เพื่อชีวิต.หรือ..เพื่อใคร


722 ผู้ชม


ประวัติของเพลงเพื่อชีวิตที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อใคร   

เพื่อชีวิต...หรือ.....เพื่อใคร

เพื่อชีวิต.หรือ..เพื่อใคร

ขอบคุณภาพ

          จากการแสดงคอนเสิร์ต  "อยู่อย่าง...สิงห์ ไลฟ์ อิน ธันเดอร์ โดม บาย พงษ์สิทธิ์ คำภีร์” ที่เพิ่งแสดงผ่านไปเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ถือเป็นการแสดงเต็มรูปแบบครั้งแรกในเมืองหลวง  ประกอบด้วยศิลปิน ปู-พงษ์สิทธิ์  เล็ก คาราบาว มือกีตาร์คนดัง โอม-ชาตรี น้อง ๆ จากมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม กว่า 30 ชีวิต หงา คาราวาน  ปั่น-ไพบูลย์เกียรติ  ชุมพล เอกสมญา ลูกชาย พล.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา (จ่าเพียร)  3 พี่น้อง สินเจริญ บราเธอร์  และเติมสีสันกับหญิงเดียวของเวที จ๋า-ณัฐฐาวีรนุช ถือว่าคอนเสิร์ตครั้งนี้สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมทุกท่าน ที่มาข่าว  นสพ.คอม 

เพื่อชีวิต.หรือ..เพื่อใคร

ขอบคุณภาพ

            พงษ์สิทธิ์  คำภีร์  นับได้ว่าเป็นศิลปินเพื่อชีวิตรุ่นที่  3  ที่สร้างสรรค์ผลงานเพลงอย่างต่อเนื่อง  อยากทราบหรือเปล่าว่าตำนานเพลงเพื่อชีวิตมีความเป็นมาอย่างไร
          

สาระที่ 2 ดนตรี
มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่า
ของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

          เพลงเพื่อชีวิต (Songs for Life) คือ ประวัติศาสตร์ในทุกช่วงของเวลาที่ต่างกัน ความหมายของบทเพลงเพื่อชีวิตก็แตกต่างกัน แต่ยังคงไว้ด้วยแกนแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งเนื้อหาที่สุดขั้ว เรียบง่าย ฟังสบาย ให้กำลังใจ เดิมทีเพลงเพื่อชีวิต  ถูกเรียกว่า " เพลงชีวิต " จากนั้นถูกบัญญัติชื่อใหม่ว่า " เพลงเพื่อชีวิต " ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2480 จุดเริ่มต้นของแนวเพลงชีวิตยุคบุกเบิกได้ถือกำเนิดขึ้น รวมทั้งเพลงเสียดสี ยั่วล้อสังคม นับได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ศิลปินมีบทบาทสะท้อนความทุกข์ยากของผู้คน รวมถึงการโกงกินของผู้แทนและนักการเมือง ออกมาในบทเพลงของพวกเขา โดยมีสภาพที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนในช่วงระหว่างสงครามและหลังสงคราม  ผู้บุกเบิกแนวเพลงเพื่อชีวิตเป็นคนแรกคือ อาจารย์แสงนภา บุญราศรี เป็นผู้ร้องเพลงที่สะท้อนภาพปัญหาของชีวิต และปัญหาของสังคมอยู่ในยุคแรกๆนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความทุกข์ยากของคนปาดตาลในเพลงที่มีชื่อว่า “คนปาดตาล”  และอีกหลายๆบทเพลง 

            จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงทศวรรษ 2500 เป็นช่วงที่เพลงชีวิตซบเซาถึงขีดสุด แต่ได้เกิดเพลงชีวิตอีกแนวหนึ่งโดยนักเขียนนาม “จิตร ภูมิศักดิ์” ขึ้นภายในกำแพงคุก ในช่วงที่ถูกจองจำเป็นนักโทษการเมือง และพัฒนาเป็นต้นแบบของ “เพลงเพื่อชีวิต” ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 โดยนิสิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัยท่ามกลางความมืดมิดในยุคเผด็จการครองเมืองก่อน 14 ตุลา 2516 ณ ห้วงเวลานั้น จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทความที่เสนอแนวคิดเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน” ขึ้นมา และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดแนวเพลงใหม่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา นั่นก็คือ “เพลงเพื่อชีวิต” กล่าวได้ว่าเพลงเพื่อชีวิตคือ เพชรเม็ดงามทางด้านวัฒนธรรม อันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 

สานต่อก่อปัญญา
    1. ผู้บุกเบิกแนวเพลงเพื่อชีวิตคนแรกคือใคร และบทเพลงแรกชื่อว่าอะไร
    2. บทเพลงเพื่อชีวิตเพลงแรกชื่อว่าเพลงอะไร  กล่าวถึงเรื่องใดเป็นสำคัญ
    3. แสดงความคิดเห็นของท่านเกี่ยวกับ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน  
    4. บุคคลที่เป็นต้นแบบของเพลงเพื่อชีวิตในปัจจุบันคือใคร

กิจกรรมเสนอแนะ
    ชมการแสดงคอนเสิร์ตหรือวิดิทัศน์บทเพลงเพื่อชีวิตของศิลปินท่านอื่น

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
     
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ
     

       
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2218

อัพเดทล่าสุด