ภาคต่อ_ บันไดสู่การเป็นเดอะสตาร์ : The Star


764 ผู้ชม


เทคนิควิธีการในการฝึกพัฒนาการใช้เสียงในการร้องเพลงให้ไพเราะและประทับใจ   
ร้องเพลงให้ไพเราะ...เหมาะสมกับ เดอะสตาร์ : The Star
                                                       ภาคต่อ_ บันไดสู่การเป็นเดอะสตาร์ : The Star
                                                                                 ที่มาภาพ
           เข้มข้นทุกวินาทีกับการแข่งขันการร้องเพลง จากความนิยมของคนทั่วประเทศในการชิงตำแหน่งเดอะสตาร์ คนที่  6 ของเมืองไทย กับสองคนสุดท้าย คือ กัน หมายเลย 3 และ ริท หมายเลข 8 ที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งด้านการร้อง และบุคลิกภาพ ซึ่งแต่ละคนก็มีทีเด็ดเพื่อเรียกคะแนนจากผู้ชมที่ไม่แพ้กัน (ขอบคุณที่มา )
    
        ทุกคนสามารถร้องเพลงได้ แต่ในการร้องเพลงให้ไพเราะ ประทับใจผู้ฟังนั้น ไม่จำเป็นที่เราจะต้องเป็นมืออาชีพแต่เราควรมีการฝึกฝนด้วยหลักการที่ถูกต้อง เพื่อความมั่นใจในการร้องเพลงส่งความสุขให้แก่ตนเองและผู้อื่น 
 ### เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้  ศิลปะ     ระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น ###

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๑.๑  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๑.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ ๒  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
สาระที่ ๓  นาฏศิลป์
          มาตรฐาน ศ ๓.๑  เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๓.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

+++++++++++++++++++++++++++++++


            หลังจากที่ได้นำเสนอหลักแนวทางในการฝึกร้องเพลงไปบ้างแล้ว ในตอนนี้มีหลักการร้องเพลงเพื่อให้การเปล่งเสียงให้ไพเราะมีคุณภาพ
 เทคนิคการขับร้องเพลงสู่มาตรฐานมืออาชีพ 

                        ภาคต่อ_ บันไดสู่การเป็นเดอะสตาร์ : The Star
       
    การพัฒนาคุณภาพของเสียง
         -  ในการพัฒนาคุณภาพของเสียง ความสมบูรณ์ของอวัยวะในการใช้เสียงเป็นสิ่งสำคัญ จะขึ้นอยู่กับหลอดเสียง 
กล่องเสียง ลำคอ กระพุ้งปาก ลิ้นและศรีษะ เมื่อสูดอากาศออก อากาศจะผ่านหลอดเสียงทำให้หลอดเสียงสั่นเกิดเป็นเสียงขึ้นมา และเสียงก็จะผ่านลำคอและปาก  ดังนั้น ทั้งในปากและในศีรษะจะทำหน้าที่เป็นช่องขยายเสียงในขณะที่ร้องเพลงจะรู้สึกเสียงพุ่งไปข้างหน้า และมี “จุด” ที่เสียงรวมกันอยู่ที่หนึ่งที่ใดบนใบหน้า พยายามให้ “จุด” นี้ อยู่ที่แถวฟันเหนือปลายลิ้น ไม่ควรให้ “จุด” นี้อยู่ในลำคอหรือโคนลิ้น เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแถวนั้นเกร็งและเสียงที่ออกมาจะไม่น่าฟัง การร้องเพลงควรคิดถึงบรรยากาศที่สวยงามเบิกบานใจ อย่าเกร็งคอหรือหน้า อย่าเกร็งลิ้นหรือกระดกลิ้นขึ้นเพราะจะไปบังลำคอ ทำให้เสียงที่ออกมาเกร็ง ฟังไม่ชัดและไม่ไพเราะ คือเสียงไม่มีคุณภาพนั่นเอง
    การพัฒนาการออกเสียงให้ถูกต้อง
     -  การออกเสียงของสระและพยัญชนะ ในการร้องเพลงผู้ร้องต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสอง คือการออกเสียงสระและพยัญชนะ 
ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดจะร้องเพลงไม่ได้ดีถึงแม้จะมีเสียงไพเราะก็ตาม


