ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องสาย)


791 ผู้ชม


วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากลที่ถูกต้อง เพื่อคุณภาพเสียงและอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี   

ใช้เป็น...ดูแลดี..เสียงมีคุณภาพ
(เครื่องสาย)

ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องสาย)

( ภาพจาก  www.thaigoodview.com)    

       เมื่อวันที่ 23  มีนาคม 2552 เวลา 19.00 น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการแสดงดนตรีของวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมฉลองเนื่องในวาระครบรอบสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครบ 
82 ปี  ณ หอประชุมจุฬาฯ  การแสดงในครั้งนี้มีรายการแสดงที่พิเศษออกไป คือ มีการเลือกสรรบทเพลงที่หาฟังได้ยาก เช่น Roman Carnival ประพันธ์โดย Hector Berlioz และ Rodeo ประพันธ์โดย Aaron Copland ศิลปินผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงเดี่ยวคลาริเน็ตกับวงออร์เคสตร้า โดย Peter Goldberg ศิลปินรับเชิญในบทเพลงที่ผู้ประพันธ์ได้อุทิศให้กับ Goldberg เป็นพิเศษในเพลง Concerto for Clarinet and Chamber Orchestra ประพันธ์โดย Francis James Brown ส่วนผู้อำนวยเพลงในการแสดงครั้งนี้คือ ผศ.พ.อ.ชูชาติ พิทักษากร ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการอำนวยเพลงเป็นที่รู้จักดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
       ถึงแม้ผู้เขียนจะไม่มีโอกาสได้ร่วมชมการแสดงดนตรีในครั้งนี้  แต่จากการสอบถามและสืบค้นข้อมูลจากผู้ที่ได้ชมการแสดง  ทุกคนต่างประทับใจและมีความสุขจากการชมการแสดงดนตรีของวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก  วงซิมโฟนีออร์เคสตร้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่องสาย  เครื่องลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องตีกระทบ  ซึ่งเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภทมีวิธีการใช้และดูแลรักษาที่แตกต่างกัน  เพื่อให้เครื่องดนตรีมีอายุการใช้งานที่นาน    และคุณภาพเสียงที่ดีเกิดความไพเราะ

เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่  4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4 - 6
สาระที่ 2  ดนตรี    มาตรฐาน ศ 2.1   เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี  ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากล

ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องสาย)

( ภาพจาก www.pantown.com )

1.  เครื่องสาย ( String Instruments) 
     1.1ประเภทสี ได้แก่ ไวโอลิน (Violin) วิโอลา (Viola) วิโอลอนเชลโล (Violoncello) และดับเบิลเบส
 (Double Bass)
 เป็นเครื่องสายที่มีวิธีการเกิดเสียงโดยใช้คันชักสีลงบนสายของเครื่องดนตรี ในขณะบรรเลงควรคำนึงถึงการใช้คันชักอยู่เสมอ เพราะวัสดุนี้ใช้สีกับสายเรียกว่า หางม้า ซึ่งมีความบอบบาง หากสีคันชักรุนแรงมากเกินไปอาจทำให้หางม้าขาดได้
     - ก่อนบรรเลงเครื่องดนตรีที่ใช้หางม้า ควรมีการถูยางสนก่อน เพื่อเพิ่มความยืดให้แก่สาย
     - การถือไม่ควรแกว่งไปมา เพราะอาจกระแทกกับสิ่งของทำให้เกิดความเสียหายได้
     - ไม่ควรนำคันชักของเครื่องสีมาใช้ในลักษณะอื่นๆ เช่น แกว่งเล่นไปมา หรือนำไปเคาะ ตีที่พื้นหรือนำไปเล่นหยอกล้อกัน เพราะอาจทำให้เกิดรอยร้าว หัก และความเสียหายได้
     - เมื่อบรรเลงเสร็จ ควรนำผ้าที่มีความนุ่มเช็ดตัวเครื่อง เพื่อทำความสะอาดคราบยางสนที่ติดอยู่บริเวณตัวเครื่องและคันชัก
     -  การเก็บเครื่องดนตรีประเภทสีนั้น ควรมีกล่องใส่ที่พอเหมาะกับเครื่องดนตรีนั้นๆ และไม่ควรแยกเก็บระหว่างคันชักกับตัวเครื่องดนตรีเพราะอาจเกิดการสูญหายได้
   

  ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องสาย)

( ภาพจาก www.lks.ac.th )

 1.2 เครื่องสายประเภทดีด
     - กีตาร์ (Guitar) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ที่มีลักษณะการดีดเพื่อให้เกิดเสียง เมื่อบรรเลงเสร็จควรมีการเช็ดสายด้วยผ้านุ่มทุกครั้ง เนื่องจากคราบเหงื่อจากนิ้วอาจสะสมและกัดสายกีตาร์ได้
     - การวางกีตาร์ควรวางคว่ำด้านหน้าลงกับพื้น เพื่อป้องกันลูกบิดที่ใช้ปรับสายกระทบกระเทือนกับพื้นทำให้สายคลายและเสียงเพี้ยนได้
     - ควรเก็บกีตาร์ไว้ในกล่องที่มีความเหมาะสมกับเครื่องดนตรีเพื่อป้องกันกระทบกระเทือนจากสิ่งต่างๆ
     - เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายส่วนใหญ่นิยมสร้างจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ดังนั้น ผิวของเครื่องดนตรีมีความบอบบาง ในการวางเครื่องดนตรี ควรวางด้วยน้ำหนักมือที่เบา เพื่อป้องกันการกระแทกและรอยขีดข่วน และไม่ควรวางพิงฝาผนัง หรือในที่นี่อาจทำให้เครื่องดนตรีเกิดการชำรุดเสียหาย

ใช้เป็น....ดูแลดี...เสียงมีคุณภาพ (เครื่องสาย)

( ภาพจาก www.bngmusicthailand.com ) 

พัฒนากระบวนการคิด

  1.การดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากลที่ถูกต้องมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
  2.หากใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรีสากลไม่ถูกต้อง จะเกิดผลเช่นไรต่อเครื่องดนตรี

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้

  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านเพื่อคิดวิเคราะห์
  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง

แหล่งที่มาของข้อมูล
   สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.)

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=699

อัพเดทล่าสุด