ชาติหน้าให้พี่ยาตามน้องไป
ที่มาภาพ www.sf.ac.th
สำนักคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ นำเยาวชนจัดแสดงหุ่นกระบอกไทย พระสุธน มโนห์รา หวังปลูกฝังค่านิยมเด็กไทยให้รู้จักคุณค่างานด้านศิลปวัฒนธรรมใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ นางฉวีรัตน์ เกษตรสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กล่าวถึงการจัดแสดงหุ่นกระบอกไทยเรื่อง “พระสุธน มโนห์รา” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายนนี้ เวลา 15.00-18.00 น. ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเยาวชนที่ผ่านการอบรมศิลปะหุ่นกระบอกไทยจาก สวช.ในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งมีผลงานการแสดงโดดเด่น มาแสดงความสามารถร่วมกับคณะนักแสดงมืออาชีพ ร่วมกันเชิดชูเกียรติครูชื้น สกุลแก้ว ในวาระครบรอบ 101 ปี ปูชนียบุคคลที่มีคุณูปการต่อวงการศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทย ซึ่งจะเป็นการเผยแพร่ศิลปะการแสดงหุ่นกระบอกไทยให้เป็นที่แพร่หลาย และปลูกฝังค่านิยมให้แก่เด็กและเยาวชนได้ให้คุณค่างานด้านศิลปวัฒนธรรมและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำหรับการแสดงหุ่นกระบอกไทยครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของการนำวรรณคดี เรื่อง “พระสุธน มโนราห์”มาแสดงในรูปแบบของหุ่นกระบอกไทย โดยจัดสร้างโรงหุ่น ของประกอบฉาก และหุ่นกระบอกไทยใหม่กว่า 50 ตัว พร้อมนำเพลงไทยเดิมที่มีจังหวะสนุกเร้าใจ และไพเราะมาใช้ในการรำเพลงหุ่น ซึ่งเป็นเพลงแม่บทที่ยากมากสำหรับวงการนาฏศิลป์ไทย จึงขอเชิญชวนเยาวชนและประชาชนผู้สนใจสำรองที่นั่งได้ที่ หอไทยนิทัศน์ 0-2247-0028 ต่อ 4141-2 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่มาแหล่งข่าว www.thainews.prd.go.th[กรมประชาสัมพันธ์] เมื่อ 29 พ.ค. 2552 เวลา 15:50:
เนี้อหาสำหรบกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่ 2
ที่มาภาพ www.thailandbookcenter.com
พระสุธนกับนางมโนราห์ เป็นเรื่องราวของความรักระหว่างพระสุธนกับนางมโนราห์ ความเดิมมีอยู่ว่านางมโนราห์ และพี่สาวทั้ง ๖ ได้บินลงมาเล่นน้ำที่สระอโนดาตในป่าหิมพานต์ ขณะที่กำลังเพลิดเพลิน “พรานบุญ” ได้ร่ายเวทมนต์ใช้บ่วงนาคบาศและจับตัวนางกินรีตัวสุดท้องไว้ได้โดยยึดปีกหางของนางไว้ แล้วพรานบุญนำตัวนางมโนราห์ไปถวายพระสุธนขณะเสด็จประพาสป่า พระสุธนเกิดความพอใจรักใคร่ในตัวนาง จึงพานางกลับราชวังเพื่อเข้าเฝ้าท้าวอาทิตย์และเจ้าแม่จันทราเทวี เพื่อขอจัดพิธีอภิเษกสมรสความทราบถึงปุโรหิตที่อยากให้ลูกสาวของตนเป็นคู่พระสุธน จึงคิดอุบายกำจัดนางมโนราห์โดยฉวยโอกาสตอนที่พระสุธนออกไปรบ อ้างคำทำนายว่านางกินรีต้องเสียสละชีวิตเพื่อบ้านเมืองจะพ้นภัยอันตรายโดยทำพิธี “บูชายัญ”
ยัญ, ยัญ, ยัญญะ [ยันยะ] น. การเซ่น, การบูชา, การเซ่นสรวงโดยมีการฆ่าสัตว์หรือคน เป็นเครื่องบูชา เรียกว่า บูชายัญ. ตามความหมายของพจนานุกรม ไทย-ไทย ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน
ที่มาภาพ www.geocities.com
เมื่อนางมโนราห์ขอปีก หางได้แล้ว ก็แสร้งกล่าวทูลลา และขอพระราชทานอภัยต่อท้าวอาทิตยวงศ์ แล้วร่ายรำทำท่าคล้ายกับจะกระโดดเข้ากองไฟ ระบำชุดนี้ใช้เพลงแขกบูชายัญ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเร็วของคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มาบรรเลงร่วมกับโทนและกลองชาตรี ไม่มีเนื้อร้อง ผู้แสดงจะร่ายรำตามจังหวะเครื่องดนตรีขณะที่ร่ายรำนางได้โอกาสบินหนีกลับบ้านเมืองของตน ด้วยอานุภาพของความรักและความเชื่อมั่น พระสุธนฝ่าฟันอุปสรรคนานา ถึง ๗ ปี ๗ เดือน ถึงจะได้พบกับนางมโนราห์อีกในที่สุดทั้งสองได้ครองรักกัน แต่ก่อนที่จะได้ครองรักกันพระบิดาของนางมโนราห์ให้พระสุธนทำการเลือกคู่โดยการรำซัดเลือกคู่ระหว่างที่รำอยู่พระสุธนเหลือบเห็นแหวนที่นิ้วนางมโนราห์จึงทำให้จำนางมโนราห์ได้ในที่สุดทั้งสองจึงได้ครองรักกันอย่างมีความสุข
ที่มาภาพ www.learners.in.th
นี่ละครับชีวิตเหมือนละคร แตกต่างจากละครก็ตรงที่ชีวิตจริงไม่ได้จบลงตรงที่การแต่งงาน ชีวิตยังต้องก้าวไปอีกไกล เพราะถนนของชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบย่อมมีอุปสรรคกันบ้าง
ประเด็นคำถาม
1) บ่วงนาคบาศคืออะไร
2) เรื่องพระสุธนนางมโนราห์เป็นภาคสองต่อจากละครเรื่องใด
3) เรื่องนี้มีจริงไหม
กิจกรรมเสนอแนะ
1) ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มจัดทำละครพระสุธนนางมโนราห์
2) ให้นักเรียนวิเคราะห์บทบาทตัวละครในเรื่อง
บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ด้านการอ่าน การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
www.av.sac.or.th
แหล่งอ้างอิงภาพ
www.images.google.co.th
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=550