ถ้าไม่ช่วยกันรักษาไม่นานอาจจะสูญหาย


655 ผู้ชม


วัฒนธรรมเพลงฉ่อย คือ สิ่งที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของชาติ   

           คว้า"ป๋อ"คู่"มัดหมี่"ลง"พันท้ายนรสิงห์" "ท่านมุ้ย"ตั้งใจดึงวัฒนธรรมไทยแทรกใครที่ชื่นชอบละครแนวอิงประวัติศาสตร์ เร็วๆนี้เตรียมพบกับ ละครเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งละครเรื่องนี้ได้ ป๋อ-ณัฐวุฒิ มารับบทพันท้ายนรสิงห์ ประกบคู่ มัดหมี่-พิมพ์ดาว รายละเอียดในเรื่องนี้ คุณสมรักษ์ ณรงค์วิชัย ผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการ ช่อง 3 เผยว่า เรื่องนี้ท่านมุ้ย จะสอดแทรกวัฒนธรรมไทย ด้านเพลงฉ่อยเข้ามาด้วย เพราะเรามองว่าเรื่อง พันท้ายนรสิงห์ เกิดขึ้นที่วิเศษไชยชาญ แถวสุพรรณบุรี-อ่างทอง ท่านมุ้ยพยายามจะทำให้เป็นวิถีชาวบ้านย่านนั้นก็เลยนำเอาทุกอย่างเข้ามาเพื่อให้ละครดูสมจริงยิ่งขึ้น ที่มาข่าว

           วัฒนธรรมในความหมายของผู้เขียน  คือ สิ่งที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของชาติ โดยมีศีลธรรมอันดีงาม ถ้าทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของไทย ก็จะทำให้ประเทศไทยเรามีผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรมที่ดีงามเอาไว้

 ถ้าไม่ช่วยกันรักษาไม่นานอาจจะสูญหาย

          เนื้อหา สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ นาฏศิลป์ ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3


         

             คำว่า "วัฒนธรรม" มาจากคำว่า "วัฒน" จากคำศัพท์ วฑฺฒน" ภาษาบาลี หมายถึงความเจริญ ส่วนคำว่า "ธรรม" มาจากคำศัพท์ "ธรฺม" ภาษาสันสกฤต หมายถึงความดี เมื่อนำมารวมกันจึง หมายถึง ความดีอันจะก่อให้เกิดความงอกงามที่เป็นระเบียบเรียบร้อย


           วัฒนธรรมสามารถพบเห็นได้จาก ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละคร ภาพยนตร์ รวมไปถึงเทคโนโลยี ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และ ศีลธรรม

           นอกจากนี้แล้ววัฒนธรรมของไทยยังสามารถพบเห็นได้จากภูมิภาคต่างๆ จำนวนมากซึ่งได้รับอิทธิพลจากศาสนา ความเชื่อ  ประวัติศาสตร์ ของมนุษยชาติ เศรษฐกิจ 

           ประเภทของวัฒนธรรมสามารถแบ่งวัฒนธรรมได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ


           • วัฒนธรรมทางวัตถุ 
           • วัฒนธรรมทางจิตใจ เกี่ยวกับ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี

ถ้าไม่ช่วยกันรักษาไม่นานอาจจะสูญหาย
  

                                                       ข้อมูลแหล่งที่มาภาพ


            วัฒนธรรมเพลงฉ่อย คือ การแสดงเพลงฉ่อยหรือเพลงทรงเครื่อง เป็นการเล่นพื้นเมืองประเภทหนึ่ง นิยมแสดงในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยประเพณีแล้ว จะเริ่มด้วยการไหว้ครู ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จะออกมาร้องไหว้คุณพระศรีรัตนตรัย คุณครูบาอาจารย์ คุณบิดามารดา เสียก่อน เมื่อจบแล้วปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงสาธุการจบแล้ว พ่อเพลงก็จะร้องเป็นการเบิกโรง เรียกว่า ฉะหน้าโรง สารานุกรมไทย  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  เล่มที่ 9 ได้กล่าวถึง  ฉะหน้าโรงไว้ ดังนี้


           ฉะหน้าโรง เป็นการร้องเพลงฉ่อยหรือเพลงทรงเครื่องในตอนเบิกโรง    ผู้ชายจะร้องเชิญชวนจนฝ่ายหญิงออกมาร่วมร้องด้วยเป็นการเกี่ยวพาราสี และว่าเหน็บแนมกันไปมา บางทีอาจเนื้อร้องอาจมีความหมายสองแง่สองง่าม การร้องตอนนี้เรียกว่า ประ น่าจะย่อมาจากคำว่าประคารม เป็นตอนที่ผู้ชมชื่นชอบฟังกันมาก เพราะจะได้เห็นความสามารถของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงใช้ปฏิภาณร้องแก้กัน

