wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์


1,232 ผู้ชม


Wonder gay วันเดอร์เกย์ เด็กไทย เต้นโนบอดี้ คนดูเป็นล้านผ่าน Youtube ค่ายเพลงไทย จองตัวออกอัลบั้ม   

        เมื่อเอ่ยถึงวงนักร้องเกาหลี สาวสวย คงไม่มีใครไม่รู้จัก Wonder girl เพราะนักร้องทั้งสวย น่ารัก เสียงดี และเพลงเพราะมาก

wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์
ภาพจาก https://content.mthai.com

        แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวเกี่ยวกับเด็กนักเรียนกลุ่มหนึ่งของไทยที่ชื่นชอบการแสดงออก ด้วยการเต้นรำ ร่วมกันเต้น Cover เพลง Nobody ทั้งชุดนักเรียน ก่อน Post ให้เพื่อนกลุ่มเดียวกันมาดู แต่กลับกลายเป็นกระแสฮอต คนเข้ามาดูเป็นล้านผ่านYoutube ล่าสุด ค่ายเพลงวัยรุ่นของ RS Zheza เชิญมาออกเทป เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้กับคนฟัง จึงได้พยายามปลุกปั้นพวกเขาให้ได้ออกอัลบั้มสักหนึ่งชุด ภายใต้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Wonder Gay

wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์
ภาพจาก 
www.i.ytimg.com

        สำหรับใครที่ยังไม่เคยเห็นผลงานการเต้น Cover ของพวกเขา วันนี้ เรานำเอา Clip การแสดงของพวกเขามาให้ชมกันพร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมแล้วก็ Click ไปได้เลย

เนื้อหากลุ่มสระการเรียนรู้ศิลปะ  เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นม.4-6
หลักในการออกแบบลีลาสร้างสรรค์

        บุคคลที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้จะต้องเป็นผู้ที่สั่งสมประสบการณ์ มีความรู้ ความสามารถ บูรณาการความรู้ต่างๆ แล้วเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ อันเป็นกระบวนการในการประดิษฐ์ลีลาท่าเต้น ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งแปลกใหม่ หรือเป็นการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ลีลท่าเต้นที่มีอยู่เดิมให้แปลกออกไป
หลักในการออกแบบลีลาสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้
        1) ความคิดรวบยอด (Concept) หมายถึง สาระสำคัญของเรื่องราวที่ใช้เป็นตัวกำหนดในการสร้างสรรค์ลีลา 
        2) ดนตรี (Music) ดนตรีเป็นปัจจัยหลักที่ผูประดิษฐ์ลีลาสร้างสรรค์จะต้องคำนึงถึง จังหวะช้า - เร็ว ต้องผสมกลมกลืนกับความคิดรวบยอดและลีลาท่าเต้น
        3) ท่าเหมือน (Symmetry) ในการประดิษฐ์ลีลาสร้างสรรค์ ผู้ประดิษฐ์อาจใช้ท่าเหมือน คือ ลักษณะท่าทางที่ผู้เต้นในกลุ่มเต้นท่าเดียวกัน เช่น มีผู้เต้นในกลุ่มเต้นท่าเดียวกันหมด ในจังหวะเดียวกัน
        4) ท่าไม่เหมือน (Asymmetry) ผู้ประดิษฐ์อาจเลือกใช้ท่าไม่เหมือน คือ การที่ผู้เต้นทำท่าต่างกันในจังหวะเดียวกัน เช่น มีผู้เต้น 5 คน ผู้เต้น 3 คนจะทำเหมือนกันแต่อีก 2 คน จะทำท่าแตกต่างจากกลุ่มแรก เป็นต้น
        5) ลำดับท่า (Step in Exercise) หมายถึง การเรียงลำดับท่าเต้นจากท่าหนึ่งไปศุ่อีกท่าหนึ่ง จะต้องให้สอดคล้องกันอย่างกลมกลืน ไม่ขัดตา 
        6) การใช้พื้นที่บนเวที (Stage Space) หมายถึง การจัดตำแหน่งผู้เต้นบนเวทีหรือพื้นที่ในการแสดง ผู้ประดิษฐ์ลีลาการเต้นจะต้องใช้พื้นที่ให้หมดทุกส่วน ทิศทางการเคลื่อนไหว การจัดระยะคู่เต้น การกำหนดช่องไฟระหว่างคู่ ระหว่างแถว เป็นต้น
        7) การแปรแถว (Floor pattern) คือ การจัดรูปแบบแถวต่างๆ เช่น แถวตอน แถวหน้ากระดาน แถวสลับฟันปลา แถวรูปตัววี แถวปิรามิด เป็นต้น
ตัวอย่างในการจัดรูปแบบการแปรแถว
wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์

แถวตอนลึก
wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์
แถวสลับฟันปลา
wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์
แถวปิรามิด
wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์
แถวรูปตัววีหงาย
wonder girl เมืองไทยในลีลาสร้างสรรค์
แถวรูปตัววีคว่ำ

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย
        1) นักเรียนคิดว่าการเต้นไม่ว่าจะเลียนแบบหรือคิดท่าเต้นเองมีประโยชน์ต่อเราในด้านใดบ้าง
        2) บุคคลที่จะสามารถสร้างสรรค์ลีลาต่างๆได้นั้นต้องมีลักษณะอย่างไร
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้พละศึกษา สุขศึกษา 
โดยสามารถนำไปใช้กับกิจกรรมเข้าจังหวะได้

อ้างอิงแหล่งที่มาจาก
        สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์และสุมนรตี  นิ่มเนติพันธ์ หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ศิลปะ นาฏศิลป์ม.4-ม.6.

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=599

อัพเดทล่าสุด