หลายบทเพลงของเบโธเฟน ที่รู้จักและคุ้นหู ลองมาดูว่าใช้เครื่องหมายกำหนดจังหวะ แบบใดบ้าง
หลังจากที่ได้อธิบายเกี่ยวกับเครื่องหมายกำหนดจังหวะไว้แล้วหลายตอน และเมื่อมีการนำตัวอย่างบทเพลง
มาเสนอ พบว่าหลายบทเพลง เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven) มีเครื่องหมายกำหนดจังหวะที่น่าสนใจอยู่มาก
ได้แก่ เพลง ในอัตราจังหวะ 3/8 คือเพลง Fur Elise
โน้ตเพลงจากwww.sheetmusicplus.com/look_inside/2924332/image/142404
และในขณะเดียวกัน มีการนำมาดัดแปลง ให้เป็น อัตรา 3/4 เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้เริ่มต้นเรียน แต่เมื่อคำนวณค่า
ของตัวโน้ตแล้วสรุปได้ว่ามีจำนวนจังหวะเท่ากันคือห้องละ 3 จังหวะ และเมื่อเล่นแล้วก็ยังคงมีจังหวะและทำนองเดียวกัน
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ โน้ตที่มีค่า 1 จังหวะ (จากเลขตัวล่าง) จากต้นฉบับเดิม เป็นเลข 8 โน้ต เขบ็ต 1 ชั้น
ที่มีค่า 1 จังหวะ ให้เป็น เลข 4 ซึ่งหมายถึงโน้ตตัวดำ มีค่า 1 จังหวะ ดูโน้ตที่ดัดแปลงครับ
โน้ตเพลงจาก
www.sheetmusicplus.com/look_inside/1591637/image/4829
ฟังเพลง https://www.youtube.com/watch?v=o0VwTw1eZ1k&feature=fvst
คำถาม
1. หากโน้ตในเพลงต้นฉบับ เป็นเขบ็ต 2 ชั้น โน้ตใหม่จะใช้โน้ตตัวใดแทน
2. หากโน้ตเพลงชุดใหม่ใช้โน้ต เขบ็ต 1 ชั้น จะมีค่ากี่จังหวะ และโน้ตเพลงต้นฉบับ ใช้โน้ตตัวใดจึงจะมีจังหวะเท่ากัน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=683