วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010


752 ผู้ชม


ความแตกต่างของเครื่องดนตรีในแต่ละเชื้อชาติ,,เป็นสัญลักษณ์แห่งวัฒนธรรมประจำถิ่น   

+++"วูวูเซร่า" สีสันฟุตบอลโลก...อัฟริกา"2010+++

วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
ขอบคุณภาพ วูวูเซร่า

         ในช่วงนี้คงไม่มีอะไรจะฟีเวอร์เท่ากับมหกรรมฟุตบอลโลกที่กำลังเริ่มการแข่งขันให้แฟนฟุตบอลชาวไทยเราได้คึกคักกับการร่วมชมร่วมเชียร์กันอย่างสนุกสนานอย่างเกมส์กีฬา,,ไม่นำไปสู่การพนันไม่งั้นอยากหมดตัวได้,,,ในเวลาที่มีการแข่งขัน ในการเชียร์เราจะสังเกตและได้ยินเสียงเครื่องเป่าของชาวอัฟริกาที่เรียกว่า "วูวูเซร่า" <vuvuzela> ดังไปทั่วสนามแข่งขันซึ่งเสียงของเครื่องเป่านี้ จะดังคล้ายเสียงของผึ้งแตกรังนับล้านๆตัวมาบินรวมกัน  และล่าสุด แดนนี จอร์แดน ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันศึกฟุตบอลโลก 2010 เปิดเผยว่า พร้อมพิจารณาสั่งห้ามนำเครื่องเป่าเจ้าปัญหาชนิดนี้เข้าไปส่งเสียงเชียร์ในช่วงระหว่างเกมการแข่งขันทุกเกมเนื่องจากเสียงดังอันแสนจะอึกทึกจากเครื่องเป่า "วูวูเซลา" ได้สร้างปัญหาให้ผู้เล่นในสนามเป็นอย่างมาก เพราะมีเสียงดัง แถมยังสร้างปัญหาให้บรรดากุนซือของทุกชาติที่ต้องการส่งเสียงสั่งการลูกทีมเป็นอย่างมาก  เกือบทำให้แฟนบอลชาวอัฟริกันอาจต้องหมดสิทธิพกพาเครื่องเป่าเสียงแตรที่มีนามว่า "วูวูเซลา" เสียแล้ว 
          แต่อย่างไรก็ตามฟีฟ่าก็ต้องยอมให้มีการนำเครื่องเป่านี้เข้ามาในสนามแข่งได้ เพื่อจะไม่ให้มีข้อขัดแย้งกับคนในท้องถิ่น เพราะถือเป็นวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองอัฟริกา ดังนั้นในเวิล์ดคัพ 2010 เราคงได้ยินเสียงวูวูเซร่า ไปตลอดการแข่งขันจนชินหู และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของการแข่งขันฟุตบอลโลกในครั้งนี้อีกด้วย (ที่มาข่าว:komchadluek )  

          ก็ถือเป็นการเปิดตัวเครื่องดนตรีของชนพื้นเมืองอัฟริกาให้ชาวโลกได้รับรู้,,ถ้าไทยเราได้มีโอกาสเป็นเจ้าภาพกีฬาระดับโลกบ้าง  เครื่องดนตรีของไทย  โดยเฉพาะเครื่องเป่า ที่เราคงได้มีโอกาสโชว์ความไพเราะในเสียงอันนุ่มนวลอ่อนหวาน

สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระที่ ๒  ดนตรี )
          มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้  ในชีวิตประจำวัน
          มาตรฐาน ศ ๒.๒   เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรี  ที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

 

เครื่องเป่าของไทย  (ขลุ่ย) 

 

วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
 ภาพขลุ่ย  (kru"totoh)

          ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย ทำด้วยไม้ไผ่ปล้องยาวๆ ไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้ออย่างไฟให้แห้งแล้วตบแต่งผิวให้ ไหม้เกรียมเป็นลวดลายสวยงาม
         
