การแสดงโขน จะแต่งกายแบบที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง" โดยมีเอกลักษณ์ที่ทำให้แตกต่าง จากการแสดงอื่นๆ คือ ผู้แสดงจะต้องสวม หัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็นตัวละครใดในเรื่อง
ที่มาภาพ www.gotoknow.org
สืบสานงาน ‘โขน’ ศิลปะไทยสู่รุ่นหลังจากพระราชเสาวนีย์ใน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงตระหนักถึงคุณค่าแห่งศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งกำลังจะสูญหายไป จึงมีพระราชประสงค์ฟื้นฟูและอนุรักษ์นาฏกรรม ตามแบบประเพณีไทยโบราณ อาทิ โขน และละครรำแบบต่าง ๆ ขึ้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน-ละคร ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการสืบสานงานช่างฝีมือไทยทั้งในส่วนของงานช่างทำหัวโขน ช่างปักสะดึงกรึงไหมช่างเงินช่างทอง และศิลปะการแต่งหน้า อันเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติให้คงอยู่สืบเนื่อง เพื่อเป็นการอนุรักษ์“โขน” ซึ่งเป็นการแสดงชั้นสูงให้คงอยู่และสืบทอดไปถึงอนุชนรุ่นหลัง มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และคณะกรรมการจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขน-ละคร จึงเห็นควรจัดแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พรหมาศ พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์บรรเลงโดยวงปี่พาทย์ กรมศิลปากร, วงโยธวาทิต กองดุริยางค์กองทัพบก ศิลปินชั้นนำจากกองการสังคีต กรมศิลปากร, สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 19-21 มิ.ย. 2552 ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย.พัสตราภรณ์ ออกแบบและควบคุมการจัดสร้างโดย อ.วีรธรรม ตระกูลเงินไทย กลุ่มจันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ใช้วิธีการปักสะดึงกรึงไหมตามแบบโบราณ พิเศษตรงกระบวนลายที่ประณีตงดงามตามแบบศิลปะไทย และใช้สีสันตามแบบศิลปกรรมไทยโบราณ และยังออกแบบถนิมพิมพาภรณ์ (เครื่องประดับ) แบ่งเป็นเครื่องประดับสำหรับตัวละครเอก พระราม พระลักษมณ์ พระอินทร์ ทศกัณฐ์ และ อินทรชิต จัดสร้างโดยใช้เงินสลักดุน กะไหล่ทองประดับพลอย ส่วนตัวละครอื่น ๆ ใช้วิธีการหล่อทองแดงชุบทองประดับพลอยสังเคราะห์หัวโขนและศิราภรณ์ การจัดสร้างครั้งนี้พยายามรักษาแนวทางตามแบบโบราณ โดยหัวโขนฝ่ายยักษ์ ควบคุมโดย ขรรค์ชัย หอมจันทร์,หัวโขนฝ่ายลิง ควบคุมโดย อภิชาต เกิดเฉ็งเม็ง และศิราภรณ์ควบคุมโดย สุรัตน์ จงดา ขั้นตอนการทำหลังจากปั้นหุ่นและปิดกระดาษเป็นโครงหัวโขนแล้ว จึงนำมาวาดโครงหน้าเพื่อเตรียมปั้นหน้าโขนเพิ่มเติม จากนั้นใช้ขี้เลื่อยผสมกาว ผงชันและปั้นหน้าโขนตามเค้าโครงที่วาดไว้สิ่งของประกอบการแสดง ออกแบบและควบคุมการจัดสร้างโดย อ.สุดสาคร ชายเสม เป็นฉากและอุปกรณ์การแสดงที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ อาทิ ช้างเอราวัณ เครื่องสูง โรงพิธี ที่มาข่าว[เดลินิวส์] - เมื่อ 28 พ.ค. 2552 เวลา 00:14:54
จากข่าวข้างต้นในฐานะคนไทยและสอนวิชานาฏศิลป์ไทยอดปลาบปรื้มในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีต่อนาฏศิลป์ไทยโดยเฉพาะการแสดงโขนที่เป็นศิลปะชั้นสูงประจำชาติไทย อย่างที่ทราบกันดีว่าการแต่งกายโขนมีความปราณีตงดงาม การแสดงโขน จะแต่งกายแบบที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง" โดยมีเอกลักษณ์ที่ทำให้แตกต่าง จากการแสดงอื่นๆ คือ ผู้แสดงจะต้องสวม หัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกว่าเป็นตัวละครใดในเรื่อง แต่ในปัจจุบันตัวพระและตัวนางจะสวมชฏาแทนการใส่หัวคงเหลือการสวมหัวโขนไว้เพียงยักษ์และลิง
เนี้อหาสำหรบกลุ่มสาระการเรียนรู้ มาตรฐาน ศ ๓.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่า ของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช่วงชั้นที่ 2
ที่มาภาพ www.geocities.com
เครื่องแต่งกายตัวพระ
ตัวพระ สวมเสื้อแขนยาวปักดิ้น มีอินทรธนู ส่วนล่างสวมสนับเพลา นุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลา ด้านหน้ามีชายไหวชายแครง ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับเช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้า
ที่มาภาพ www.203.172.238.71
เครื่องแต่งกายตัวนาง
ตัวนาง สวมเสื้อในนางแขนสั้น ห่มสไบทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง นุ่งผ้ายกจีบหน้านาง ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามฐานะของตัวละคร สวมเครื่องประดับ เช่น กรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้น
ที่มาภาพ www.203.172.238.71
เครื่องแต่งกายตัวยักษ์
ตัวยักษ์ เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือ ตัวยักษ์จะนุ่งผ้าก้นแป้น มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร
ที่มาภาพ www.geocities.com
เครื่องแต่งกายตัวลิงตัวลิง
เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์แต่ไม่ใส่อินทรธนู ด้านหลังมีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นสวมเสื้อลายทักษิณาวัตร ศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร
นี่ละครับเครื่องแต่งกายของการแสดงโขนที่มีความงดงามไม่แพ้ชาติใดๆ นอกจากเนื้อหาที่ผู้เขียนได้นำเสนอไปบ้างแล้วยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอีกมาถ้าสนใจลองเข้าไปหาอ่านที่ Linkน่ารู้ ได้ครับเรื่องเครื่องแต่งกายซึ่งผู้เขียนรวบรวมข้อมูลด้านเครื่องแต่งกายเอาไว้
ประเด็นคำถาม
1) เครื่องแต่งกายของโขนมีวิวัฒนาการมาจากอะไร
2) โขนเกิดขึ้นในสมัยใด
กิจกรรมเสนอแนะ
1) ให้นักเรียนวิเคราะห์บทโขน
2) ให้นักเรียนตอบคำถามจากบทเรียนที่ได้เรียนไปแล้ว
บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย ด้านการอ่าน การเขียน การวิจารณ์วรรณคดีไทย
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศึกษาความเป็นมาของประวัติศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมวิถีชีวิต
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
www.ku.ac.th
www.nrru.ac.th
www.nrru.ac.th
www.anurakthai.com
แหล่งอ้างอิงภาพ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=557