แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)


756 ผู้ชม


ศึกษาเรื่องราวทางศิลปะ วัฒนธรรม เพื่อเป็นฐานความรู้ และประโยชน์เมื่อได้สัมผัสประสบการณ์จริง   
           สืบเนื่องจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความอนุเคราะห์ สนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้นักเรียนได้ไปทัศนศึกษา โดยเน้นการไปศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์ แหล่ง โบราณคดีแหล่งทรัพยากรธรณี ที่จะเสริมกับการเรียนการสอนจึงขอความร่วมมือ จาก สพท.ได้ทำความเข้าใจกับโรงเรียนเพื่อดำเนินการให้เกิดประโยชน์สูง (ที่มา พบกันทุกวันอังคาร กับเลขากพฐ. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา)

         จากที่เราได้ตามรอยการสร้างเมืองของพญามังราย ที่แผ่ขยายอาณาเขตกว้างใหญ่ จนมาถึง นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เวียงที่พระองค์ต้องอสุนีบาตสวรรคตลง

เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (บูรณาการ)  สำหรับนักเรียน ครู ผู้สนใจใฝ่รู้ทั่วไป


จุดประสงค์ในการศึกษาเรียนร้
  
       -   เพื่อความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
       -  เพื่อความ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
      -  เพื่อความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

 
สาระการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)

นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่..ศูนย์กลางอารยธรรมจักรล้านนา
ดอยสุเทพเป็นศรี ... ประเพณีเป็นสง่า ... บุปผาชาติล้วนงามตา ... นามล้ำค่านครพิงค์
(คำขวัญ จังหวัดเชียงใหม่ )

                     
  
 

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
3 กษัตริย์ 

                                                              
         หลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย (ลำพูน) อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่าง และมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ เวียงกุมกาม แต่เวียงกุมกาม ก็มีภูมิประเทศไม่สมบูรณ์ มีน้ำท่วมอยู่ทุกปี   จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหาย นั่นก็คือ พ่อขุนรามคำแหง แห่ง สุโขทัย และ พญางำเมือง แห่ง พะเยา  หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่ใหม่ และสร้างเมืองใหม่ ที่ชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ป็นเมืองที่มีชัยภูมิที่ดีตามตำรา  การสร้างเมือง


แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
เชียงใหม่ในมุมกว้าง

           ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย
ตั้งแต่ พ.ศ. 1839-2101  เมื่อพ่อขุนมังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว ได้ทรงปกครองและประทับอยู่เมืองนี้ตลอด พระชนม์ชีพของพระองค์ พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นนักรบ นักปกครอง และอาจจะกล่าวว่าพระองค์เป็นนักพัฒนาก็ได้ ด้วยทรงเป็นผู้นำในการสร้างบ้านเมืองหลายเมือง ด้านการปกครอง มีการตรากฏหมายที่เรียกว่า มังรายศาสตร์ ในสมัยนี้สันนิษฐานว่า พ่อขุนมังรายจะทรงปกครองเฉพาะเมืองเชียงใหม่ เท่านั้น ส่วนเมืองอื่นเช่นเมืองเชียงราย เมืองหริภุญไชยนั้น คงแต่งตั้งให้ราชโอรสหรือข้าราชการขุนนางที่มีความสามารถไปปกครองแทน  และพระองค์ก็ได้ต้องอสุนีบาต สวรรคต ณ นครพิงค์ แห่งนี้ 

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
ขบวนช้าง


             กษัตริย์องค์สำคัญพระองค์หนึ่ง ของล้านนาไทย คือ พระยาติโลกราช ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1984 - 2030 พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากจึงทำให้ยุคนี้มีการสร้างวัดวาอารามกันมาก  นอกจากนี้ก็มีการทำสงครามระหว่าง อาณาจักรอยุธยา หรือกับ พม่าสงครามนี้ยังผลให้ล้านนาไทยอ่อนกำลังและเสียรี้พลเป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลง จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เสียเอกราชแก่พม่าในที่สุด ในสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง 

