การแต่งกายของไทย ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน สมัยไหนก็ล้วนแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างชัดเจน เป็นที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง
ปัจจุบันนี้ถือได้ว่าอิทธิพลการแต่งกายของต่างชาติจะมีผลต่อการแต่งกายของคนไทยมากยิ่งขึ้น และในกลุ่มคนบางกลุ่มหรือบางอาชีพมักแต่งกายในรูปแบบที่ไม่เหมาะ ในบางครั้งอาจทำให้มองไปในทางที่ไม่ดี
หลังจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้เข้มงวดกวดขันร้านอาหาร สถานบริการในพื้นที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมถึงตรวจสอบสถานบริการในพื้นที่ที่จัดให้มีหญิงสาวแต่งกายวาบหวิวไม่เหมาะสมมานั่งเชียร์ลูกค้าบริเวณหน้าร้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเป็นที่อุจาดตาต่อผู้พบเห็นนั้น ผู้สื่อข่าว"คม ชัด ลึก" ได้เดินทางไปตรวจสอบความคิดเห็นผู้ประกอบการสถานบันเทิง รวมถึงพนักงานของร้านเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว ส่วนมากเห็นด้วยกับการที่ห้ามไม่ให้แต่งกายวาบหวิว เพราะพนักงานบางคนก็ไม่ชอบที่จะแต่งกายแบบนั้นเหมือนกันแต่ต้องจำใจเพราะเป็นอาชีพ แต่บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับการที่ไม่ให้ไปนั่งหน้าร้านเพราะจะทำให้รายได้ตก (อ่านข่าว)
เรามาดูกันว่าในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นได้มีพัฒนาการของการแต่งกายในรูปแบบใดบ้าง
เหมาะกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ช่วงชั้นที่ 2, 3, 4
เนื้อหา
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 23
ในระหว่าง พ.ศ. 2325-2369 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าปราบดาภิเษก เริ่มรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองอยู่ในลักษณะสงบเรียบร้อย ในช่วงรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 พม่าได้เข้ามาทำสงครามอยู่เนืองนิจ ในปี พ.ศ. 2369 ได้กำเนิดวรีกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม)
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24
ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2394 เริ่มรัชกาลที่ 4 บ้านเมืองอยู่ในลักษณะสงบเรียบร้อย มีการติดต่อทำสัมพันธไมตรีกับชาวตะวันตกมากขึ้น ตลอดจนมีการรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาใช้
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 24
ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2453 เริ่มสมัยรัชกาลที่ 6 ชาวไทยรับอารยะธรรมตะวันตกมากยิ่งขึ้น การแต่งกายของชาวรัตนโกสินทร์ จึงเป็นการผสมผสานระหว่างตะวันตก กับรัตนโกสินทร์ตอนต้น
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 25
ในรัชกาลปัจจุบัน (รัชกาลที่ 9) ปกครองบ้านเมืองระบอบประชาธิปไตย บ้านเมืองอยู่ในลักษณะสงบสุข การแต่งกายในลักษณะที่บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์ประจำชาติ ในชุดไทยจักรพรรดิ์
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
รัชกาลที่ 1-3
หญิงชาวบ้านนิยมนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา ผมยังตัดไว้เชิงสั้นอยู่ หรือไว้ผมปีก (ไว้ผมยาวเฉพาะบนกลางศีรษะ)
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
รัชกาลที่ 1-3
หญิงชาววัง นิยมนุ่งผ้าจีบ ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา ไว้ผมปีกปล่อยจอนที่ข้างหู
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
รัชกาลที่ 4
หญิงนุ่งผ้าลายโจงกระเบน ใส่เสื้อคอปิดแขนยาว ห่มสะไบเฉียง (อบร่ำ) ทับตัวเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ทรงผมนิยมไว้ปีกผม
รูปภาพจาก : https://www.baanjomyut.com
รัชกาลที่ 5
ปลายรัชกาลที่ 5 หญิงไทยเลิกนุ่งผ้าจีบ เปลี่ยนมาโจงกระเบนแทน เสื้อเป็นแบบผรั่งคอตั้งสูง แขนยาวมีลูกไม้ตกแต่งเป็นระบายหลายชั้น สวมถุงเท้า รองเท้าส้นสูง ผมยาวประบ่า
รูปภาพจาก : https://www.banrakthai.com
รัชกาลที่ 6
ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อตัวยาวหลวมๆ ส่วนมากใช้ผ้าลูกไม้ฝรั่ง ปักเป็นลวดลายด้วยลูกปัด และไข่มุก ผมเกล้ามวยแบบฝรั่ง หรือดัดเป็นลอน ดัดผมแบบ ทรงซิงเกิ้ล
รูปภาพจาก : https://ecurriculum.mv.ac.th
รัชกาลที่ 7-8
ผู้หญิงเลิกใช้สะไบแพรปัก นิยมนุ่งผ้าซิ่นแค่เข่า เสื้อทรงกระบอกตัวยาว ตัดแบบตะวันตกไว้ผมบ็อบ ใส่ต่างหูและกำไล สวมสร้อยคอ
รูปภาพจาก: https://entertain.teenee.com
ประเด็นคำถาม
1. นักเรียนเคยแต่งกายชุดใดบ้าง
2. นักเรียนคิดว่าควรจะอนุรักษ์การแต่งกายอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนค้นคว้าการแต่งกายของไทยในรูปแบบอื่นๆ
2. ให้นักเรียนวาดภาพ ระบายสีการแต่งกายที่ชื่นชอบ
การบูรณาการ
- บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์)
- บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ขอบคุณที่มาจาก : https://www.baanjomyut.com/library/thai_dress/index.html
https://guru.sanook.com/encyclopedia/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
https://news.thaiza.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%94_1212_157562_1212_.html
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1371