             การเล่นเพลงฉ่อย จะปรบมือให้จังหวะ เนื้อเพลงคล้ายเพลงพวงมาลัย เพลงจะต้องจบลงด้วยเสียงสระโอทุกคำกลอน เช่นกัน แต่เมื่อถึงบทเกี้ยวเพลงจะคล้ายเพลงเรือ สำหรับลูกคู่ นอกจากจะปรบมือให้จังหวะแล้วก็จะต้องร้องรับตอนจบว่า "ชา เอ๋ ฉา ชา หน่อย แม่ เอย"  สำหรับแม่เพลงฉ่อยจะขึ้นบทใหม่ทุกครั้งต้องขึ้นว่า "โอง โวง โว โชะ ละ โอ่ โง๋ง โง๋ย "
 
             วิธีเล่นเพลงฉ่อย


             ผู้แสดง  แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีพ่อเพลงและแม่เพลง  เริ่มด้วยการไหว้ครู  ใช้กลอนเพลงอย่างโคราช  การร้องจะมีต้นเสียงและลูกคู่ร้องรับ   ดนตรีใช้การตบมือเป็นจังหวะ


             ชุดสู่ขอ  จะต้องมีพ่อเพลงและแม่เพลงหลายคน  อย่างน้อยก็ฝ่ายละ  3 คือ  พ่อแม่  ของทั้งสองฝ่ายและตัวหนุ่มสาว  แสดงถึงการไปว่ากล่าวสู่ขอตามประเพณี 

             ชุดลักหาพาหนี  เป็นการแสดงของชายหญิงเพียงฝ่ายละ 1 ใช้ศิลปะการร้องเพลงในการดำเนินเรื่องอย่างน่าฟัง

            ชุดตีหมากผัว  คือการแสดงความหึงหวงระหว่างสองหญิง  โดยมีพ่อเพลงคนหนึ่งแม่เพลงสองคน  สมมติว่าผู้หญิงเป็นคู่รักเก่าหรือภริยาเก่าไปพบชาย

            ชุดชิงชู้  มักเริ่มด้วยชายหนึ่งไปพบหญิงผู้เป็นภรรยากับ  สามีเก่าตามไปพบเข้าก็เกิดการว่ากล่าวกันใหญ่โต  เป็นการประคารม คำร้องเป็นลักษณะกลอนอย่างปรบไก่  แรกเริ่มฝ่ายชายเกริ่นขึ้นต้นด้วยเสียงเอื้อน
     “โอง-โงง-โงย-ฉะโอง-โงง-โงย”  แล้วชักชวนให้ผู้หญิงโต้ตอบกัน

            การแต่งกาย


     ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบนตามแต่ถนัด ใส่เสื้อลูกไม้รัดรูปมีสีสันสะดุดตา ทัดดอกไม้  ฝ่ายผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  เสื้อคอกลมสีต่าง ๆ

            โอกาสที่แสดง


     มักนิยมเล่นในงานเทศกาล หรืองานรื่นเริงของหมู่บ้าน ในวงการมหรสพต่าง ๆเช่น งานปีใหม่  ทอดกฐิน  เป็นต้น

            ตัวอย่างบทไหว้ครูชาย

     ชา  ฉ่า  ชะชา                   เอิงเอยเอ่อเอิงเอ๊ย
มือของลูกสิบนิ้ว                     ยกขึ้นหว่างคิ้วถวาย
ต่างธูปเทียนทอง                    ทั้งเส้นผมบนหัว
ขอให้เป็นดอกบัว                    ก่ายกอง...เอย...ไหว้
อีกทั้งเส้นผมบนหัว  (ซ้ำ)         ขอให้เป็นดอกบัวก่ายกอง(ซ้ำ)เอยไหว้...เอ่ชา
ลูกจะไหว้พระพุทธที่ล้ำ            ทั้งพระธรรมที่เลิศ
ทั้งพระสงฆ์องค์ประเสริฐ          ขออย่าไปติดที่รู้
ถ้าแม้นลูกติดกลอนต้น            ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้ไป
ถ้าแม้นลูกติดกลอนตัน(ซ้ำ)      ขอให้ครูช่วยด้นกระทู้(ซ้ำ)  เอชา

