การเรียนรู้วิธีการจับไม้ขิมแบบต่างๆแม้จะมีคุณประโยชน์แต่ก็ต้องเลือกจับแบบใดแบบหนึ่ง ก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนไปจับในแบบอื่นๆต่อไป
เริ่มฝึกตีขิมกันเลยครับ
เอาละครับ..ได้เล่าประวัติของท่านอาจารย์ตั๊กม้อกันมาพอหอมปากหอมคอแล้ว ตอนนี้เรามาเริ่ม
ฝึกตีขิมกันดีกว่าชำเลืองดูทางด้านซ้ายมือหน่อยนะครับจะเห็นเณรน้อยตั้งท่าจรดไม้ขิมอย่าง
ทะมัดทะแมงทีเดียว การตั้งท่าฝึกตีขิมนั้นก็เหมือนกับการตั้งท่าฝึกอาวุธนั่นแหล่ะครับ คือต้อง
จับไม้ขิมให้แน่นและมั่นคงเหมือนนักรบจับอาวุธ ถ้าจับไม่แน่นตีไปตีมาไม้ขิมอาจหลุดจากมือ
เอาง่ายๆโดยเฉพาะตอนที่ตื่นเต้นเวลามีคนดูเราบรรเลงหรือตอนที่เหงื่อเราแตกพลั่กเพราะความ
เอ็กไซ้ท์ ดังนั้นอันดับแรกจึงต้องจับไม้ขิมให้แน่นเสียก่อน วิธีจับไม้ขิมนั้นมีมากมายหลายวิธีครับ
ต่างครูต่างสำนักก็ต่างวิธีการกัน ก็เหมือนกับการฝึกวิชาบู๊ของสำนักเส้าหลิน- บู๊ตึง - ง่อไบ๊ ฯลฯ
นั่นแหล่ะครับ ทุกสำนักอาจจะมีวิธีการฝึกไม่เหมือนกันแต่ถ้าฝึกจนเชี่ยวชาญแล้วก็จะมีวิทยายุทธ
ยอดเยี่ยมได้ไม่แพ้กัน เรื่องวิธีการจับไม้ขิมนี้ผมเคยถามคุณแม่ตอนที่ผมเริ่มฝึกตีขิมว่าควรจับ
ไม้ขิมอย่างไรท่านก็บอกว่าให้ยึดหลักสำคัญ 2 ประการคือ หนึ่ง... ต้องจับไม้ให้แน่น สอง...
จับแล้วต้องรู้สึกถนัดมือและสามารถใช้ไม้ขิมได้คล่องแคล่วมากที่สุด ถ้ายึดหลักสองประการนี้
แล้วจะจับอย่างไรก็ได้ ผมก็เลยเลือกจับไม้ขิมในแบบที่ผมถนัดและใช้หลักการนี้สอนลูกศิษย์ขิม
ของผมต่อๆมาหลายรุ่นซึ่งเด็กๆเหล่านั้น ส่วนใหญ่ก็สามารถบรรเลงขิมได้ไพเราะน่าฟังทั้งๆ
ที่บางคนไม่ได้จับไม้ขิมเหมือนผมเลย ที่จริงวิธีการจับไม้ขิมนั้นมีหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีประโยชน์
ในการบรรเลงแตกต่างกัน การจับเพียงวิธีใดวิธีหนึ่งจะทำให้ขอบเขตของการบรรเลงขิมค่อน
ข้างจำกัดและบรรเลงได้ไม่ไพเราะเท่าที่ควร หากสามารถจับไม้ขิมได้หลายวิธีและเรียนรู้ข้อดี
ข้อด้อยของการจับแต่ละวิธีให้แจ่มแจ้งน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ผู้ที่อยากตีขิมให้ไพเราะน่าฟัง
จึงควรเรียนรู้วิธีการจับไม้ขิมหลายๆวิธีครับ
การเรียนรู้วิธีการจับไม้ขิมแบบต่างๆแม้จะมีคุณประโยชน์แต่ก็ต้องเลือกจับแบบใดแบบหนึ่ง
ก่อนเป็นอันดับแรกแล้วจึงค่อยๆเปลี่ยนไปจับในแบบอื่นๆต่อไป วิธีจับไม้ขิมซึ่งเป็นกระบวนท่า
พื้นฐานนี้จะต้องเอื้อต่อการเปลี่ยนไปจับไม้ขิมในแบบอื่นๆด้วย ผมจึงขอแนะนำวิธีจับไม้ขิม
สำหรับผู้ที่เริ่มฝึกดังนี้ครับ
วิธีจับไม้ขิม
จากภาพตัวอย่างด้านบนแสดงวิธีการจับไม้ขิมในท่าพื้นฐาน ให้สังเกตว่านิ้วหัวแม่มือจะอยู่ด้าน
บน นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนางและ นิ้วก้อย รองรับไม้ขิมอยู่ด้านล่างโดยให้ปลายนิ้วก้อยสัมผัสกับปลาย
ด้ามไม้ขิมพอดี เมื่อจับตามลักษณะนี้แล้วให้เน้นกำลังบีบไม้ขิม 3 จุดด้วยกันคือ ที่ปลายนิ้วหัวแม่
มือ (เลข 1) ที่ปลายนิ้วชี้ (เลข 2) และ ที่ปลายนิ้วก้อย (เลข 3) การที่แนะนำให้จับไม้ขิมครบ
ทั้ง 5 นิ้วนั้นก็เพราะจะได้กำลังมากที่สุดและสามารถบังคับไม้ขิมได้ 100 เปอร์เซนต์ ลองคิดดูซิ
ครับว่าคนเรามีนิ้วมือ 5 นิ้ว หากจับไม้ขิมเพียง 3 นิ้วหรือ 4 นิ้ว (นิ้วก้อยเปิด) ก็จะสามารถควบ
คุมไม้ขิมได้เพียง 3 ใน 5 ส่วน หรือ 4 ใน 5 ส่วน เท่านั้น ผู้ที่จับครบทั้ง 5 นิ้ว จะสามารถตีขิม
ได้ดังชัดเจนและแม่นยำมากที่สุด
ที่มา : https://www.thaikids.com/kimhlp/00000058.htm
บูรณาการกับสาระการเรียนรู้
- ภาษาไทย : คำศัพท์
- คณิตศาสตร์ : จำนวน การวัด
- วิทยาศาสตร์ : กำเนิดเสียง
- สังคมศึกษา : วิถีชีวิต วัฒนธรรม
- สุขศึกษาและพลศึกษา : การออกกำลังกาย สุขภาพกายและจิต
- ทัศนศิลป์ : การวาดภาพระบายสี
- การงานอาชีพและเทคโนโลยี : การออกแบบ
- ภาษาอังกฤษ : คำศัพท์
ตอบคำถาม
1. ขิมเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยวิธีใด
2. ไม่ตีขิมมีกี่อัน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2976