สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย


1,013 ผู้ชม


สายฝนที่หลั่งจากฟากฟ้าให้ผู้คนได้ชุ่มเย็น เป็นสัณญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลแห่งการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์บนพื้นแผ่นดิน เปรียบดังน้ำพระทัยที่ชโลมใจชาวไทยทั่วหล้า   

สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
ที่มาภาพ
สายฝนฉ่ำเย็น เปรียบประดุจน้ำพระทัยชโลมใจไทยทั่วหล้า

          ในการพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า   ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 - 3 มิถุนายน 2552 โดยกรมอุตุนิยมวิทยา มีการคาดหมายว่าในช่วงวันที่ 28-31 พ.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับจะมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกชุก และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งส่วนคลื่นลมในทะเลอันดามันยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 1-3 มิ.ย. ร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านบริเวณดังกล่าวจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ทั่วประเทศมีฝนลดลง   (ที่มา www.ryt9.com  )

                                                        สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
                                                                       ที่มาภาพ
           ฤดูฝนมาเยือนแล้ว ช่วงเวลาแห่งการเพาะปลูก หว่านไถในนาข้าวของชาวนาไทย นอกจากมรสุมลูกนี้ผ่านพ้นไป ก็คงจะมีลมมรสุมลูกอื่น ๆ พัดผ่านเข้ามาประเทศไทยอีกเยอะ ชะล้างหมอกควัน สิ่งสกปรกในอากาศ และละอองความร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนคงพอบรรเทาลงได้บ้าง 
           สายฝนที่หลั่งจากฟากฟ้าให้ผู้คนได้ชุ่มเย็น เป็นสัณญาณของความเริ่มต้นสู่การเจริญงอกงามของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นแผ่นดิน เปรียบดังน้ำพระทัยที่ชโลมใจชาวไทยทั่วหล้า


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๓.๑  เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล


สาระการเรียนรู้ 

บทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9   "เพลงสายฝน" 

สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
ที่มาภาพ

                    ฟังทำนองเพลงสายฝน                               ฟังเพลงสายฝน

  เพลงสายฝน  
  
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
เมื่อลมฝนบนฟ้ามาลิ่ว
ต้นไม้พลิ้วลู่กิ่งใบ
เหมือนจะเอนรากคลอนถอนไป
แต่เหล่าไม้ยิ่งกลับงาม

พระพรหมท่านบันดาลให้ฝนหลั่ง
เพื่อประทังชีวิตมิทราม
น้ำทิพย์สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวงาม
ทั่วเขตคามชุ่มธารา

สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง
แดดทอรุ้งอร่ามตา
รุ้งเลื่อมลายพร่างพรายนภา
ยามเมื่อฝนมาแต่ไกล

พระพรหมช่วยอำนวยให้ชื่นฉ่ำ
เพื่อจะนำดับความร้อนใจ
น้ำฝนหลั่งลงมาจากฟ้าแดนไกล
พืชพรรณไม้ชื่นยืนยง


  Falling Rain 

Music: H.M.K. Bhumibol Adulyadej
Lyric: Prof. Thanpuying Nopakhun Thongyai Na Ayudh
ya


Rain winds sweep across the plain.
Thunder rumbles on high.
Lightning flashes ; bows the grain.
Birds in fright nestward fly.
But the rain pours down in blessing;
Filled with cheer our hearts expand.
As the woods with notes of pleasure ring,
Sunlight streams o’er the land.

Bright the rainbow comes in view.
All the world’s cool and clean.
Angel’s tears the flowers renew.
Nature glistens in green.
Rain beads sparkle in your hair, love.
Rainbows glitter when you smile.
Thus we soon forget the clouds above
Beauty so does beguile.


 ประวัติที่มา เพลงสายฝน 

                                     สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
                                                      ที่มาภาพ

              เพลงสายฝน  เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่สาม ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2489 ขณะที่ยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชอนุชา และเป็นเพลงที่สองที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำออกบรรเลงต่อจากเพลงพระราชนิพนธ์ ยามเย็น ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร

             เพลงพระราชนิพนธ์สายฝนเป็นเพลงแรกในจังหวะวอลทซ์ มีลีลานุ่มนวล การที่ทรงใช้จังหวะวอลทซ์สำหรับสายฝน ทำให้เป็นที่นิยมใช้เป็นเพลงลีลาศในขณะนั้น แม้จะมิได้ฟังเนื้อร้องก็ยังรู้สึกได้ถึงความชุ่มชื่น เยือกเย็น สะอาด และเต็มไปด้วยความหวัง จังหวะวอลทซ์ที่ช้าเนิบช่วยทำให้ผู้ฟังเกิดความสงบและผ่อนคลายได้อย่างดี อาจกล่าวได้ว่า เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่พสกนิกรชื่นชอบมากที่สุดเพลงหนึ่ง
                                                   สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
                                                                               ที่มาภาพ