 ด้านหน้าเจาะรูกลม ๆ เรียงแถวกัน 7 รู สำหรับนิ้วปิดเปิดเสียง ขลุ่ยไม่มีลิ้นเหมือนปี่ แต่เขาใช้ไม้อุดเต็มปล้อง แล้วปาดด้านล่างให้มีช่อง ไม้อุดนี้เรียกว่า ดาก  ทำด้วยไม้สักเพราะไม่มีขุยมาบังลม    ด้านหลังใต้ดากลงมา เจาะรูเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะ ทะลุตรงเหมือนรูด้านหน้า รูที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ เรียกว่า รูปากนกแก้ว

วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
  ภาพวิธีการจับขลุ่ย  (kru'totoh)  

        
        ใต้รูปากนกแก้วลงมา เจาะรูอีก 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เพราะเวลาเป่า ผู้เป่าจะใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ เหนือรูนิ้วค้ำด้านหลัง และ เหนือรูบนของรูด้านหน้าทั้ง 7 รู แต่อยู่ทางด้านขวา เจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า รูเยื่อ เพราะแต่ก่อนจะใช้เยื่อไม้ไผ่ปิดรูนี้  ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ตรงปลายเลาขลุ่ยจะเจาะรูให้ซ้ายขวาตรงกัน  เพื่อร้อยเชื่อก เรียกว่า รูร้อยเชือก 
         ดังนั้น จะสังเกตว่า ขลุ่ย 1 เลา จะมีรูทั้งสิ้น 14  รู

วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
 ภาพการนั่งปฏิบัติขลุ่ย (kru"totoh)


ขลุ่ยมีทั้งหมด 3 ชนิดคือ

           1. ขลุ่ยหลีบ มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 36 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม.

                              วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
                                          ขอบคุณภาพ : ขลุ่ยหลีบ  

          2. ขลุ่ยเพียงออ มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 45 – 46 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม.

                           วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
                                         
ขอบคุณภาพ : ขลุ่ยเพียงออ 

          3. ขลุ่ยอู้   มีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 60 ซม. กว้างประมาณ 4 – 5 ซม. 
                                วูวูเซร่า,,,สีสันฟุตบอลโลก,,,อัฟริกา"2010
                                             ขอบคุณภาพ : ขลุ่ยอู้  


         ซึ่งขลุ่ยทั้งสามชนิดจะมีรูปร่างลักษณะที่เหมือนกัน จะแตกต่างกันเพียงขนาด และเสียง ต่อมามีผู้สร้างขลุ่ยกรวดขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ 1 เสียง ขลุ่ยกรวดใช้กับวงเครื่องสายผสมที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่ง มาเล่นร่วมวง   (ขอบคุณข้อมูล)
                                         
                                           +++++++++++++++

เชื่อมโยงในองค์ความรู้
       คณิตศาสตร์                             คำนวนขนาด รูปทรง  รูปร่างทางเรขาคณิต            
       ภาษาไทย                               การเขียน  การอธิบาย ลักษณะรูปร่างของขลุ่ย
       วิทยาศาสตร์                            วิธีการกำเนิดเสียง  
       สังคมศึกษา                             วัฒนธรรมประเพณี   
       สุขศึกษาและพลศึกษา               กิจกรรมเข้าจังหวะประกอบเพลง  
       บูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้      บทเพลงไทยสามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บท  
                                                   เรียนกิจกรรมกระตุ้นเร้าความสนใจ การเรียนรู้ของผู้เรียน


 เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้
        -  กิจกรรมวาดภาพเครื่องดนตรีไทย
        -  ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เครื่องดนตรีไทยประเภทอื่นๆ
        -  ศึกษาและแสวงหาประสบการณ์ตรงทางด้านดนตรีไทยในงานต่าง ๆ
       
      
ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  แสดงความคิดเห็นถึงคำว่า ดนตรีไม่มีเชื้อชาติและพรมแดน
         -  คิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่า "ภาษาดนตรีเป็นภาษาสากล"
         -   วิธีการและแนวทางในการอนุรักษ์สืบสานดนตรีไทย
         -  เสียงดนตรีมีประโยชน์อย่างไร


        
อ้างอิงข้อมูล
https://www.komchadluek.net 

https://th.wikipedia.org

อ้างอิงรูปภาพ
https://farm3.static.flickr.com
https://www4.msu.ac.th
https://thaimusic.site90.com
https://www4.msu.ac.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2738

อัพเดทล่าสุด