ดึกดำบรรพ์(ละครไทยตอนที่ 3)


717 ผู้ชม



ละครที่ดัดแปลงมาจากละครโอเปร่า   

ดึกดำบรรพ์(ละครไทยตอนที่ 3) 

ที่มาภาพ   www.guru.sanook.com

           “เสียงนกโพระดก มันร้องโฮกโป๊กโฮกโป๊กอยู่หนไหน พระพุทธเจ้าข้า กิ่งเพกานั่นเป็นไร ตัวเขียวเขียวเอ้าเลี้ยวไป เข้าโพรงไม้ทางนี้ เอยฯ  
 

           เสียงนกกางเขน อ้อจับตอไม้เอน เจรจาอยู่จู๋จี๋ พระพุทธเจ้าข้า น่าเอ็นดูเต็มที แต่เลี้ยงไม่รอดมันยอดดี ดิ้นจนหัวฉีกปีกหัก เอยฯ

          นกกาเหว่าเสียงหวาน ร้องก้องดงดาน เสียงกังวานยิ่งนัก บุราณท่านว่าไว้  มันไข่ให้กาฟัก เท็จจริงไม่ประจักษ์ พระพุทธเจ้าข้า เอยฯ”

 ดึกดำบรรพ์(ละครไทยตอนที่ 3)


ที่มาภาพ    www.thainame.net


     เนี้อหาสำหรบกลุ่มสาระการเรียนรู้  มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่ 2

ดึกดำบรรพ์(ละครไทยตอนที่ 3)


ที่มาภาพ   www.tcmc.nisit.kps.ku.ac.th

         ละครดึกดำบรรพ์ ตามความหมายของพจณานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคือ ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงตามแบบคอนเสิร์ตของฝรั่ง ฉากสุดท้ายจะงดงาม

         ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ดัดแปลงมาจากละครโอเปร่าโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ทรงปรับปรุงขึ้น เพื่อให้คณะละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) แสดง สาเหตุที่เรียกว่าละครดึกดำบรรพ์ เพราะเรียกตามชื่อของ " โรงละครดึกดำบรรพ์ " 
 
           
          ละครดึกดำบรรพ์ ได้นำออกแสดงครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เนื่องในโอกาสต้อนรับเจ้าชายเฮนรี่ พระอนุชาของสมเด็จพระเจ้ากรุงปรัสเซีย ซึ่งเป็นพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนได้รับความนิยมตลอดมา 

           ละครดึกดำบรรพ์ มีลักษณะ ดังนี้
            การแสดงจัดบนเวที มีฉากและเครื่องกลไกประกอบ ให้ผู้ดูรู้ว่าเป็นสถานที่ไหน มีสภาพอย่างไร เวลาใด เกิดปรากฏการณ์ใดขึ้น โดยใช้เทคนิคใหม่ๆ เข้าช่วยใช้ความจริงเป็นหลัก เล่นให้สมจริง ไม่มีบทที่กล่าวถึงกิริยาอาการต่างๆ ของตัวละคร เพราะผู้ดูเห็นอยู่แล้วว่าใครทำอะไร มีเฉพาะบทพูดของตัวละครมีการแทรกการอ่านทำนองเสนาะ เช่น อ่านฉันท์ เพลงเด็ก เพลงพื้นเมือง ขับเสภา เห่เรือ เป็นต้น การลีลาการฟ้อนรำมีน้อย เพราะต้องการความรวดเร็ว จึงมีการรำใช้บท(การตีบท)เป็นพื้น ฉากสุดท้ายของเรื่องจะสวยงามกว่าฉากอื่นๆ ผู้แสดงต้องรำและพูดเอง แต่งแบบละครใน แต่ไม่นิยมสวมหัวโขน เพราะทำให้ดูงุ่มง่าม จะใช้การเขียนหน้าแทน

ดึกดำบรรพ์(ละครไทยตอนที่ 3)


ที่มาภาพ   www.sadetmusic.com


 ดนตรีประกอบละครดึกดำบรรพ์ใช้ปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่

          เรื่องที่แสดงเป็นเรื่องที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ปรับปรุงจากบทละครพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 เช่น คาวี สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย มณีพิชัย และอิเหนา ที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้แก่ เรื่องศกุลตลา พระเกียรติรถ และท้าวแสนปม และพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนเพชรบูรณอินทราชัย ได้แก่เรื่องพระยศเกตุ จันทกินรี และสองกรวรวิก

         ประเด็นคำถาม

         1) ละครดึกดำบรรพ์ดัดแปลงมาจากละครประเทศใด
         2) ละครดึกดำบรรพ์เกิดขึ้นในสมัยใด
       
 

         กิจกรรมเสนอแนะ

          1) ให้นักเรียนฝึกหัดเล่นละครดึกดำบรรพ์ และหัดวิเคราะห์บทละครดึกดำบรรพ์
          2) ให้นักเรียนตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว

         
         บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้

        ภาษาไทย   ด้านการอ่าน  การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
        สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต


         อ้างอิงแหล่งข้อมูล

www.guru.sanook.com
www.th.wikipedia.org
www.guru.sanook.com
www.sakulthai.com

         อ้างอิงแหล่งภาพ

www.images.google.co.th
www.images.google.co.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=545

อัพเดทล่าสุด