ตอนนี้คงไม่มีอะไรโด่งดังเท่ากับไข้หวัด 2009 เพราะรายการโทรทัศน์ทุกช่อง และหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ จะต้องมีข่าวการแพร่ระบาดของโรคนี้อย่างต่อเนื่อง ในขณะนี้มีหลายโรงเรียนที่ต้องปิดชั่วคราวเพราะป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
นอกจากโรคไข้หวัด 2009 แล้ว นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ระวังในช่วงฤดูฝน เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในฤดูกาลนี้อาจทำให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น ไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย โรคปอดอักเสบ โรคตาแดง เป็นต้น และด้านนพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข "ด้ประกาศเตือนประชาชนในการป้องกันโรคติดต่อที่มักเกิดขั้นในฤดูฝน (รายละเอียดข่าว)
จะเห็นว่าในช่วงนี้มีโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นในฐานะที่เราต้องดำเนินชีวิตอยู่ต่อไป และไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการพบปะกับผู้คนได้นั้น เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมต้องศึกษาวิธีการป้องกันการติดต่อโรค นอกจากนั้นการทำร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เราต้องรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ช่วงชั้นที่ 3 - 4
ฟ้อนเจิง
ภาพจาก www.art-culture.chiangmai.ac.th
เชิง (อ่านว่าเจิง) คือ ชั้นเชิง ซึ่งหมายถึง ศิลปะการต่อสู้ของล้านนา ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเป็นแบบอย่าง และรวบรวมจากประสบการณ์ แตกแขนงกลยุทธ์โดยพิสดารออกไป แล้วถ่ายทอดศิลปะดังกล่าวสืบต่อกันมาจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
ฟ้อนเจิง เป็นการร่ายรำตามกระบวนท่าตามแบบแผน ที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ของชาย ซึ่งท่ารำนั้นมีทั้งท่าหลักและท่าที่ผู้รำแต่ละคน จะใช้ความสามารถเฉพาะตัว พลิกแพลงให้ดูสวยงาม
การฟ้อนเจิงนี้ มักดำเนินร่วมกับตบบ่าผาบ หรือตบขนาบ คือการตบไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้เกิดเสียงดัง การฟ้อนเจิงหรือฟ้อนรำแสดงลีลาประกอบการตบไปตามร่างกายดังกล่าว มักเรียกรวมกันว่า ตบบ่าผาบฟ้อนเจิง และมักเป็นการเริ่มต้นก่อนที่จะมีการฟ้อนอาวุธ หรือกิจกรรมอื่นที่คล้ายคลึงกัน
ภาพจาก www.lannabiketrip.com
พื้นฐานอย่างหนึ่งของการต่อสู้ที่สำคัญมาก คือ ผังการเดินเท้าที่เรียกว่า “ขุม”หรือ “ขุมเชิง” การฝึกชั้นเชิงแรกต้องฝึก “ย่างขุม” คือฝึกย่างย้ายไปตามผังที่กำหนด ซึ่งการย่างย้ายหรือการเดินเท้าจะเดินตามขุมทั้งในจังหวะรุก จังหวะรับ และจังหวะหนี พร้อมกันนั้นการวาดมือออกไปให้สัมพันธ์กันกับเท้าที่เดิน ไม่ว่าจะมีอาวุธอยู่ในมือหรือไม่ก็ตาม
ขุม สำหรับเป็นผังการเดินเท้าของครูแต่ละคนก็มีมากบ้างน้อยบ้าง อย่างน้อยก็ตั้งแต่ ๓ ขุมขึ้นไป ถึงมากที่สุด ๓๒ ขุม
แต่เดิมมา การฟ้อนเชิง จะเป็นศิลปะส่วนตัวคน ๒ คน จะฟ้อนเชิงประชันกัน แต่จะทำท่าไม่เหมือนกัน แต่บัดนี้ เครือข่ายหมอเมืองเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มลายเมือง โดยการสนับสนุนของ สสส. ได้ร่วมกันประยุกต์เอาศิลปะการฟ้อนเชิงมาเป็นต้นแบบ แล้วพัฒนาให้ได้เป็นการออกกำลังครบทุกส่วนของร่างกาย โดยใช้ขุม ๔ เป็นหลัก เพื่อที่จะสามารถให้ทำร่วมกันได้ โดยไม่รบกวนกัน
ภาพจาก www.3.bp.blogspot.com
ขณะนี้ได้มีการนำการฟ้อนเจิงมาผสมผสานกับการออกกำลังกาย ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมและยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้ออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วยกลายเป็นฟ้อนเจิงเพื่อสุขภาพ
ประเด็นคำถาม
1. นักเรียนสามารถนำการแสดงฟ้อนเจิงไปประยุกต์ใช้กับการแสดงในชุดใดได้บ้าง
2. การฟ้อนเจิงเป็นการแสดงเฉพาะของผู้ชายใช่หรือไม่
3. กรแสดงฟ้อนเจิงเป้นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคใด
กิจกรรมเสมอแนะ
1. ฝึกการฟ้อนเจิงตามรูปแบบ
2. คิดท่าฟ้อนเจิงตามรูปแบบของนักเรียนเองโดยใช้ท่าฟ้อนเจิงพื้นฐานมาประยุกต์ใช้
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา พลศึกษา
ในเรื่อง การออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพ
ที่มา
www.khonmuang.com
www.ketalanna.com
www.geocities.com
www.thairath.co.th
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=723