ความไพเราะงดงามของ เพลงเถาในการบรรเลงดนตรีไทยที่มีลีลาจังหวะการบรรเลงช้า เร็วแตกต่างกันออกไป
ประเทศไทยเรามีศิลลปวัฒนธรรมประจำชาติเป็นของตนเองที่บรรพบุรุษไทยได้สร้าง คิดค้นขึ้นมาเอง โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบ หรือนำเอาวัฒนธรรมของชนชาติอื่นมาดัดแปลงให้มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิต เพลงไทยเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาศิลปวัฒนธรรม เพราะเพลงไทยจะมีแม่แบบที่ต้องยึดเป็นหลัก ดังจะเห็นได้จากการบรรเลงเพลงไทยที่มีหลักอย่างถูกต้องชัดเจน
เพลงไทยได้มีการกำหนดประเภทของเพลงในลักษระต่าง ๆ และเพลงประเภทหนึ่งที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของเพลงไทย ที่มีอัตราจังหวะ ช้าและเร็วอยู่ในเพลงเดียวกัน ที่เรียกว่า "เพลงเถา" ลักษณะเพลงเถาจะเป็นอย่างไร ศึกษาจากสาระการเรียนรู้ได้เลยครับ
สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระที่ ๒ ดนตรี )
มาตรฐาน ศ ๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ ๒.๒ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระการเรียนรู้ เพลงเถา
เพลงเถา คือระเบียบวิธีการบรรเลงและขับร้องเพลงไทยที่มีอัตราลดหลั่นกัน ประกอบด้วยอัตราสามชั้น สองชั้น และ ชั้นเดียว อัตราที่ลดหลั่นกันนี้ จะต้องมีไม่น้อยกว่า 3 ขั้น จึงเรียกได้ว่า เพลงเถา ส่วนอัตราสี่ชั้น และอัตราครึ่งชั้นนั้นในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมบรรเลงกันแล้ว เพราะอัตราสี่ชั้นจะมีท่วงทำนองช้ายืดยาด อัตราครึ่งชั้นก็เร็วเกินไป ทำให้ไม่ได้รับความนิยมดังกล่าว
เพลงอัตราสามชั้น เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลาเชื่องช้าใช้เวลาบรรเลงยาวกว่าอัตราอื่นๆ มี 2 ลักษณะ ดังนี้คือ เพลงอัตราสามชั้น โดยกำเนิด เป็นเพลงที่ครูเพลงได้ประพันธ์ขึ้นโดยตรง เช่นพวกเพลงเสภาต่างๆ ที่กำเนิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงที่ พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ได้คิดประดิษฐ์เพลงไทยในอัตราสามชั้นไว้มากมาย จนถือได้ ว่าท่านเป็น "บิดาแห่งเพลงสามชั้น" ที่เดียวนอกจากนั้น ลักษณะเพลงอัตราสามชั้นอีกประเภทหนึ่งคือ เพลงอัตราสามชั้นที่ถือกำเนิด มาจากเพลงอื่น โดยอาศัยทำนองเพลงดั้งเดิมในอัตราสองชั้น แล้วแต่งขยายขึ้นในภายหลัง
เพลงอัตราสองชั้น เป็นอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลากลางๆ ไม่ช้าไม่เร็วจนเกินไป แยกพิจารณาว่าเป็นเพลงอัตราสองชั้นโดยกำเนิด ซึ่งครูเพลงได้คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่เป็นเพลงอัตราสองชั้นโดยตรงเพื่อใช้ในการบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนและละคร ส่วนเพลงอัตราสองชั้นที่ถือกำเนิดจากเพลงอื่น ก็หมายถึง เพลงที่ครูได้นำเพลงเร็วชั้นเดียวของเก่ามาขยายขึ้นอีกเท่าตัวเป็นเพลงเร็ว สองชั้น เพื่อใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงโขนละคร
เพลงอัตราชั้นเดียว เป็นชื่อเรียกอัตราจังหวะที่ดำเนินลีลาด้วยประโยคสั้นๆ และรวดเร็วในสมัยโบราณ จัดอยู่ในประเภทเพลงเร็ว ต่างๆ รวมทั้งเพลงเกร็ด เพลงหางเครื่องก็นำมารวมไว้ในประเภทชั้นเดียวนี้ด้
