆ ที่ต้องการโดยให้มือซ้ายอยู่ด้านล่างและมือขวาอยู่ด้านบน นั่งตัวตรงเพื่อให้มีกำลังในการใช้ลมในการเป่า
     2. เมื่อบรรเลงเสร็จ ควรทำความสะอาดรูที่ปากเป่าด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ จากนั้นเช็ดด้วยผ้าแห้งที่สะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรค
     3. ไม่ควรวางขลุ่ยหรือปี่ทิ้งไว้กับพื้น เพราะอาจกลิ้งชนหรือตกเสียหายได้
     4. ไม่ควรนำขลุ่ยหรือปี่ไปล้างน้ำทั้งเลา เพราะอาจทำให้เนื้อไม้ขยายตัวส่งผลต่อระบบเสียง
     5. ควรเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อยหรือร้อยเชือกแขวนไว้ให้เป็นระเบียบ

          การดูแลรักษาและใช้เครื่องดนตรีอย่างถูกวิธี อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการชนะการประชันดนตรีไทยร่วมสมัยในครั้งนี้  แต่หากละเลยจุดนี้ไป  อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพเสียงในการบรรเลงที่ไม่ไพเราะและไม่กลมกลืน 

พัฒนากระบวนการคิด

ดูแลดีมีชัย...ช้างเผือกคุณพระ....(ตอนจบ.. เครื่องตีและเครื่องเป่า )

 

 จากภาพที่กำหนดให้ เป็นการเคลื่อนย้ายฆ้องวงที่ถูกวิธีหรือไม่  เพราะเหตุใด

 

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่อง การอ่านและคิดวิเคราะห์
    กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น


   

แหล่งที่มาของข้อมูล
    สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ ( พว.)

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=442

อัพเดทล่าสุด