แนวทางการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สามารถปรับใช้ได้
ที่มาภาพ จะให้เราชื่ออะไรดีน้า
เปิดชิงชัยชื่อแพนด้าน้อย "ขวัญไทย หลินปิง ไทจีน และหญิงหญิง " 4 ชื่อ เพื่อให้ประชาชนร่วมส่งผลโหวตผ่านไปรษณียบัตรชิงเงินสด 1 ล้านบาท ( ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ )
ส่งผลโหวตชื่อแพนด้าน้อยไปแล้ว เราก็มาสนุกกับกิจกรรมศิลปะอย่างสร้างสรรค์ ในการพับกระดาษเจ้าแพนด้า และเพื่อน ๆ ในสวนสัตว์กันดีกว่า...
ที่มาภาพ
สาระที่ 1 : ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 : สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างาน ทัศนศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสละ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
สาระการเรียนรู้ การพับกระดาษ
การพับกระดาษ มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
1. ออกแบบภาพที่ต้องการ
2. เลือกกระดาษให้เหมาะสมกับภาพ ( ไม่ควรใช้กระดาษที่แข็งเกินไป )
3. พับกระดาษให้เป็นรูปต่าง ๆ ตามขั้นตอน
4. นำรูปที่ได้ไปปะติดบนกระดาษวาดเขียนตามภาพที่ออกแบบไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม
มาสนุกกับการพับกระดาษ
การพับกระดาษ เป็นการนำกระดาษที่มีลักษณะบาง ๆ ไม่หนามากนักมาพับให้เป็นรูปต่าง ๆ แล้วนำไปปะติดบนกระดาษ หรือจะทำเป็นภาพแขวนก็ได้
ที่มาภาพ ที่มาภาพ
คลิกดาวน์โหลดแผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การพับกระดาษ
เชื่อมโยงในองค์ความรู้
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย การเขียนคำอวยพร
กอท. งานประดิษฐ์
สาระภาษาต่างประเทศ คำอวยพรภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และภาษาต่าง ๆ
เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
- จัดกิจกรรมค่ายศิลปะ และนำนิทานเรื่องเล่ามาประกอบการพับกระดาษ
- จัดกิจกรรมการประกวดจัดการพับกระดาษและ นำเสนอผลงานนักเรียน
- ให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์การพับรูปแบบต่าง ๆ ตามจินตนาการ
- ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ และความรู้เกี่ยวกับสัตว์ ต่าง ๆ
ข้อคำถามสานต่อความคิด
- อุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบ้าง
- กระบวนการเตรียมตัวก่อนจัดทำเป็นอย่างไร
- อธิบายขั้นตอนวิธีการทำ
- ประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมศิลปะ
- วิธีการใดที่จะสามารถส่งความสุข ความประทับใจแก่ผู้อื่นอีกบ้าง
อ้างอิงที่มา
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 17 มิถุนายน 2552
https://kengkadeng.exteen.com
https://thai.cri.cn
https://kengkadeng.exteen.com
https://img75.imageshack.us
https://4.bp.blogspot.com
https://www.origami-club.com
https://www.igetweb.com
https://www.oknation.net
https://sukumal.brinkster.net
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=728