สดุดีมหาราชา


1,151 ผู้ชม


เรียนรู้เพลงสดุดีมหาราชา ถวายพระพรชัยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   

สดุดีมหาราชา
(ขอบคุณภาพ )

๕ ธันวามหาราช วันของพ่อแห่งแผ่นดิน
-------------------
นวมินทร์ปิ่นนเรศเศวตฉัตร
บริพัตรเทวราชชาติสยาม
นคเรศเขตแคว้นแดนเรืองนาม
ทั่วเขตขามเกริกก้องผองถิ่นไทย
เทิดทูนไว้เศียรเกล้าชาวประชา
๕ ธันวา มหาประชาใส
วันของพ่อแห่งแผ่นดินปิ่นดวงใจ
ประชาไทยขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

สดุดีมหาราชา

ขอบคุณภาพ

             พสกนิกรสวมเสื้อชมพูเฝ้ารอรับเสด็จ "ในหลวง" แน่นศิริราช เผยจะเฝ้ารับเสด็จไปถึงเช้า ขณะที่นายกฯ นำประชาชนครึ่งแสนร่วมร้องเพลงชาติ พร้อมจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล  (ที่มาข่าว)
 
           
               เนื่องในโอกาสวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม นับเป็นบุญล้นเกล้าของพสกนิกรชาวไทยที่จะได้ชื่นชมพระบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จออกมหาสมาคม เพื่อให้ชาวไทยทั่วหล้าได้ถวายพระพรชัยมงคลในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552  ซึ่งพสกนิกรชาวไทยทั่วแผ่นดินร่วมใจกันเป็นหนึ่งเดียว สดุดีมหาราชา พ่อหลวงของแผ่นดิน
       

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล

สาระที่ ๒  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๓.๑  เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

สดุดีมหาราชา
(ที่มาภาพ)

สาระการเรียนรู้ 
   เพลงสดุดีมหาราชา 
          เพลงสดุดีมหาราชา เป็นเพลงที่เกิดจากการประพันธ์ทำนองและคำร้องร่วมกันโดย ชาลี อินทรวิจิตร, สมาน กาญจนะผลิน และสุรัสน์ พุกกะเวส เพื่อประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ลมหนาว" ของ ชรินทร์ นันทนาคร นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา, เพชรา เชาวราษฎร์ และอรัญญา นามวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2509
          ปัจจุบันเพลงนี้มีการขับร้องเพื่อถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทั้งสองพระองค์อยู่เสมอ โดยถือเป็นธรรมเนียมทั่วไปว่าเพลงนี้ต้องขับร้องหลังการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และมีการจุดเทียนชัยถวายพระพร รัฐบาลได้จัดเพลงนี้ให้เป็น 1 ใน 6 เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (ที่มาข้อมูล)

สดุดีมหาราชา
ที่มาภาพ


เพลงสดุดีมหาราชา (ที่มา) 

คำร้อง : นายชาลี อินทรวิจิตร นายสุรัฐ พุกกะเวส
ทำนอง : นายสมาน กาญจนะผลิน

ขอเดชะองค์พระประมุขภูมิพล 
มิ่งขวัญ ปวงชนประชาชาติไทย
มหาราช ขัตติย ภูวไนย 
ดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงประชา
ขอเดชะองค์สมเด็จพระราชินี
คู่บุญ บารมีจักรีเกริกฟ้า
องค์สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว มหาราชา 
ข้าพระพุทธเจ้าขอสดุดี
อ่าองค์พระสยมบรมราชันขวัญหล้า 
เปล่งบุญญาสมสง่าบารมี
ผองข้าพระพุทธเจ้า น้อมเกล้าขออัญชุลี 
สดุดีมหาราชา สดุดีมหาราชินี

--------------------------------------------------------------------------------


                                                         โน้ตเพลงสดุดีมหาราชา 
                                                                          (ที่มา)

สดุดีมหาราชา


ฟังเพลงสดุดีมหาราชา             
                                          
                                       ********************************************


ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  อธิบาย คุณค่า ความสำคัญ และความไพเราะของเพลงสดุดีมหาราชา
         -  อภิปรายความหมายของบทเพลงสดุดีมหาราชาทั้งความหมายโดยตรง และโดยนัย
         -  ปัจจัยที่ทำให้เพลงสดุดีมหาราชา เป็นเพลงที่สำคัญอยู่ในความประทับใจ ซาบซึ้งใจของปวงชนชาวไทย

 

 เชื่อมโยงในองค์ความรู้
         สาระการเรียนรู้ศิลปะ      (ทัศนศิลป์)  วาดภาพ สร้างสรรค์งานจากบทเพลง ตามจินตนาการ  (ดนตรี) ร้อง บรรเลง บทเพลงสดุดีมหาราชา  (นาฏศิลป์) การแสดงถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติในหลวง
          สาระการเรียนรู้ภาษาไทย        ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์จากบทเพลง   คำคล้องจอง  ฉันทลักษณ์ การแต่งคำประพันธ์ คุณค่าความงามของภาษาไทย
         สาระการเรียนรู้สังคมฯ           วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิตความศรัทธาของชาวไทยที่เกี่ยวข้อง กับสถาบันพระมหากษัตริย์
         สาระการเรียนรู้กอท.              โครงการในพระราชดำริ หลักเกษตรทฤษฎีใหม่  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   


เพิ่มเติมเต็มกันและกัน
        - ศึกษาเรียนรู้เพลงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจของในหลวง
        -  จัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ ถวายพระพรเนื่อในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช
        -  ศึกษาเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เช่น นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ   เป็นต้น
 


อ้างอิงข้อมูล 
https://www.norsorpor.com 
https://upload.wikimedia.org 
https://www.kateep.com 
https://www.thaidphoto.com 
https://th.wikipedia.org


อ้างอิงรูปภาพ
https://www.bangkokbiznews.com   
https://www.212cafe.com 
https://3.bp.blogspot.com 
https://www.bangkokpost.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1819

อัพเดทล่าสุด