การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น


802 ผู้ชม


ลักษณะโน้ต เสียงสูง เสียงต่ำในบรรทัดห้าเส้น   

การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น

เมื่อความสั่นสะเทือนของอากาศกวัดแกว่งซ้อนทับกันไปมา สิ่งมหัศจรรย์ที่อยู่เหนือขึ้นไปกว่าสูตรคำนวณในวิชาฟิสิกส์ก็บังเกิดขึ้นเสียงดนตรี เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่สามารถแปรเปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ได้ และเพื่อขับกล่อมโลกใบนี้ให้สวยงามดนตรีคือเสียง แต่เสียงทุกเสียงยังไม่ใช่ดนตรี เสียงนั้นเกิดจากความสั่นสะเทือนของวัตถุ แล้วเดินทางผ่านอากาศเข้ามาสู่โสตประสาทของเรา ดนตรีคือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น 
เมื่อมนุษย์มีภูมิปัญญาและมีความเพียรพยายาม มนุษย์ก็จัดการสร้างเสียงให้อยู่ในระเบียบ จังหวะ ทำนอง สีสัน 
มนุษย์รู้จักเสียงดนตรีมาตั้งแต่โบราณ มีการค้นพบขลุ่ยที่ทำจากกระดูกหงส์เจาะรูไว้ 3 รูในถ้ำของมนุษย์ยุคหิน คาดว่ามีอายุ 35,000 ปี ชาวอียิปต์เองก็เรียกดนตรีว่าเป็นยาแห่งวิญญาณ
 ในสมัยกรีกเมื่อ 2,000 ปีก่อน ก็มีการใช้ดนตรีรักษาโรคในรูปของเวทย์มนต์คาถา ซึ่งเชื่อว่าเสียงดนตรีสามารถขับไล่วิญญาณชั่วร้ายที่อยู่ในร่างกายมนุษย์อันก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ดนตรีของแต่ละชนชาติจะแตกต่างกันด้วยกรอบวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ

ถ้าเปรียบดนตรีกับศิลปะอื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตกรรม ดนตรีอาจเป็นศิลปะที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ แต่สามารถสัมผัสได้โดยผ่านโสตประสาท ดนตรีจึงเป็นศิลปะที่ละเอียดอ่อนสามารถเข้าถึงจิตใจมนุษย์ได้ โดยไม่ต้องผ่านการแปลนักวิทยาศาสตร์หลายคนมีความเชื่อว่าในสมองของมนุษย์นั้นมีการวางรากฐานดนตรีไว้ก่อนแล้ว จิตแพทย์หญิงชาวแคนาดา Sandra Drehub ได้ทำการทดลองนำเด็กทารกที่ยังไม่รู้ภาษา เข้าไปอยู่ในห้องที่มีของเล่นหลากหลายชนิด ในขณะที่เด็กกำลังเพลิดเพลินกับของเล่น
 
ก็จะเปิดเพลงเด็กในทำนองเดียวให้เด็กฟังไปด้วย จากนั้นจึงแอบใส่ทำนองเพลงที่มีเสียงเพี้ยนเข้าไปเป็นระยะๆ โดยทิ้งช่วงห่างบ้าง ถี่บ้าง ปรากฎว่าเด็กทารกจะชะงัก และหันไปทางลำโพงทุกครั้งที่ได้ยินเสียงทำนองแปลกปลอม ไม่เข้าจังหวะกับเพลงเดิม
อัลเฟรด โทมาติส นายแพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับสมญาว่า ไอน์สไตน์ด้านเสียง ซึ่งใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับเสียงเชิงการบำบัดมากว่า 50 ปี และมีสถาบันโทมาติสที่รับบำบัดโรคโดยใช้ดนตรีกว่า 200 แห่งทั่วโลก เป็นผู้ประกาศว่า ตัวอ่อนในครรภ์มารดามีความสามารถในการได้ยิน
 และเมื่อได้ยินเสียงมารดา ทารกจะพยายามโน้มตัวทางต้นเสียง โดยอวัยวะส่วนหูจะเริ่มพัฒนาเมื่อตัวอ่อนอายุ 10 สัปดาห์ เมื่ออายุ 4 เดือนครึง ก็จะเริ่มใช้การได้ ซึ่งเขาเป็นบุคคลแรกๆ ที่ริเริ่มแนวคิดให้มารดาสื่อสารกับทารกในครรภ์ด้วยวิธีเล่านิทาน ร้องเพลง พูดคุยเรื่องดีๆ
 รวมทั้งเปิดเพลงเพราะๆ ต่อมาแนวคิดนี้ได้กระจายออกไปทั่วโลก

ประเด็นจากข่าว   เสียงดนตรีคือสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สามารถบ่งบอกอารมณ์ได้เป็นอย่างดีและการเขียนโน้ตก็เป็นสิ่งสำคัญ

สาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้น ม.1-ม.6 ช่วงชั้นที่ 3-4
สาระที่ ๒   ดนตรี
มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ระดับเสียง (pitch)
 ถ้าเราลองมองดูเปียโนทางด้านเกือบขวาสุดและซ้ายสุด  จะพบว่าโน้ตทางขวา มีเสียงสูง 
และทางซ้ายมีเสียงต่ำ  เสียงสูงต่ำมีควงามแตกต่างกัน เรียกว่า ระดับเสียง (Pitch) หรือบางครั้งอาจจะเรียกว่า เสียง (Tone)

การเขียนโน้ต
 
ระดับเสียงจะเขียนลงในบรรทัดห้าเส้น (staff)

การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น

ตัวโน้ตที่มีระดับเสียงสูงจะอยู่สูงกว่าตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า ทิศทางของระดับเสียงจากต่ำมีลักษณะดังนี้

การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น

ทิศทางของระดับเสียงจากสูงไปต่ำมีลักษณะดังนี้

การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น
ตัวโน้ตสามารถเขียนให้คาบเส้นหรือเขียนให้อยู่ในช่องบรรทัดห้าเส้น  ดังนี้


การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น

แบบฝึกหัด
1.เขียนโน้ตต่อไปนี้โดยใช้ตัวกลม
1 เขียนโน้ตในช่องที่ 1 ตัวที่มีระดับเสียงสูง
2เขียนตัวโน้ตคาบเส้นที่ 1 ตัวที่มีระดับเสียงสูง
3เขียนตัวโน้ตคาบเส้นที่ 1 เส้นที่มีระดับเสียงต่ำ
4เขียนตัวโน้ตในช่องที่ 1ตัวทีมีระดับเสียงต่ำ

การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น
2.วงกลมรอบตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า
การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น

3.วงกลมรอบตัวโน้ตในแต่ล่ะกลุ่มที่มีระดับเสียงอยู่ระหว่างระดับเสียงของตัวโน้ตอีก 2 ตัว
การเขียนโน้ตดนตรีในบรรทัดห้าเส้น

การบูรณาการ
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง การสั่นสะเทือนของเสียง
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่อง ค่าของตัวโน้ต

กิจกรรมเสนอแนะ
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายเกี่ยวกับระดับเสียงสูงเสียงต่ำ
คลิ๊กฟังเสียงร้องที่มีระดับเสียงสูง

ที่มาของข้อมูล
https://www.thaitravelhealth.com/blog/เสียงดนตรี/
สนุกกับดนตรีพื้นฐาน - แบบฝึกหัด กระทรวงศึกษาธิการ

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1268

อัพเดทล่าสุด