อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดี เจริญก้าวหน้า
เทียนพรรษา...ศิลปะแห่งปัญญา(2)
ที่มาภาพ www.ecurriculum.ac.th
"ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม บุญล้ำเทียนพรรษา ประชาพอเพียง" เป็นงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2552 เนื่องจากอุบลราชธานีเป็น "อู่อารยวัฒนธรรม อุดมอริยทรัพย์ อริยสงฆ์ รุ่งโรจน์ศาสตร์ เรืองรองศิลป์ ถิ่นไทยดี" ฮุ่งเฮืองเมืองธรรม จึงเป็นความรุ่งเรือง สว่างไสว อุดมสมบูรณ์ในธรรมที่สำคัญยิ่ง 3 ประการ คือ พุทธธรรม อารยธรรม และธรรมชาติ ประกอบกับการทำบุญเข้าพรรษาที่อุบลราชธานี มีชื่อเสียงมานานนับร้อยปี จึงเป็นที่รวมทำบุญเข้าพรรษาของประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลก เดินทางมาร่วมทำบุญเดือนแปดที่เมืองอุบลฯ เป็นการบำเพ็ญกุศล ได้รับ "บุญล้ำเทียนพรรษา" โดยทั่วหน้ากัน และเน้นคำขวัญ ประชาพอเพียง ประชาชนพลเมือง จะมีความพอเพียงได้ ก็ด้วยคุณธรรมความพอเพียง ตามปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำชีวิตให้อยู่ดีมีสุข ไม่มีความฟุ้งเฟ้อ ทะเยอทะยาน ยินดีในสิ่งที่ได้ พอใจในสิ่งที่มี จึงเป็นที่มาของชื่องาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี ปี 2552 ที่มา : ไกด์อุบล.com
ก่อนถึงวันเข้าพรรษา 1 วัน จะจัดให้มีการฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพ นิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์
พอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษา จึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายตามวัด อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์
เหมาะสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ( ม.4 - ม.6 )
สาระทัศนศิลป์ มาตรฐาน ศ 1.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
เทียนพรรษา คือ เทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525) การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียน นำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็ก ๆ หลาย ๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
( ที่มาภาพ www.oknation.net )
ต้นเทียน
ต้นเทียนมี 2 ประเภท คือ ต้นเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์
ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์
ขั้นตอนในการทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์
1. วัตถุดิบคือ เศษเทียน และรังผึ้งที่ร้างไม่มีตัวผึ้ง เมื่อได้รังผึ้งมาแล้วก็จะนำมาตัดเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปนึ่งบนหวดนึ่งข้าวเหนียว ประมาณ 10 นาที
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
2. นำขี้ผึ้งที่นึ่งแล้ว เทบนถาดน้ำเย็น ขึ้ผึ้งก็จะเริ่มแข็งตัว จากนั้นนำขี้ผึ้งที่ได้ไปแช่ในน้ำอุ่น เพื่อให้เทียนอ่อนตัว ก่อนที่จะนำไปพิมพ์ลาย
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
อุปกรณ์ในการพิมพ์ลาย - แท่นพิมพ์ ซึ่งทำจากหินที่แกะสลักลวดลายลงไป
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
3. นำขี้ผึ้งมาปั้นเป็นก้อน วางบนแท่นพิมพ์ แล้วใช้ขวดแก้วกดลงไป
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
ลวดลายที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายแบบไทยๆ ซึ่งแต่ละลายก็มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ลายเทพพนม ลายเกลียวกนก
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
4. นำขี้ผึ้งที่ได้จากการกดลาย ไปตัดลาย
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
5. นำลวดลายที่ได้จากการตัดลาย มาติดบนแบบ และตกแต่งให้สวยงาม ตามต้องการ
( ที่มาภาพ www.siamwoodcarving.com )
สานต่อก่อปัญญา
1. ต้นเทียนเป็นงานทัศนศิลป์ประเภทใด
2. ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ จัดเป็นภาพพิมพ์ประเภทใด
3. เยาวชนไทยมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปะได้เช่นไร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไรบ้าง
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
แหล่งที่มาของข้อมูล
www.siamwoodcarving.com
ไกด์อุบล.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1119