ภูไทกาฬสินธุ์..ทำไมปีนภูเขา?


802 ผู้ชม


คนส่วนมากไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ เช่นน้ำตก ทะเล พิพิธภัณฑ์ แล้วชาวภูไทกาฬสินธุ์หล่ะ นอกจากไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์สิรินธรแล้ว..เขาไปไหนกันตามไปดูไหม?   

                                               ภูไทกาฬสินธุ์..ทำไมปีนภูเขา?
                                                        ขอบคุณที่มาภาพ 
         ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้  ประชาชนจำนวนมากไปเทียวที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร  อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเทียวเกี่ยวกับซากฟอสซิลไดโนเสาร์ โดยประชาชนที่กลับบ้านเพื่อฉลองเทศกาลสงกรานต์ต่างก็แวะชมพิพิธภัณฑ์มากว่าปกต่ ซึ่งปกติจะมีคนเข้าชมวันละประมาณ 1 หมื่นคน  แต่ช่วงเทศกาลพบว่าจะมีประมาณวันละ 3 หมื่นคนคาดว่า ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ทางพิพิธภัณฑืจะเก็บค่าเข้าชมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลพิพิธภัณฑ์ต่อไป
ที่มาข้อมูล

ภูไทกาฬสินธุ์..ทำไมปีนภูเขา?
  
          คนส่วนมากไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ เช่นน้ำตก  ทะเล พิพิธภัณฑ์ แล้วชาวภูไทกาฬสินธุ์หล่ะ  นอกจากไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์สิรินธรแล้ว..เขาไปไหนกันตามไปดูไหม?
      
สาระการเรียนรู้  ศิลปะ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สาระที่ 1  ทัศนศิลป์
          มาตรฐาน ศ 1.1  สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ 
                  
วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อ
                  งานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ 1.2   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม 
                 เห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 
                ภูมิปัญญาไทย และสากล
สาระที่ 2  ดนตรี
          มาตรฐาน ศ 2.1  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
                 วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม 
                 และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ 2.2   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม 
                 เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย
                 และสากล
สาระที่ 3  นาฏศิลป์
            มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจ และแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์
                   วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และ
                   ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            มาตรฐาน ศ 3.2เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
                   เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญา
                  ไทย และสากล
        ประชาชนที่เหน็จเหนื่อยจากการทำงานต้องการพักผ่อนหน่อนใจ  บางคนก็ไปเที่ยวทะเล  บางคนก็ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์บางคนก็ไปเที่ยวภูเขา บางคนก็ไปเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งการไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ เป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ดีทำให้คลายเครียดได้  ในแถบชนบทการการทำมาหากินบางอย่างก็ถือว่าเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนไปในตัวในทางนาฏศิลป์ก็สามารถนำการทำมาหากิน การท่องเที่ยวมาประดิษฐ์เป็นท่ารำที่สนุกสนานได้ เช่น ฟ้อนไทภูเขา แสดงให้เห็นถึงการที่หนุ่มสาวชวนกันขึ้นไปบนภูเขา  ขุดหน่อไม้  เก็บผักหวาน ใบย่านาง เก็บเห็ด ไหว้ขอขมาเจ้าป่า
เจ้าเขาและหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน
 