 รับเหมือนอย่างสองบทต้น        ยกไหว้ครูเสร็จสรรพ   หันมาคำนับกลอนว่า
ไหว้คุณบิดรมารดาท่านได้อุตส่าห์ถนอมกล่อมเกลี้ยงประโลมเลี้ยงลูกมา
ทั้งน้ำขุ่นท่านมิให้อาบ             ขมิ้นหยาบมิให้ทา
ยกลูกบรรจงลงเปล                 ร้องโอละเห่-ละชา ไกว (รับ)
แม่อุตส่าห์นอนไกว                 จนหลังไหล่ถลอก
หน้าแม่ดำช้ำชอก                    มิได้ว่าลูกชั่ว
จะยกคุณแม่เจ้า                       วางไว้บนเกล้าของตัว...ไหว้ (รับ)

             ตัวอย่างบทสู่ขอ

     เราเป็นเถ้าแก่                            จะต้องไปแหย่ข้างแม่ยาย
เราจะเข้าตามตรอกออกทางประตู     ให้พ่อแม่เอ็งรู้ทั้งผู้หลักผู้ใหญ่
พี่จะเตรียมทั้งขนมตั้งขนมกวย          พี่ก็จัดแจงใส่ถ้วยออกไป
เตรียมขนมต้มไปเซ่นผี                    ให้น้องสักสี่ห้าใบ
พี่จัดทองหมั้นขันขันหมาก               โตเท่าสากเจ๊กไท้

            ตัวอย่างบทลักหาพาหนี

     พี่จะไปสู่ขอพี่ก็ท้อก็แท้               ทั้งพ่อทั้งแม่ของพี่ก็ตาย
รักกันให้ไปด้วยกัน                          ให้ไปกะฉันไม่เป็นไร
ที่เขารักกันหนาพากันหนี                  เขามั่งเขามีก็ถมไป
ถึงขึ้นหอลงโรง                                ถ้ากุศลไม่ส่งมันก็ฉิบหาย  (เอชา)

            ตัวอย่างชุดตีหมากผัว

     แหมพิศโฉมประโลมพักตร์        แม่เมียน้อยน่ารักเสียนี่กระไร
เนื้อก็เหลืองไม่ต้องเปลืองขมิ้น        สวยไปตั้งแต่ตีนตลอดไหล่
อะไร ๆ แม่คนนี้ดีไปทุกสิ่ง      เสียแต่เป็นหญิงตูดไวตูดไว (เอชา)
เขาว่าเมียเขาไม่ดี                        อยู่เอก็เปล่ากาย
เมียเขามีจริง                               แล้วเขาก็ว่าทิ้งกันไป
กินแล้วก็นอนร้องละครไปวันยังค่ำ    งานการน่ะทำไปเสียเมื่อไร
ดีแต่ประแป้งแต่งตัว              เอาแม่ผัวไปนินทาซุกหัวกระได
ผัวเขาเลยขายส่งไปเสียที่โรงตรอก  ไม่รู้เมียหลวงลอยดอกมาเมื่อไร(เอชา)

             กระบวนการเรียนรู้


          1. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับวัฒนธรรมเพลงฉ่อย
          2. ศึกษาประวัติความเป็นมาไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          3. อธิบายความสัมพันธ์ของยุคสมัยกับวิวัฒนาการเพลงฉ่อย
          4. ศึกษาประวัติและผลงานทางเพลงฉ่อย
         
 

            เชื่อมโยงในองค์ความรู้
            
       ภาษาไทย                               การเขียน  การอธิบาย  
       สังคมศึกษา                             วัฒนธรรมประเพณี  วิถีชีวิต  ประวัติศาสตร์ 
       สุขศึกษาและพลศึกษา               กิจกรรมเข้าจังหวะประกอบเพลง การตบจังหวะ   
       
            เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้

        -  ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัฒนธรรมไทยประเภทอื่นๆ
        -  ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์
        -  กิจกรรมศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงฉ่อย แต่ละยุคสมัย
       -   กิจกรรมเล่าประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญในเพลงฉ่อย
 

            ข้อคำถามสานต่อความคิด


         -  แสดงความคิดเห็นถึงคำว่าวัฒนธรรม
         -  คิดอย่างไรกับการละเล่นเพลงฉ่อย 
        -   วิธีการและแนวทางในการอนุรักษ์วัฒนธรรมเพลงฉ่อย
        -  ความสำคัญและประโยชน์ในการศึกษาประวัติความเป็นมาของเพลงฉ่อย


            ที่มาภาพ


https://www.google.co.th
  

           ที่มาข้อมูล

www.trueplookpanya.com
www.student.chula.ac.th
www.blog.eduzones.com

มาตรฐาน ศ 3.1 เข้าใจและแสดงออกทางด้านนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์   วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         มาตรฐาน ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3094

อัพเดทล่าสุด