นาฏศิลป์ญี่ปุ่นตอนที่ 2


2,756 ผู้ชม


ละครโนะถือได้ว่าเป็นศิลปะอันสมบูรณ์แบบอยู่ในระบบฟิวดัลของประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น จึงยังคงมีริ้วรอยของระบบฟิวดัลอยู่อย่างเข้มข้นในการจัดแสดง การกำกับ ลีลาการแสดง การเขียนบทละคร   

        หลังจากที่ได้นำเสนอการแสดงละครคาบูกิไปแล้วนั้น ครั้งนี้จะขอนำเสนอนาฏศิลป์ญี่ปุ่น ชุด การแสดงละครโนหรือละครโนะ
        เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
การแสดงละครโนะ

นาฏศิลป์ญี่ปุ่นตอนที่ 2

ภาพจาก www.gotoknow.org


         ละครโนะเป็นละครแบบโบราณ มีกฎเกรฑ์และระเบียบแบบแผนในการแสดงมากมายในปัจจุบันถือเป็นศิลปะชั้นสูงประจำชาติของญี่ปุ่น ที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ ละครโนะเกิดขึ้นมาช้านานแล้ว แต่เริ่มมาเฟื่องฟู ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 14 โดยมีคันอามิ กับเซอามิสองพ่อลูกเป็นผู้วางรากฐานของการแสดงละครโนะอันเป็นแบบฉบับมาจนถึงปัจจุบันนี้
        ในปี พ.ศ.2473 วงการละครโนะของญี่ปุ่นได้มีการเคลื่อนไหวที่จะทำให้ละครประเภทนี้ทันสมัยขึ้น 
โดยจุดประสงค์เพื่อประยุกต์การเขียนบทละครใหม่ๆ ที่มีเนื้อเรื่องเป็นปัจจุบันและใช้ภาษาสมัยใหม่รวมทั้งให้ผู้แสดงสวมเสื้อผ้าแบบสมัยนิยมด้วย นอกจากนี้ยังมีสิ่งใหม่ๆที่นำมาเพิ่มเติมด้วย เช่น ให้มีการร้องอุปรากร การเล่นดนตรีราชสำนักงะงักกุและการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ซึ่งละครแบบประยุกต์ใหม่นี้เรียกว่า "ชินชากุโน" (ละครโนะสร้างใหม่)
        1) การแสดง ตัวละครใช้ผู้แสดง ลีลา ท่าทางในการแสดงทุกอิริยาบทมีความหมายทั้งหมด เช่น พัดที่ตัวละครถือกระดิกนิดเดียวจะแสดงให้เห็นอารมณ์ของตัวละคร การแสดงเชื่องช้า ยืดยาด ท่ารำช้าๆ 
        การจัดแสดงละครโนะมี 5 ประเภท คือ ประเภทตลก มีพระอาทิตย์เป็นตัวเอก  ประเภทที่มีตัวปิศาจ มีแม่ทัพที่ตายไปแล้วเป็นตัวเอกประเภทหญิงสูงศักดิ์ มีสตรีที่อยู่ในราชสำนัก ตระกูลสูงเป็นตัวเอก ประเภทปาฏิหาริย์และประเภทสอนศีลธรรม
        สถานที่แสดงจะแสดงใต้ร่มไม้ ต่อมาเมื่อมีการสร้างเวที ฝาด้านหลังเวทีที่หันหน้าเข้าหาคนดูจะเขียนรูปต้นสน ด้านซ้ายจะมีสะพานเดินขึ้นเวที มีกิ่งสนสามกิ่งยื่นออกมาแตะสะพานเพื่อคงเอกลักษณ์ที่เคยแสดงใต้ต้นไม้
        ละครโนะได้รับอิทธิพลมาจากละครใบ้ ผู้แสดงจะต้องสวมหน้ากาก อารมณ์ของผู้แสดงต้องสัมพันธ์กับหน้ากาก
        2) ดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ กลอง ขลุ่ย มีผู้ขับร้องหมู่ มีบทพากย์เป็นภาษาร้อยกรอง
        3) เครื่องแต่งกาย จะแต่งหรูหรา สีสวยสด สัมพันธ์กับหน้ากาก ตัวละครที่สำคัญๆ ทุกตัวต้องสวมหน้ากาก ซึ่งสร้างด้วยความประณีต หน้ากากบางหน้าเก็บรักษาไว้ตั้งแต่สมัยโบราณ 
        ส่วนละครเคียวเง็นเป็นละครที่แสดงสลับฉากกับละครโนะ เพื่อผ่อนคลายความเคร่งเครียดจากละครโนะลักษณะเนื้อเรื่องเน้นหนักไปทางล้อเลียนเสียดสีสังคมสร้างอารมณ์ขัน ตัวละครมีประมาณ 1-5 ตัว นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ ภูตผี วิญญาณ สัตว์ประหลาด

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนาธรรม
ในเรื่องประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม

ประเด็นคำถาม
1. เห็นด้วยหรือไม่ว่านาฏศิลป์ช่วยสะท้อนเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาตินั้นๆ

ที่มา สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์และสุมนรตี  นิ่มเนติพันธ์ หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ศิลปะ นาฏศิลป์ม.4-ม.6.

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=507

อัพเดทล่าสุด