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
เครื่องสักการะล้านนา


         หลังจากที่ยึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว ในระยะแรกนี้พม่ามิได้เข้ามาปกครองโดยตรง แต่ได้แต่งตั้งให้พระเมกุฏิเจ้าเมืองเชียงใหม่ ปกครองบ้านเมืองตามเดิม   ในฐานะเมืองประเทศราชของพม่าซึ่งเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องบรรณาการ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง จะต้องเข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย จะต้องส่งส่วยเป็นสิ่งของตามที่พม่าต้องการ เช่น ช้าง ม้า น้ำรัก เครื่องแพรพรรณต่างๆ และจะต้องจัดหากำลังคน เสบียงอาหารช่วยพม่าในยามเกิดศึกสงคราม เชียงใหม่ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี
 
          จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละขึ้นเป็นพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ   พระยาจ่าบ้านเป็นพระยาวิเชียรปราการครองเมืองเชียงใหม่ พระยากาวิละครองเมืองลำปาง

            พม่ายังพยายามยึดเชียงใหม่กลับคืนโดยยกกองทัพเข้าเมืองมาหลายครั้ง พระยาจ่าบ้านป้องกันเมืองเชียงใหม่อย่างเข้มแข็ง แต่ในที่สุดก็รักษาเมืองไว้ไม่ได้เพราะผู้คนมีน้อยและอยู่ในสภาพอดอยาก และช่วงปลายสมัยธนบุรี   เชียงใหม่ถูกปล่อยให้เป็นเมืองร้างรวมทั้งเมืองอื่น ๆ ในล้านนาไทยด้วย

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
พระเจ้ากาวิละ


           อิทธิพลของพม่าในล้านนาไทยถือว่าสิ้นสุดลงในสงครามขับไล่พม่าปี พ.ศ. 2347 โดยกองทัพเชียงใหม่นำโดย พระเจ้ากาวิละ รวมกับกองทัพฝ่ายไทยยกไปตีเมืองเชียงแสนซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของพม่าสำเร็จ การฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่เริ่มตั้งแต่ตั้งเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2339 จนถึงขับไล่พม่าออกไปจากล้านนาไทย

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
ถนนเชียงใหม่ในอดีต


         
           ในปี พ.ศ. 2347 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการรวบรวมพลเมืองเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ เป็นยุคที่เรียกว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" พระยากาวิละกวาดต้อนชาวเมืองเชียงใหม่ที่หลบหนีเข้าป่าให้กลับสู่เมือง และเริ่มกวาดต้อนผู้คนจากสิบสองปันนา  ไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และยอง ผู้คนที่กวาดต้อนมามีหลายชนิดเข้าใจว่าเป็นช่างฝีมือหรือไพร่เมืองชั้นดีให้ตั้งถิ่นฐานในตัวเมือง เช่น เขิน ที่ถนนวัวลาย ส่วนไพร่ที่ไม่เป็นช่างฝีมือจะไว้นอกเมือง เช่น เขินที่สันทราย ยองที่ลำพูน ผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาก็จะตั้งชื่อหมู่บ้านของตนตามชื่อบ้านเมืองเดิมที่ตนถูกกวาดต้อนลงมา เช่น เมืองวะ เมืองเลน เมืองขอน เมืองกาย พยาก เป็นต้น

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
ผู้คนเดินทางโดยช้าง


        ในสมัยพระยากาวิละเชียงใหม่จึงพ้นจากสภาพเมืองร้าง  และยังมีการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ใน รูปแบบต่างๆ เช่น ราชประเพณี โดยการกระทำพิธีราชาภิเษก สถาปนาราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ขึ้นปกครอง สืบต่อจากราชวงศ์มังราย การทำนุบำรุงพุทธศาสนา โดยสร้างวัด พระพุทธรูป การสร้างกำแพงเมืองขึ้นใหม่

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
กำแพงเมืองเชียงใหม่ในอดีต


             นับว่าพระยากาวิละและเจ้านายบุตรหลานได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงแก่เมืองเชียงใหม่ และล้านนาไทยยิ่ง   การปกครองเชียงใหม่ในยุคนี้ เป็นในรูปแบบปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของสยาม และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ หรือ ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
สะพานนวรัตน์ในอดีต (ขั้วเหล็ก)


             ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช และมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเรียกว่า มณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง 
         ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและมีฐานะเป็น จังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบันที่มา 