    หลักการร้องสระ แบ่งออกเป็น 4 ข้อ คือ
        1. ออกเสียงสระให้ตรงตัว อย่าทำเสียงอื่นปนหรืออย่าออกเสียงผิดๆ
        2. ในการขับร้องหมู่ ผู้ร้องทุกคนควรออกเสียงสระให้เหมือนกัน
        3. สำหรับคำที่มีสระผสม (เช่น คำว่า “เดียว” มีสระ 2 ตัว คือ สระอี และสระอู) ควรร้องสระเอา (ตัวหน้า) 
ตามค่าของตัวโน้ตไม่เน้นสระโอ (ตัวหลัง) จนเกินไป (ในกรณีนี้ไม่เน้นสระอู จะร้องสระอีจนกว่าหมดค่าของโน้ตและสรุปคำด้วยสระอู)
        4. ร้องต่อสระคำหนึ่งไปยังอีกคำหนึ่งให้ต่อเนื่องกัน อย่าร้องขาดเป็นห้วงๆ สำหรับการออกเสียงพยัญชนะ
 ผู้ร้องอาจจะปฏิบัติดังนี้คือ พยายามร้องสระให้ยาวที่สุดและร้องพยัญชนะให้สั้นที่สุดแต่ชัดเจน
    หลักการร้องพยัญชนะ แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ
        1. ถ้าคำใดขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ควรร้องพยัญชนะตรงจังหวะ อย่าร้องช้ากว่าจังหวะ
        2. ควรจะเปล่งเสียงพยัญชนะ เช่น เชอะ ฟัก ก่อนจังหวะของมันเล็กน้อย เมื่อจังหวะของมันมาถึงเสียงที่ร้องจะได้ตรงจังหวะพอดี แล้วร้องสระของคำนั้นทีหลัง (พยัญชนะจะออกเสียงจากไรฟันและช่องข้างลิ้น)
        3. เนื่องจากสระเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการร้องเพลง ควรร้องพยัญชนะแต่ละตัวให้สั้น
        4. เปล่งเสียงพยัญชนะทางส่วนหน้าของปาก เพราะสะดวกในการเปล่งเสียงมากกว่าที่อื่น และเพื่อให้ชัดเจนอย่าออกเสียงพยัญชนะจากโคนลิ้น
        5. ออกเสียงพยัญชนะทุกตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่พยัญชนะเป็นตัวเดียวกันสองตัว เช่น หนักแน่น


      
    หลักการร้องเพลงเสียงต่ำ แบ่งออกเป็น 6 ข้อคือ
        1.  ใช้เลียนแบบเช่นเดียวกับการพูด เสียงจะอยู่ที่ริมฝีปาก พยัญชนะและสระอยู่ที่ริมฝีปากไม่ใช่อยู่ในคอ
        2. เมื่อจะเริ่มร้องเสียงต่ำจะต้องเริ่มคิดเสียงสูงไว้
        3. ยิ่งเสียงลงต่ำช่องในปากจะเล็กลง ถ้าปากกว้างไปเสียงจะไม่มีกำลัง
        4. เวลาร้องเสียงต่ำไม่ควรร้องเสียงดัง
        5. บังคับลมและกำลังไว้ไม่ให้พลังออกมามากพร้อมกับเสียง เพราะจะทำให้เสียงหนักเกินไป
        6. ให้เสียงต่ำมีลักษณะก้องหรือสะท้อนกังวานออกมาคล้ายเสียงฮัม
    หลักการร้องเพลงเสียงสูง แบ่งออกเป็น 5 ข้อคือ
        1. ใช้สมองหรือใช้ความคิดช่วยในการร้องเสียงสูง เช่น จะร้องเสียงซอลสูง ให้สมมุติว่าจะร้องเสียงสูงเท่ากับที่เคยร้องมาก่อน
        2. การร้องเสียงสูงต้องใช้พยัญชนะเร็วและชัด โดยใช้พลังของลมจากพยัญชนะถึงสระ
        3. การร้องเสียงสูงให้ปล่อยเสียงออกมาตามสบายโดยไม่ต้องบังคับ
        4. เมื่อร้องเสียงสูงให้ปล่อยขากรรไกร ปล่อยลิ้นตามสบาย อ้าปากกว้างไม่ต้องเงยหน้าและไม่เกร็ง
        5. ใช้พลังของลมจากกล้ามเนื้อที่หน้าท้อง เอวและสะโพก แต่ใช้กล้ามเนื้อที่คอเปล่งหรือบังคับเสียง
(ขอบคุณที่มาข้อมูล)  
    หลักและวิธีการในการฝึกร้องเพลงให้ไพเราะที่ได้นำเสนอคงเป็นแนวทางให้ผู้ที่มีใจรักและความฝันในการร้องเพลงได้นำไปฝึกฝนตนเองต่อไป 
                                          
                                       ********************************************
ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  ลักษณะท่าทางของนักร้องที่เหมาะสมเป็นอย่างไร
         -  การร้องเพลงมีประโยชน์การเรียนรู้ในสาขาวิชาอื่น ๆ ได้อย่างไร
         -  อวัยวะสำคัญในการฝึกการใช้เสียงคืออะไร 
        
 เชื่อมโยงในองค์ความรู้
         สาระการเรียนรู้ศิลปะ      (ทัศนศิลป์)  วาดภาพ สร้างสรรค์งานจากบทเพลง ตามจินตนาการ  (ดนตรี) ร้อง บรรเลง บทเพลง  (นาฏศิลป์) คิดสร้างสรรค์ท่าทางประกอบเพลง
         สาระการเรียนรู้ภาษาไทย        ศึกษาเรียนรู้คำศัพท์จากบทเพลง   คำคล้องจอง  ฉันทลักษณ์ การแต่งคำประพันธ์ คุณค่าความงามของภาษาไทย  คัดลายมือ
         สาระการเรียนรู้สังคมฯ            วัฒนธรรมประเพณี 
         สาระการเรียนรู้กอท.              การทำงาน  ประกอบอาชีพ
         
กิจกรรมเพิ่มเติมเต็มกันและกัน
        - จัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่การเป็นนักร้องที่ดี
        -  จัดกิจกรรมการประกวดการร้องเพลงหาดาวรุ่งของโรงเรียน
 
อ้างอิงข้อมูล
     https://www.ryt9.com  
     https://www.assumpboard.com       
           

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2223

อัพเดทล่าสุด