ฝึกเล่นระนาดทุ้ม


3,366 ผู้ชม


ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยไม้มีรูปลักษณะเป็นรางร้อยลูก ระนาดเป็นพื้นแขวนบนรางระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   
ประวัติ ความเป็นมาของระนาดทุ้ม

 

                ระนาด เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมนั้นคงนำไม้ทำอย่างกรับหลาย ๆ อันวางเรียงกันแล้วตีให้ เกิดเสียง ต่อมาจึงคิดทำไม้รองเป็นรางแล้วจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบน รางเพื่อให้สามารถอุ้มเสียงได้ จากนั้นใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆ  กันนั้นให้ติดกันเป็นผืนขึงแขวนไว้บนราง และใช้ขี้ผึ้งผสมตะกั่วติดหัวท้ายเพื่อถ่วงเสียงให้เกิดความไพเราะยิ่งขึ้น โดยใช้ไม้ตีให้เกิดเสียงดังกังวานลดหลั่นกันไปตามต้องการแล้วให้ชื่อว่า “ระนาด”

            ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ฟังไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่ว่า “ระนาดทุ้ม” และเรียก ระนาดอย่างเก่าว่า “ระนาดเอก” ซึ่งระนาดทุ้มนั้นคิดประดิษฐ์เลียน แบบจากระนาดเอก ลูกระนาดทำจากไม้ไผ่เช่นเดียวกัน หากแต่เหลาให้มีขนาดกว้างและยาวกว่าลูกระนาดเอก มีจำนวน ๑๗-๑๘ ลูก เทียบเสียงให้ต่ำกว่าระนาดเอกหนึ่งช่วงคู่แปด รางระนาดทุ้มทำจากไม้ที่มีความคงทนสวยงาม เช่น ไม้ขนุน ไม้ชิงชัน เป็นต้น  มีรูปร่างคล้ายหีบไม้แต่เว้ากลางเป็นการโค้ง ใช้โขนปิดทางด้านหัวและด้านท้ายยาวประมาณ ๑๒๔ เซนติเมตร มีตะขอติดโขนข้างละ ๒ อัน สำหรับแขวนหรือขึงผืนระนาดทุ้ม ปากรางกว้างประมาณ ๒๒ เซนติเมตร และมีเท้าเตี้ยๆ รอง ๔มุมราง รางระนาดทุ้มมักมีการแกะสลักลวดลายต่างๆ แล้วลงรักปิดทองเรียกว่า“รางทอง” ซึ่งนิยม กันมาก ไม้ตีนั้นใช้ไม้นวม ซึ่งหัวไม้พันผ้าพอกให้โตและนุ่มเพื่อให้เสียงนุ่มนวล

 

 

 เทคนิค การบรรเลงระนาดทุ้มและแบบฝึกหัดการบรรเลงระนาดทุ้ม

 

๑.   การตีไล่ เสียงขึ้น - ลง โดยใช้มือซ้ายตีที่ลูกทวน หรือลูกที่มีเสียงต่ำสุดซึ่งอยู่ทางซ้ายมือของผู้บรรเลง และตีเรียงเสียงขึ้นไปจนได้คู่แปด แล้วเปลี่ยนมาใช้มือขวาไล่ต่อไปจนถึงลูกยอดหรือลูกที่มีเสียงสูงสุดซึ่งอยู่ ทางขวามือของผู้บรรเลง และในทำนองกลับกันใช้มือขวาตีที่ลูกยอดไล่เรียงเสียงลงมาให้ได้คู่แปดกับลูก ยอด แล้วเปลี่ยนไปใช้มือซ้ายไล่เรียงเสียงลงมาจนถึงลูกทั่ง

            เช่น

 - - - -

- - - -

มฟซล

 ทดํรํมํ

มฟซล

 ทดํรํมํ

 - - - -

- - - -

รฺมฺฟฺซฺ

ลฺทฺดร

 - - - -

 - - - -

 - - - -

 - - - -

รฺมฺฟฺซฺ

ลฺทฺดร

๒. การตีไล่ เสียงสลับมือ โดยการตีสลับมือซ้ายขวาจากเสียงต่ำสุดไปหาเสียงสูงสุด โดยใช้ มือซ้ายตีลงก่อนแล้วตามด้วยมือขวา เมื่อมือขวาตีถึงลูกยอด ให้ตีถอยลงมาโดยเริ่มด้วยมือซ้ายตีลงที่ลูกยอดก่อน ตามด้วยมือขวาตีสลับลงมาจนถึงเสียงต่ำสุด   เช่น

- - ฟฺซฺ

- - ด ร

- - ซ ล

 - - รํ มํ

 มํ รํ - -

ล ซ - -

ร ด - -

ซฺ ฟฺ- -

 รฺ มฺ - -

ลฺ ทฺ- -

ม ฟ- -

 ทดํ- -

 - - ดํท

 - - ฟม

- -ทฺ ลฺ

- - มฺ รฺ

๓.  การตีสอง มือพร้อมกันเป็นคู่ต่าง ๆ   โดยลงน้ำหนักมือเท่ากัน      ใช้มือซ้ายและมือขวาตีลงที่ ลูกฆ้องพร้อมกันทั้งสองมือ โดยใช้นำหนักมือทั้งสองมือเท่ากันและมีเสียงประมาณกัน

