อะไรๆ ก็ชุมนุม เราก็เลยชุมนุม


580 ผู้ชม


ระบำชุมนุมเผ่าไทย เป็นการแสดงถึงการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมแต่ละชนเผ่าที่อาศัยอยู่ร่วมกัน   

อะไรๆ ก็ชุมนุม เราก็เลยชุมนุม

           สถานการณ์บ้านเมือง เราจะเห็นว่ามีกลุ่มคนหลายกลุ่ม ออกมาเรียกร้องเรื่องประชาธิปไตยกันอย่างกว้างขวาง มีทั้งกลุ่มคนเสื้อเหลือง กลุ่มคนเสื้อแดง และล่าสุดกลุ่มเสื้อหลากสี ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 24 เมษายน 2553 นำมาเขียน ว่าเสื้อหลากสี เร่งแก้ปัญหาบ้านเมือง  เตรียมนัดชุมนุมใหญ่ 30 เม.ย.นี้ จนคำว่า ชุมนุม กลายเป็นส่วนหนึ่งของคนในปัจจุบัน และเป็นที่คุ้นหูสำหรับใครหลายๆคนไปแล้ว

          จากประเด็นข่าวข้างต้น  พบว่า คำว่า ชุมนุม หมายถึง การที่ผู้คนมีความคิดเห็นเหมือนกันแสดงออกในความต้องการใกล้เคียงกัน มารวมตัวกันเพื่อเรียกร้องในสิ่งที่ต้องการ แต่สำหรับทางด้าน นาฏศิลป์ไทย คำว่าชุมนุม เป็นส่วนประกอบของชื่อชุดการ การแสดงชุดระบำชุมนุมเผ่าไทย ที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้


          คำว่าชุมนุม ตามความหมาย พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กอง, หมู่, พวก. ประชุม, รวมกัน

              เนื้อหา สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ นาฏศิลป์ ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6
        มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางด้านนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์   วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
        มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
 
         ระบำ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การฟ้อนรำเป็นชุด หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การฟ้อนรำมุ่งหมายเพียงเพื่อความงดงามของศิลปะการรำ และการรื่นเริงบันเทิงใจไม่แสดงเป็นเรื่องราว ประกอบด้วยผู้แสดงจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม ความพร้อมเพรียง การแปรแถวในขณะแสดง ประกอบกับการแต่งกายที่สวยงาม และเพลงดนตรีที่ไพเราะน่าฟัง

 
        ระบำชุมนุมเผ่าไทย เป็นระบำประกอบการแสดง ละครประวัติศาสตร์ เรื่องอานุภาพแห่งความเสียสละเป็นบทประพันธ์ของ ฯพณฯ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ  ลักษณะของการแสดง ผู้แสดง จะออกมารำทีละเผ่า   ตามเนื้อร้องของเพลง

  นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้แต่งทำนองเพลง


  นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ไทย เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ

                                                           เนื้อเพลง  ระบำชุมนุมเผ่าไทย
                                                                                                       คำร้อง: พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
                              นี้พี่น้องของเราไทยลานนา           อยู่ด้วยกันนานมาแต่ก่อนเก่า
                    ได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างไทยเรา                เป็นพงศ์เผ่าญาติสนิทและมิตรแท้
                    นี่ไทยใหญ่อยู่ใกล้ทางทิศเหนือ               เป็นชาติเชื้อพี่ชายของไทยแน่
                    ยังรักษาความเป็นไทยไม่ผันแปร            ขยายแผ่สาขาตระกูลไทย
                   นี่คือไทยลานช้างอยู่ข้างเคียง                 เคยร่วมเรียงอยู่เป็นสุขทุกสมัย
                   แม่น้ำโขงกั้นเขตประเทศไว้                     แต่ไม่กั้นดวงใจที่รักกัน
                   นี่พี่น้องชาวสิบสองจุไทย                        เป็นพี่ใหญ่แน่แท้ไม่แปรผัน 
                   ต้นเชื้อสายไทยน้อยแหล่งสำคัญ             ครั้งสมัยดึกดำบรรพ์พ่อขุนบรม
                   นี่พี่น้องพวกสุดท้ายที่เข้ามา                    ก็เป็นไทยมีชื่อว่าไทยอาหม
                   ล้วนเลือดเนื้อเชื้อไทยใฝ่นิยม                  ให้อาณาประชาคมไทยสมบูรณ์

อะไรๆ ก็ชุมนุม เราก็เลยชุมนุม
       ที่มาภาพ   

                   ชุดการแต่งกายของผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบชุดชนชาติไทยเผ่าต่างๆ คือ ไทยล้านนา ไทยใหญ่ ไทยล้านช้าง สิบสองจุไทย และไทยอาหม 

           ประเด็นคำถามที่น่าสนใจ
 
 1.คำจำกัดความคำว่าชุมนุมในความหมายของนักเรียนคือ อะไร
 2.เนื้อเพลงระบำชุมนุมเผ่าไทยให้ข้อคิดกับนักเรียนเรื่องใดบ้าง
 3.ชนชาติไทยที่กล่าวถึงในระบำชุมนุมเผ่าไทยปัจจุบันยังคงมีอยู่หรือไม่

           เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

 1.ควรนักเรียนฝึกหัดวิเคราะห์ความหมายของเนื้อเพลงโดยระเอียดจะได้ทราบความหมายของเพลงมากขึ้น
 2.ให้นักเรียนเรียนรู้และศึกษาสภาพบริบทของแต่ละชนเผ่า

           การบูรณาการกับกลุ่มมาระการเรียนรู้

          วิชา ภาษาไทย 
           มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

          วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
          มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมในสังคมไทย และสังคมโลก อย่างสันติสุข
   
            แหล่งที่มาข้อมูล

  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 24 เมษายน 2553

            แหล่งที่มาภาพ

  https://gotoknow.org
  

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2186

อัพเดทล่าสุด