            เมื่อวันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสกับคณะกรรมการของสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยถึงที่มาของเพลง ซึ่งเป็นความลับในการพระราชนิพนธ์เพลงนี้ว่า  “  คืนวันนั้นที่แต่งเพลงเพราะว่าเข้านอนแล้วฟังวิทยุ มันเกิดครึ้มใจ ก็ปิดวิทยุแล้วเอาเศษกระดาษมาขีดๆแล้วก็จดไว้ แล้ววันรุ่งขึ้นก็ไปเคาะที่เปียโน ซึ่งมีเปียโนหลังหนึ่งที่โปเก เสียงก๊องๆแก๊งๆไม่ได้เรื่อง แต่ก็เคาะไป แล้วก็เรียบเรียงไปสัก 2 ชั่วโมง ส่งไปให้ ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ บอกว่าได้เพลงแล้ว ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริก็ส่งไปให้ครูเอื้อ ครูเอื้อก็เรียบเรียง วันรุ่งขึ้นออกสวนอัมพรแล้ว ”

           “ ความลับของเพลงสายฝนนั้นมีอยู่อย่างหนึ่ง คือ เขียนไป 4 ช่วง ช่วงที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เสร็จแล้วเอาช่วงที่ 3 มาแลกกับช่วงที่ 2 กลับไป ทำให้เพลงนี้มีลีลาต่างกันไป ก็รู้สึกว่าดี ทีแรกก็เป็น 1, 2, 3, 4 มาตอนนี้ก็เลยกลายเป็นอยู่อย่างปัจจุบันนี้ ”

                                                         สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
                                                                            ที่มาภาพ
           จากนั้นได้มีพระราชดำรัสเล่าถึงความปิติยินดีในฐานะของผู้พระราชนิพนธ์เพลง เมื่อทรงทราบว่าเพลงนั้นๆเป็นที่นิยมชมชอบอย่างมากในหมู่ผู้ฟัง  “  ครั้งโน้นมีความปลาบปลื้ม ในวันที่ออกเป็นครั้งแรกที่วงสุนทราภรณ์ได้เล่น ก็เพราะว่าในกรมพระชัยนาทฯ ซึ่งเป็นท่านลุง และต่อมาท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ท่านเป็นผู้ที่ชอบดนตรี แต่โดยมากท่านชอบดนตรีคลาสสิก ชอบดนตรีที่เรียกว่าเป็นดนตรีจริงๆ แต่เวลาเล่นเสร็จแล้ว ท่านหันมาแล้วท่านพยักหน้า บอกว่าดี ก็ปลื้มตอนนั้นนะ จะเล่าให้ฟังว่ามีความปลาบปลื้มอย่างจริง ขนลุกจริง ๆ ”

           “เมื่อแต่งเป็นเวลา 6 เดือน ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ ได้เขียนจดหมายมาถึง บอกว่ามีความปลาบปลื้มอย่างหนึ่ง เพระท่านไปเชียงใหม่ เดินไปตามถนนได้ยินคนผิวปากเพลงสายฝน ก็เดินตามเสียงไป เข้าไปในตรอกซอกซอยแห่งหนึ่ง ก็เห็นคนกำลังซักผ้า แล้วก็มีความร่าเริงใจ ผิวปากเพลงสายฝน และก็ซักผ้าไปด้วย ก็นับว่าสายฝนนี้มีประสิทธิภาพสูง ซักผ้าได้สะอาด”

         “  เสร็จแล้วต่อไปได้ไปเยี่ยมราษฎรภาคต่างๆ ก็ได้ไปเยี่ยมทุกจังหวัดในประเทศไทย แต่ตอนที่ไปเยี่ยมครั้งโน้นเป็นเวลา 25 ปีกว่า ไปที่ไหนก็เยี่ยมราษฎรทั้งวัน คลุกฝุ่น และถึงค่ำก็มีการเลี้ยงข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน มีการแสดงของอำเภอต่างๆในจังหวัดนั้นๆ มีอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือระบำสายฝน สายฝนแบบจักๆก็มี แบบปรอยๆก็มี อันนี้บางทีเราเหนื่อยๆ เราก็ดูก็รู้สึกรำคาญ รำคาญตัวเองว่าทำไมต้องแต่งเพลงนี้ให้เขามาเล่นระบำสายฝน แต่มานึกอีกทีว่าทำไม เราควรจะปิติยินดี เราแต่งเพลงนี้ และเขาก็ถือว่าเป็นเพลงสัญลักษณ์ เขาก็แสดงให้ ”
                                                          สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
                                                                          ที่มาภาพ
  
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องภาษาไทย เป็นกลอนสุภาพ 4 บท เนื้อหาพรรณนาถึงสายฝนกับธรรมชาติ เป็นสัญลักษณ์เปรียบเทียบความสำเร็จที่คนเราจะได้รับหลังจากการทำงานหนักหรือยากความลำบาก บทเพลงแฝงนัย ของการให้ความหวัง กำลังใจ ทำให้รู้สึกสดชื่น เยือกเย็น สะอาด 
           