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
สภาพปัจจุบันของเชียงใหม่

           เชียงใหม่ในปัจจุบันถือได้ว่ายังคงเป็นศูนย์กลางของจังหวักภาคเหนือตอนบน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม  แหล่งท่องเที่ยว ผู้คนต่างหลั่งไหลเข้ามาอาศัยปะปนกันไป ในตัวเมืองเชียงใหม่คนที่เป็นคนเชียงใหม่จริง ๆ นั้นมีค่อยข้างน้อยลง ผู้คน ตึกรามบ้านช่อมเริ่มหนาแน่น มีการขยายทางการจารจรเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะเหมือน มหานครอย่างกรุงเทพไปทุกวัน

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
            ประตูเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน                                          ประตูเมืองเชียงใหม่ในอดีต

          สภาพเชียงใหม่ในปัจจุบันยังคงมีร่องรอยทางวัฒนธรรมหลงเหลือจารึก ไว้เป็นอนุสรณ์ เป็นหลักฐานของการสร้างเมือง ที่แลกมาด้วยเลือดและชีวิตของบรรพบุรุษผู้กล้าล้านนา ก็คงเป็นหน้าที่ของ จิตสำนึก การตระหนัก และเห็นคุณค่า ของประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ที่เป็นมรดกของบรรพชนที่ สืบมาจนยุคนี้  
         

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
                ปี๋ใหม่เมืองในอดีต                                                                ปี๋ใหม่เมืองวันนี้    

          หรือโลกาภิวัฒน์  จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง  ๆ รวมไปถึง ระบบความคิด ทัศนคติ ค่านิยมของผู้คนในยุคนี้  ที่แปรเปลี่ยนไปตามกัน

แหล่งเรียนรู้ศิลปะล้านนา (ตอนที่ 5 ปัจฉิมบท นครพิงค์)
ยังเหลือไว้ซึ่งร่องรอยของอดีต

สอดคล้องมาตรฐานสาระการเรียนรู้ศิลปะ     
        มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
        มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
       มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

 

คำถามสานต่อความคิด
       -  เรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมในเชียงใหม่ มีประเด็นใดที่ให้ความสนใจศึกษาเพิ่มเติม
       -  เราจะมีวิธีการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน ให้ลึกซึ้งได้อย่างไร
       -  ปัจจัยใดที่ทำให้ศิลปวัฒนธรรม ได้รับการถ่ายทอด องค์ความรู้ที่สืบต่อกันมา
       -  แนวทาง หรือ วิธีการใดที่จะทำให้ศิลปวัฒนธรรม ได้รับการธำรงไว้ซึ่งคุณค่าต่อไป
       -  ปัจจัยใดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม และศิลปวัฒนธรรม
       -  จำเป็นหรือไม่ที่เราต้อง ศึกษาเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ และศิลปวัฒนธรรมต่างชาติ
       - ทิศทาง และลักษณะของเมืองจากปัจจุบัน ไปสู่อนาคตจะป็นเช่นไร  และเราต้องการให้เป็นเช่นไร

เชื่อมโยงในองค์ความรู้
          ภาษาไทย             การอ่าน   การเขียนเรียงความ
          สังคมฯ                 ศึกษาความเป็นมาของ ประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม
                                     วิถีชีวิตความเป็นอยู่    ภูมิศาสตร์
          วิทยาศาสตร์         การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ  สิ่งแวดล้อมรอบตัว


เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
           - จัดกิจกรรมทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา
           -  เชิญวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้
           -  แนะนำแหล่งศึกษาเรียนให้นักเรียนศึกษาเพิ่มเติม
           -   นำภาพย้อนอดีตมาให้นักเรียนได้มีโอกาสเห็น แล้วฝึกวาดแบบแรเงา
           -  จัดกิจกรรมการแสดงละครบทบาทสมมุติ ละครอิงประวัติศาสตร์
           -  ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีทางสังคม ที่มีผลต่อวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรม
           -  จัดแสดงนิทรรศการ นำเสนอผลงาน
           -  ศึกษา รับชม รับฟัง การแสดงและการบรรเลงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
         
                        

อ้างอิงข้อมูล
www.baanjomyut.com
www.wikipedia

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=458

อัพเดทล่าสุด