สะล้อ ซอ ซึง เป็นการเล่นดนตรีพื้นเมืองประกอบการขับร้องเพลงซอเพื่อความสนุกสนานของหนุ่มสาวในสมัยเก่าก่อนมา
ประเด็นข่าว
ครูแอ๊ด ภานุทัต อภิชนาธง... ครูภูมิปัญญาผู้มีอุดมการณ์ สอนดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอ โดยไม่คิดตังค์ที่วัดสวนดอก
การแสดงดนตรีพื้นเมืองหรือการเล่นพื้นเมือง เป็นการแสดงที่คนพื้นเมืองภาคเหนือกำลังให้ความสนใจ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน
เนื้อหา
- สะล้อ
ที่มาภาพ Untitled-2.jpg จากผู้เขียน
- ซอ
- ซึง
ที่มาภาพ DSCF0007.JPG จากผู้เขียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดนตรี ช่วงชั้นที่ ๒ ระดับชัน ป.๕ มาตรฐานที่ ๑
- ประวัติของดนตรีพื้นเมือง ดนตรีพื้นเมืองมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล มีการเล่นเพื่อแสดงความสามารถของชายหนุ่มที่ออกมาเกี้ยวสาว ตอนกลางคืน
- นักดนตรีพื้นเมืองจังหวัดน่าน พ่อคำผาย นุปิง
- สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากกะลามะพร้าว มีสาย ๒ สาย ทำด้วยลวดหรือสายกีต้าร์ มีหลายขาดไม่มีมาตรฐาน แต่พอจะแยกได้คือ สะล้อใหญ่ สะล้อกลาง และสะล้อเล็ก บรรเลงโดยการสีด้วยคันชัก
- ซอ หมายถึง การขับร้องเพลงซอ ซึ่งใช้ขับร้องเพื่อประกอบการเล่นสะล้อและซึง
- ซึง เป็นเครื่องเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ ที่บรรเลงโดยการดีด เล่นพร้อมกับสะล้อและการขับเพลงซอ เวลาเล่นสะล้อและซึง แล้วมีการขับร้องเพลงซอ จึงเรียกว่า การเล่น สะล้อ ซอ ซึง
ซึง มีหลายขนาดเช่นเดียวกับสะล้อ คือ ซึงใหญ่ ซึงกลาง และซึงเล็ก ส่วนรูปแบบและขนาดของซึงจะมีแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ผลิด เช่นการใส่ลวดลายต่าง ๆ ลงไป
ชวนกันตอบปัญหา
๑. การเล่นสะล้อ ซอ ซึง หมายความว่าอย่างไร
๒ สะส้อมีสายกี่สาย
๓. ซึงมีสายกี่สาย
๔.สายสะล้อ และซึงทำจากวัสดุใด
๕. การเล่นสะล้อ ซอ ซึง เป็นการเล่นของภาคใด
กิจกรรมเสนอแนะ
- นักเรียนฝึกปฏิบัติจากเครื่องดนตรีของจริง
- นักเรียนเขียนชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่นักเรียนรู้จัก
- นักเรียนหาชื่อครูภูมิปัญญาท้องถิ่นและฝึกเล่นดนตรีกับครูปัญญาท้องถิ่น
- นักเรียนฝึกร้องเพลงซอ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ
- สังคมศึกษาฯ : ท้องถิ่นของเรา
- ทัศนศิลป์ : การวาดภาพระบายสี
- ภาษาไทย : เขียนชื่อเครื่องดนตรี
- คณิตศาตร์ : จำนวน
- การงานและเทคโนโลยี: การประดิษฐ์สะล้อ ซึง
แหล่งที่มา - https://www.ketalanna.com/suandok/activity.html
- ผู้เขียน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2184