ฟ้อนไทภูเขา

        ฟ้อนไทภูเขา
 เป็นการแสดงที่สื่อถึงภาพวิถีชีวิตในการทำมาหากินของชาวภูไทที่อาศัยตามแนวเทือกเขาภูพาน อันเป็นแนวทิวเขาที่ทอดยาวพาดผ่านหลายจังหวัดในอีสานตอนบน แสดงถึงการหาของป่าหรือการหาพืชพันธุ์เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่การเดินขึ้นภูเขา การขุดหน่อไม้ เก็บเห็ด เก็บผักหวาน เก็บใบย่านาง และการตัดหวาย
        การแสดงชุดนี้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นโดยวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ โดยเข้าไปเก็บข้อมูลข
การทำมาหากินที่หมู่บ้านของชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการเป็นหมู่บ้านต้นแบบการทอผ้าไหมแพรวาของชาวภูไท ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านในจังหวัดกาฬสินธุ์ แหล่งอื่นๆก็นิยมทอกันอย่างแพร่หลาย 
                                                 ภูไทกาฬสินธุ์..ทำไมปีนภูเขา?
                                                            ที่มาภาพ : ผู้เขียน
ท่ารำ
  - ท่าเดินขึ้นเขา
  - ท่าขุดหน่อไม้
  - ท่าเก็บผักหวาน
  - ท่าเก็บเห็ด
  - ท่าตัดหวาย
  - ท่าหยอกล้อกัน
  - ท่าเก็บใบย่านาง
  - ท่าไหว้ขอขมาเจ้าป่าเจ้าเขา
  - ท่าเดินลงเขา
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง
        เครื่องดนตรีประกอบด้วย  โปงลาง  พิณ  เบส แคน  โหวด  กลอง  รำมะนา  ฉิ่ง  ฉาบเล็ก
ดนตรีที่ใช้เริ่มต้นจากลายภูไทที่มีทำนองช้าแล้วขึ้นลายใหม่ที่มีจังหวะและทำนองที่สนุกสนาน การแสดงชุด ฟ้อนไทภูเขา  จึงเป็นการแสดงที่มีความโดดเด่นในการสื่อถึงการทำมาหากินและความสวยงามของผ้าไหมแพรวา ของชาวภูไทที่นำมาใช้เป็นเครื่องแต่งกายของนักแสดง
                                               ภูไทกาฬสินธุ์..ทำไมปีนภูเขา?
                                                         ที่มาภาพ : ผู้เขียน
การแต่งกาย

-  หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีแดง ใช้ผ้าสไบไหมแพรวาสีแดงพับครึ่งเป็นตัว V ที่ด้านหน้าให้ปลายผ้าทั้งสองข้างพาดไหล่ นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สีดำมีตีนซิ่นยาวคลุมเข่า พันศีรษะด้วยผ้าแพรวาสีแดงปล่อยให้ชายครุยของปลายผ้าปรกใบหน้า สวมเครื่องประดับเงิน และสะพายหลังด้วยเครื่องจักสานลักษณะตะกร้าสะพายหลัง ชาวภูไทเรียกเครื่องจักสานชนิดนี้ว่า "กระหยัง"
-  ชาย สวมเสื้อสีครามมีการตกแต่งเสื้อด้วยแถบผ้าลายแพรวา นุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าแพรวาแดงพันศีรษะและมัดเอว สะพายย่ามลายขิดสีแดง
อุปกรณ์การแสดง
 -   ย่ามภูไท
 -   กระหยัง
ขอบคุณที่มาของข้อมูล 
ประเด็นคำถามที่น่าสนใจ
  - นักเรียนรู้จักการแสดงพื้นเมืองของชาวภูไทชุดอื่นหรือไม่ ถ้ารู้ให้บอกชื่อชุดการแสดง
  - ให้นักเรียนบรรยายความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับการแสดงชุดไทภูเขา
   
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
       มาตรฐาน  ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดี และวรรณกรรมไทยอย่าง
             เห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
      มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค 
             
การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้ง เข้าใจหลักการ
             
ของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการ ดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
      มาตรฐาน ง 1.1  เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน
             ทักษะการจัดการทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการ
             แสวงหาความรู้  มีคุณธรรม และลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้
             พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
กิจกรรมเพิ่มเติมเต็ม
        นักเรียนควรหาโอกาสชมการแสดงอื่นๆที่โรงเรียนจัดหรือเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนหรือชุมชนตามโอกาส
อ้างอิงข้อมูล
  www.innnews.co.th
  www.isan.clubs.chula.ac.th
อ้างอิงรูปภาพ  
www.bloggang.com
www.bloggang.com
 
 
 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2377

อัพเดทล่าสุด