นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"


592 ผู้ชม


ยังมาแรงก่อกวนทั่วประเทศกับโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ 2009   

        นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"
ทีมาของภาพ    

        นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"ล่าสุด มีข่าวว่ารัฐบาลได้มีการขอความร่วมมือ ให้โรงเรียนกวดวิชาและร้านเกมปิดทำการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคแล้ว.. (อ่านเพิ่มเติม)

นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"


ประเด็นจากข่าว  การเรียนไม่ได้เรียนอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้นสมัยนี้ยังมีแหล่งเรียนรู้ทาง อินเตอร์เน็ต ที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนที่แพร่ระบาดไปไม่น้อยกว่า เจ้าไข้หวัดใหญ่2009 หรอกครับผม ในช่วงที่นักเรียนหยุดเรียนกวดวิชา ก็ยังสามารถเรียนเพิ่มเกี่ยวกับเรื่อง ยุคสมัยของดนตรีสากล ได้

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ รหัสวิชา  ศ 33106 วิชา ดนตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 
     
มาตรฐานการเรียนรู้
ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่า
           ดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน
ศ 2.2  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
ตัวชี้วัด     ศ 2.1 ม.6/1 รู้และเข้าใจดนตรีดนตรียุคสมัยโรแมนติก
ตัวชี้วัด     ศ 2.1 ม.6/2 รู้และเข้าใจดนตรียุคสมัยอิมเพรสชันนิสติกส์
ตัวชี้วัด     ศ 2.1 ม.6/3 รู้และเข้าใจดนตรียุคสมัยคริสต์วรรษที่ 20 – ปัจจุบันได้

เนื้อหา
  นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"

ประวัติความเป็นมาของดนตรียุคโรแมนติก (อ่านเพิ่มเติม)

นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"

              ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity) นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้ คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง 
ลักษณะทั่วๆไปของการดนตรีในสมัยโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2535:111)
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป 
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน 
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism) 
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism) 
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง 

ประวัติความเป็นมาของดนตรียุคอิมเพรสชันนิสติกส์(อ่านเพิ่มเติม)

           ในตอนปลายของศตวรรษที่ 19 จนถึงตอนต้นของศตวรรษที่ 20 (1890-1910) ซึ่งอยู่ในช่วงของสมัยโรแมนติก ได้มีดนตรีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเดอบุสชีผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกก่อให้เกิดความประทับใจ และแตกต่างจากดนตรีโรแมนติกซึ่งก่อให้เกิดความสะเทือนอารมณ์ลักษณะทั่ว ๆไปของดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกนั้นเต็มไปด้วยจินตนาการที่เฟื่องฝัน อารมณ์ที่ล่องลอยอย่างสงบ และความนิ่มนวลละมุนละไมในลีลา ผู้ฟังจะรู้สึกเสมือนว่าได้สัมผัสกับบรรยากาศตอนรุ่งสางในกลุ่มหมอกที่มีแสงแดดอ่อน ๆ สลัว ๆ ถ้าจะกล่าวถึงในด้านเทคนิค ดนตรีอิมเพรสชั่นนิสติกได้เปลี่ยนแปลงบันไดเสียงเสียใหม่แทนที่จะเป็นแบบเดียโทนิค (Diatonic) ซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไปกลับเป็นบันไดเสียงที่มี 6 เสียง (ซึ่งระยะห่างหนึ่งเสียงเต็มตลอด) เรียกว่า “โฮลโทนสเกล” (Whole – tone Scale)นอกจากนี้คอร์ดทุกคอร์ดยังเคลื่อนไปเป็นคู่ขนานที่เรียกว่า “Gliding Chords” และส่วนใหญ่ของบทเพลงจะใช้ลีลาที่เรียบ ๆและนุ่มนวล เนื่องจากลักษณะของบันไดเสียงแบบเสียงเต็มนี้เองบางครั้งทำให้เพลงในสมัยนี้มีลักษณะลึกลับไม่กระจ่างชัดลักษณะของความรู้สึกที่ได้ จากเพลงประเภทนี้จะเป็นลักษณะของความรู้สึก “คล้าย ๆ ว่าจะเป็น…” หรือคล้าย ๆ ว่าจะเหมือน…” มากกว่าจะเป็นความรู้สึกที่แน่ชัดลงไปว่าเป็นอะไร (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :174)

นายแน่มาก"ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009"

ประวัติความเป็นมาของดนตรียุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 -ปัจจุบัน(อ่านเพิ่มเติม)

            หลังจากดนตรีสมัยโรแมนติกผ่านไป ความเจริญในด้านต่าง ๆ ก็มีความสำคัญและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมา ความเจริญทางด้านการค้าความเจริทางด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การขนส่ง การสื่อสาร ดาวเทียม หรือ แม้กระทั่งทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้แนวความคิดทัศนคติของมนุษย์เราเปลี่ยนแปลงไปและแตกต่างจากแนวคิดของคนในสมัยก่อน ๆ จึงส่งผลให้ดนตรีมีการพัฒนาเกิดขึ้นหลายรูปแบบ คีตกวีทั้งหลายต่างก็ได้พยายามคิดวิธีการแต่งเพลงการสร้างเสียงใหม่ ๆ รวมถึงรูปแบบการบรรเลงดนตรี เป็นต้น ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูปแบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับดนตรีอีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภทธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง

ประเด็นคำถาม
1. บอกที่มาและบุคคลสำคัญ บทเพลง และคีตกวีในยุคสมัยของดนตรีตะวันตก

กิจกรรมเสนอแนะ
     ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก และออกมารายงานหน้าชั้นเรียน

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล /ภาพประกอบ

https://student.nu.ac.th/pick_ed/LESSON9.htm
https://student.nu.ac.th/pick_ed/LESSON8.htm
https://student.nu.ac.th/pick_ed/LESSON7.htm
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1195

อัพเดทล่าสุด