          คำร้องภาษาไทยของเพลงพระราชนิพนธ์สายฝน มีจุดเริ่มจาก หม่อมวิภา เก่งระดมยิง(อดีตหม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ) โดยขณะที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ทรงประพันธ์คำร้องในตำหนัก เผอิญฝนกำลังตกลงมา หม่อมวิภาเดินไปปิดหน้าต่าง มองเห็นฝนตกจึงเดินกลับมาพร้อมด้วยคำอุทานจากแรงบัลดาลใจว่า “ สาดเป็นสายพรายพลิ้วทิวทุ่ง ”
                                                  สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย
                                                                           ที่มาภาพ

                    ส่วนเนื้อร้องภาษาอังกฤษซึ่ง ท่านผู้หญิงนพคุณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ประพันธ์ พรรณนาถึงความงามของธรรมชาติและสายฝน โดยได้เชื่อมโยงความงามจากธรรมชาติของสายฝนเข้ากับความงามของคนรัก ทำให้รู้สึกสดชื่นและชุ่มฉ่ำจากสายฝนไปพร้อมกับความเบิกบานเนื่องจากความสุขสมในความรัก 
(ที่มาข้อมูล  www.bloggang.com)
                                                         โน้ตเพลงสายฝน 


สายฝน..ดั่งสายน้ำพระทัย

            พระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่ทรงถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลงอันทรงคุณค่า ให้ชาวไทยได้ชื่นชม และซาบซึ้งใจนั้น เป็นดั่ง น้ำพระราชหฤทัย ที่ชโลมจิตใจประชาชนของพระองค์ให้เป็นสุข เป็นจุดรวมจิตใจของคนในชาติ  เปรียบประดุจดัง  สายฝนที่หลั่งสู่พื้นแผ่นดิน ให้คืนกลับสู่ความชุ่มชื่น ได้รับความฉ่ำเย็น  เป็นพลังให้เหล่าต้นกล้าใต้พระบารมี ได้ผลิดอกออกผลเจริญงอกงาม สู่ผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง..

                                          
                                      ********************************************

ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  อธิบาย คุณค่า และความไพเราะของเพลงพระราชนิพนธ์
         -  อภิปรายความหมายของบทเพลงสายฝนทั้งความหมายโดยตรง และโดยนัย
         -  ปัจจัยที่ทำให้เพลงพระราชนิพนธ์ อยู่ในความประทับใจ ซาบซึ้งใจของปวงชนชาวไทย

 เชื่อมโยงในองค์ความรู้
         สาระการเรียนรู้ศิลปะ      (ทัศนศิลป์)  วาดภาพ สร้างสรรค์งานจากบทเพลง ตามจินตนาการ  (ดนตรี) ร้อง บรรเลง บทเพลงสายฝน  (นาฎศิลป์) การแสดงจินตลีลาประกอบบทเพลง
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย        ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์จากบทเพลง   คำคล้องจอง  ฉันทลักษณ์ การแต่งคำประพันธ์ คุณค่าความงามของภาษาไทย
          สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ      ศึกษาเรียนรู้ จากบทเพลง Falling Rain ในทักษะต่าง ๆ ได้แก่ ทักษะการฟัง  ทักษะการอ่านและพูด  ทักษะการเขียน 
         สาระการเรียนรู้สังคมฯ           วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิตของชาวไทยที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับสายฝน 
         สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์     การเกิดฤดูกาลต่าง ๆ การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์   วัฏจักรของน้ำ  การเกิดฝน  โครงการในพระราชดำริการทำฝนเทียม
         สาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ         การดูแลรักษาสุขภาพอนามัย และโรคภัยที่เกิดในช่วงฤดูฝน 
         สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์    เรียนรู้ เรื่องเวลา การคำนวนวัน  การคาดการณ์ ความน่าจะเป็น
         สาระการเรียนรู้กอท.         โครงการในพระราชดำริ หลักเกษตรทฤษฎีใหม่  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   


เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
        - ศึกษาเรียนรู้เพลงพระราชนิพนธ์ ในรูปแบบโครงงาน และจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานการศึกษา
        -  จัดกิจกรรมการประกวดแข่งขันทักษะการวาดภาพ  ร้องเพลง บรรเลงดนตรี และการแสดงจินตลีลา ในบทเพลงพระราชนิพนธ์
        -  ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ  หอศิลป์  พิพิธภัณฑ์
 
อ้างอิงข้อมูล 
www.supremeartist.org 
www.bloggang.com
อ้างอิงรูปภาพ
https://gotoknow.org
https://i.ytimg.com
https://www.chaoprayanews.com
https://www.leelart.com/
https://3.bp.blogspot.com

 https://pics.hi5.com 
https://i280.photobucket.com 
https://gotoknow.org 
https://blog.sanook.com 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=512

อัพเดทล่าสุด