          เช่น

 - ร - ม

- ฟ- ซ

- ล - ท

 - ดํ - รํ

- มํ - มํ

 - รํ - ดํ

- ท - ล

- ซ- ฟ

 รฺ - มฺ -

ฟฺ - ซฺ -

ลฺ - ทฺ -

ด - ร -

ม - ม -

 ร - ด -

ทฺ - ลฺ -

ซฺ - ฟฺ -

๔.      การตีกรอ คู่ต่าง ๆ โดยตีคู่เช่นคู่ ๒ , ๔ , ๘

เช่น     คู่ ๒

 - - - ร

 - - - ม

 - - - ฟ

 - - - ซ

 - - - ด

 - - - ร

 - - - ม

 - - - ฟ

          คู่ ๔

 - - - ร

 - - - ม

 - - - ฟ

 - - - ซ

 - - - ลฺ

 - - - ทฺ

 - - - ด

 - - - ร

         คู่ ๘

 - - - ซ

 - - - ล

 - - - ดํ

 - - - รํ

 - - - ซฺ

 - - - ลฺ

 - - -ด

 - - - ร

๕.      การตีผสม มือ และการตีแบ่งมือ

              ๕.๑      การตีไล่เสียงขึ้น ๓ เสียง รูปแบบการแบ่งมือคือ ซ้าย ขวา ขวา เช่น

 - - มฺ ฟฺ

 - - ฟฺ ซฺ

 - - ซฺ ลฺ

 - - ลฺ ทฺ

 - รฺ - -

 - มฺ - -

 - ฟฺ - -

 - ซฺ - -

             ๕.๒      การตีไล่เสียงลง ๓ เสียง รูปแบบการ แบ่งมือคือ ขวา ขวา ซ้าย เช่น

 - มํ - - 

- รํ - -

 - ดํ - - 

- ท - -

 - - รํ ดํ

 - - ดํ ล

 - - ท ล

 - - ล ซ

        ๕.๓      การตีไล่เสียงขึ้น ๔ เสียง รูปแบบการแบ่งมือคือ ซ้าย ซ้าย ขวา ขวา เช่น

 - - ฟฺ ซฺ

 - - ซฺ ลฺ

 - - ลฺ ทฺ

 - - ทฺ ด

 รฺ มฺ - -

 มฺ ฟฺ - -

 ฟฺ ซฺ - -

ซฺ

        ๕.๔      การตีไล่เสียงลง ๔ เสียง รูปแบบการ แบ่งมือคือ ขวา ขวา ซ้าย ซ้าย เช่น

มํ รํ - -

 รํ ดํ - - 

ดํ ท - -

ท ล - -

 - - ดํ ล

 - - ท ล

 - - ล ซ

 - - ซ ฟ


ที่มา : https://santithaimusic.igetweb.com/index.php?mo=3&art=177113
ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่ทำด้วยไม้มีรูปลักษณะเป็นรางร้อยลูก ระนาดเป็นพื้นแขวนบนรางระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประสมอยู่ในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ  เช่น  วงปี่พาทย์ไม้แข็ง  วงปี่ พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์ไม้นวม  วงมโหรี   ฯลฯ ทำหน้าที่ ดำเนินทำนองเพลง  หยอก ล้อไปกับระนาดเอกทำให้เกิดความสนุกสนาน 

 


การปฏิบัติเครื่องดนตรี


 


ภาพแสดงการนั่งในการ ปฏิบัติเครื่องดนตรี




ภาพ : การนั่ง
ที่มา : จิรา รัตน์  ทิพย์บำรุง : ๒๕๕๐



ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 หรือ 18 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง

หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม

ที่มา  : https://th.wikipedia.org/wiki

สาระการเรียนรู้        ภาษาไทย - คำศัพท์

                               คณิต    -จำนวน

                               วิทยาศาสตร์   - การกำเนิดเสียง
                               สังคมศึกษา  -ประวัติ
                               สุขศึกษาและพลศึกษา  -การออกกำลังกาย
                               ศิลปะ    -การวาดภาพระบายสี  เส้น แสง สี และเงา
                               การงานอาชีพและเทคโนโลยี -การประดิษฐ์เครื่องดนตรี
                               ภาษาอังกฤษ    -คำศัพท์
ตอบคำถาม
1.  ระนาดทุ้ม  มีมาตั้งแตสมัยใด
2.ระนาดทุ้มมีลูกระนาดกี่ลูก
3.ระนาดเอกและระนาดทุ้มมีความแตกต่างกันอย่างไร
4.ระนาดทุ้มสันิษฐานว่าดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรีใด
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2970

อัพเดทล่าสุด