จากหลักสูตร>>>สู่โรงเรียน ตอนที่ 2


733 ผู้ชม


การนำหลักสูตรไปใช้อีกวิธีหนึ่งคือ วิธีการสอนของครูที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความสุขในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกับครูและเพื่อนๆ   
การนำหลักสูตรกลุ่มสาระศิลปะไปใช้ในโรงเรียน (ตอนที่ 2)
วิธีสอน
        วิธีสอน คือ การใช้วิธีการต่างๆ  ในการจัดสถานการณ์เพื่อก่อประโยชน์ให้แก่ผู้เรียนให้เข้าใจเนื้อหาวิชาต่าง ๆ  ได้อย่างลึกซึ้ง  ครูที่สอนเก่งคือ  ครูที่สามารถชักจูงให้นักเรียนเกิดความเพลิดเพลินในบทเรียน  ซึ่งวิธีการเหล่านี้ต้องอาศัยจิตวิทยาการเรียนรู้ของเด็กวัยต่าง ๆ  การมีวินัย  ความสนใจ  ความตั้งใจ  และแรงกระตุ้นเป็นหลักธรรมชาติของหลักสูตร  ที่เน้นถึงการสอนที่สามารถทำให้เด็กรู้จักคิดวิเคราะห์เป็น  ทำเป็น  และแก้ปัญหาเป็น  จำเป็นต้องมีวิธีสอนที่เหมาะสม  ผู้สอนต้องพิจารณาวิธีสอนวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ในหลักสูตร  วิธีการสอนที่ไม่ดีย่อมมีผลการทบต่อมาตรฐานของหลักสูตร  เพื่อให้การนำหลักสูตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูสามารถเลือกใช้วิธีการสอนได้หลายวิธี  เช่นวิธีการสอนโดยแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม  วิธีสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ  วิธีสอนโดยใช้กระบวนการกลุ่มวิธีสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรม (รายละเอียดการสอนแต่ละวิธี จะนำเสนอในตอนต่อไป)
 วิธีสอนดนตรีนาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา
    ถ้าพิจารณาตามหลักสูตรแล้วจะเห็นว่าเน้นหนักไปทางนาฏศิลป์มากกว่า  เพราะดนตรีและนาฏศิลป์เป็นเรื่องที่แยกกันมาออก  ก่อนจะรำนักเรียนควรฟังเพลงได้ รู้จังหวะ  เข้าใจท่วงทำนองที่จะสอดให้ลีลาอารมณ์ลงไปในการฟ้อนรำได้  เอกลักษณ์ของวิชานี้เป็นทักษะวิชาที่มีการฝึกฝนที่ถูกแบบ  ฝึกผู้เรียนให้มีนิสัยในการฝึกตนเองและมีการแก้ไขเมื่อมีการฝึกผิดวิธี  การวางรากฐานในการสอนนาฏศิลป์จึงไม่ใช้เรื่องง่ายนัก  ครูผู้สอนต้องรู้จักพลิกแพลงเลือกวิธีสอนและใช้วิธีการเฉพาะตน  ในการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างความนิยม  ความรักในวิชาการ และสุนทรียะกับตัวของผู้เรียน  การเตรียมการสอนควรมีขั้นตอนเป็นลำดับ
    1. การเตรียมตัวครู 
 
          1.1 ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระศิลปะ สาระดนตรี – นาฏศิลป์   ให้ทราบเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้  ให้รู้จักคุณค่าของประสบการณ์ดนตรีและนาฏศิลป์  ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับดนตรีนาฏศิลป์ ให้มีโอกาสพัฒนาตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรมนาฏศิลป์ตามความถนัดและความสนใจของตน  แสดงออกตามความคิดและจินตนาการของตนและนำประสบการณ์ทางดนตรีนาฏศิลป์ไปช่วยส่งเสริมปรับปรุงบุคลิกภาพของงาน
       1.2 ศึกษาแนวการอสนดนตรีนาฏศิลป์  ถึงแม้ว่าจะสามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นได้ก็ควรคำนึงถึงตัวชี้วัดของดนตรีนาฏศิลป์ด้วย  ควรศึกษาเอกสารต่างๆ ที่มีนอกเหนือจากหลักสูตร เช่นคู่มือหลักสูตร  แนวการใช้หลักสูตรเอกสารอ่านอบรมต่างๆ เอกสารเผยแพร่ โดยเฉพาะครูที่ขาดทักษะทางดนตรีนาฏศิลป์มีความจำเป็นต้องศึกษามากที่สุด วึ่งวิชาดนตรีนาฏศิลปะประกอบด้วยกิจกรรม 4 กิจกรรม  กิจกรรมเน้นจังหวะ  กิจกรรมเน้นการร้องเพลง  กิจกรรมการพังและกิจกรรมนาฏศิลป์  ซึ่งส่วนมากเป็นการสอนแบบสาธิตก่อนในขณะเดียวกันก็ผสมผสานวิธีการสอนแบบอื่นด้วยเป็นบางครั้ง  จัดการสอนอย่างมีลำดับขั้นตอนทั้งการเรียนภาคทฤษฏีและปฏิบัติควบคู่กันไปและต้องสื่อประกอบเช่น  รูปภาพ  เทปเพลง  ชุดการสอน  เครื่องประกอบจังหวะ
       1.3 ศึกษาการแบ่งเนื้อหากิจกรรมดนตรีนาฏศิลป์  เป็นวิชาที่ต้องปฏิบัติซ้ำๆ  กัน  จึงจำเป็นต้องแบ่งเนื้อหาให้ชัดเจนและจัดเวลาแต่แผนให้ครบถ้วน ควรเป็นแผนที่สืบเนื่องกันไปทุกคนแสดงออกและมีส่วนร่วมในกิจกรรม 
 
       1.4 ศึกษาสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นในการสอนดนตรีนาฏศิลป์ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีนาฏศิลป์  ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงออกและมีส่วนร่วมในกิจกรรม ดังนั้นสื่อการสอนจึงจำเป็นในการสร้างประสบการณ์ ซึ่งประกอบด้วย  สื่อประเภทเอกสาร เช่น  เอกสานใช้ประกอบการสอน  แผนการจัดการเรียนรู้  สื่อประเภทอุปกรณ์ เช่น  เครื่องเคาะจังหวะ  ภาพการแสดงต่างๆ  ภาพเครื่องดนตรีไทย  แผนภูมิเพลง  บัตรคำ  เทปเพลง  เครื่องบันทึกเสียง  กล่องชุดการสอน ฯลฯ
        1.5 ศึกษาหลักการวัดประเมินผล  ในการวัดประเมินผลทุกครั้งต้องแจ้งตัวชี้วัดให้นักเรียนทราบก่อนวัดและประเมินผลการเรียนซึ่งเป็นกระบวนการต่อเนื่องกับการสอน เพื่อให้ทราบผลการสอนของครู   และนำข้อพกพร่องไปปรับปรุงวิธีการสอน นักเรียนปรับปรุงการเรียนของตนเอง ทราบว่าตนเองเรียนเก่งหรืออ่อน ครุสามารถแก้ไขเป็นรายบุคคลได้  ผู้บริหารสามารถนำไปปรับปรุงระบบบริหารการศึกษา

ที่มา : อมรา  กล่ำเจริญ. วิธีสอนนาฏศิลป์  คณะวิชามนุษยศาสตร์ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. 2535.
                                                                                                                           มีต่อตอนที่ 3>>>

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3114

อัพเดทล่าสุด