(ขอบคุณข้อมูล )
นอกจากนี้ เพลงเถา ยังสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่า คือ เพลงขนาดยาวที่มีเพลง ๓ ชนิดติดต่ออยู่ในเพลงเดียวกัน โดยการบรรเลงเพลงสามชั้นก่อน แล้วเป็นเพลงสองชั้น ลงมาจนถึงเพลงชั้นเดียว เรียกว่า เพลงเถา ตัวอย่าง เพลงเขมรพวงเถา เดิมเป็นเพลงสองชั้น ต่อมา หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้คิดแต่งขึ้นเป็นสามชั้น ดำเนินทำนองเป็นคู่กันกับเพลงเขมรเลียบพระนคร เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๐ แล้วหมื่นประคมเพลงประสาน (ใจ นิตยผลิน) ได้ตัดลงเป็นชั้นเดียว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ และมีทำนองชั้นเดียวโดย นายเหมือน ดุริยะประกิต เป็นผู้แต่ง
เพลงเถา นิยมใช้บรรเลงและขับร้องในรูปของเพลงรับร้อง คือเมื่อร้องจบท่อน ดนตรีก็บรรเลงรับ
ไม่นิยมนำเพลงเถามาร้องให้ดนตรีบรรเลงคลอ หรือบรรเลงลำลองแต่อย่างใด ตัวอย่างเพลงเถา ได้แก่
เนื้อเพลง เขมรพวง เถา
(ขุนช้าง ขุนแผน)
สามชั้น นิจจาพิมเจ้าไม่รู้ว่าพี่รัก ไม่ชังนักดอกหานึกเช่นนั้นไม่
รักเจ้าเท่าเทียบเปรียบดวงใจ กอดประคองน้องไว้ไม่วายวาง
สองชั้น แว่วดุเหว่าเร่าร้องเมื่อจวนรุ่ง ใจสะดุ้งเอ๊ะเกือบจะสางสาง
ขยับเลื่อนลุกเปิดหน้าต่างพลาง เห็นเรื่อยรางสว่างหล้าดาราราย
ชั้นเดียว อับศรีสุริยาจะรีบลด ยิ่งระทดจะจากไปให้ใจหาย
โศกซ้ำน้ำตาลงพร่างพราย เสียดายดังใครล้วงเอาดวงใจ
(ขอบคุณข้อมูล )
ที่มาภาพ
( หมายเหตุ จังหวะจะตกที่ตัวโน้อแถบเหลือง )
***คลิกเพื่อฟังการบรรเลงเพลงเถา ***
เชื่อมโยงในองค์ความรู้
คณิตศาสตร์ คำนวนขนาด รูปทรง รูปร่างทางเรขาคณิต
ภาษาไทย การเขียน การอธิบาย ลักษณะวิธีการบรรเลงเพลงไทย
วิทยาศาสตร์ การกำเนิดเสียง
สังคมศึกษา วัฒนธรรมประเพณีไทย
สุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมเข้าจังหวะประกอบเพลงไทยเดิม
บูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้ บทเพลงไทยสามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมกระตุ้นเร้าความสนใจการเรียนรู้ของผู้เรียน
เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้
- กิจกรรมวาดภาพเครื่องดนตรีไทยประเภทต่าง ๆ
- ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เพลงไทยและการบรรเลง
- ศึกษาและแสวงหาประสบการณ์ตรงทางด้านดนตรีไทยในงานต่าง ๆ
ข้อคำถามสานต่อความคิด
- แสดงความคิดเห็นถึงคำว่า ดนตรีไม่มีเชื้อชาติและพรมแดน
- คิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่า "ภาษาดนตรีเป็นภาษาสากล"
- วิธีการและแนวทางในการอนุรักษ์สืบสานดนตรีไทย
อ้างอิงข้มูล
https://www.phattayakulschool.com
https://www.banramthai.com
https://www.phrapiyaroj.com
อ้างอิงรูปภาพ
https://www.phattayakulschool.com
https://www.patakorn.com
https://www.phattayakulschool.com
https://board.palungjit.com
https://topicstock.pantip.com
https://www.vcharkarn.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1944