จากหลักสูตร>>>สู่โรงเรียน ตอนที่ 4


668 ผู้ชม


การนำหลักสูตรสู่ห้องเรียนบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงสาระการเรียนรู้เฉพาะเท่านั้นแต่ยังสามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นได้ และกลุ่มสาระนาฏศิลป์สามารถนำไปใช้ประกอบ เสริมสร้างบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นให้น่าสนใจและสนุกสนาน เรียนรู้โดยไม่เบื่อหน่ายอีกด้   
การนำหลักสูตรกลุ่มสาระศิลปะไปใช้ (ตอนที่ 4)
          การนำหลักสูตรสู่ห้องเรียนบางครั้งไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงสาระการเรียนรู้เฉพาะเท่านั้นแต่ยังสามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นได้ และกลุ่มสาระนาฏศิลป์สามารถนำไปใช้ประกอบ เสริมสร้างบทเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นให้น่าสนใจและสนุกสนาน เรียนรู้โดยไม่เบื่อหน่ายอีกด้วย

การสอนดนตรีนาฏศิลป์สัมพันธ์กับวิชาอื่นๆ
     การนำสาระนาฏศิลป์ไปสัมพันธ์กับกลุ่มสาระอื่นแตกต่างจากการสอนนาฏศิลป์โดยตรงเพราะไม่ได้เน้นที่การร้องรำแต่นำมาประกอบเพื่อให้บทเรียนบทนั้นเกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ดังนี้
    1. ให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในบทเรียนจนสามารถแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมได้
    2. เป็นกิจกรรมที่เสริมและช่วยให้นักเรียนจำและเข้าใจบทเรียนอย่างลึกซึ้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้ดียิ่งขึ้น
    3. นักเรียนได้รับความเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายในวิชาเรียน
    4. สร้างเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
    5. นักเรียนได้รับความรู้จากบทเรียนโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นลักษณะการเรียนปนเล่น
    6. นักเรียนได้รับการส่งเสริมการพัฒนาทางอารมณ์
    7. ส่งเสริมการพัฒนาการทางสังคม ช่วยให้นักเรียนมีโอกาสติดต่อสมาคมและร่วมงานกันได้ดี

หลักการนำวิชานาฏศิลป์ไปสัมพันธ์กับการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
    1. ระลึกเสมอว่า  กิจกรรมนาฏศิลป์เป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น ความสำคัญอยู่ที่วิชาสามัญ
    2. ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับบทเรียน
    3. พิจารณาจัดแบ่งเวลาในการนำกิจกรรมเข้าแทรกในบทเรียน  ไม่ควรเกิน 5-10 นาที ในการสอน 1 ชั่วโมง

ลักษณะของกิจกรรม
    1. การร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเรียน
    2. ร้องเพลงและแสดงท่าประกอบ
    3. แสดงละครสั้น ๆ หรือบทสนทนาโต้ตอบเกี่ยวกับบทเรียน
    4. เล่นเกมเกี่ยวกับบทเรียน
    5. ร้องเพลงเกี่ยวกับบทเรียน

ข้อควรปฏิบัติของครูเมื่อนำกิจกรรมนาฏศิลป์มาใช้เสริม
    1. เตรียมตัวก่อนถึงชั่วโมง เช่น เตรียมเพลง  อุปกรณ์ประกอบ เครื่องประกอบจังหวะต่างๆ 
    2. ควรให้นักเรียนทั้งชั้นร่วมกิจกรรมเพราะธรรมชาติของเด็กชอบแสดงออกอยู่แล้ว
    3. ให้ความสำคัญกับเด็กอย่างทั่วถึงใช้จิตวิทยาจูงใจให้เข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนที่ไม่ค่อยแสดงออกต้อง
ให้ความสนใจเป็นพิเศษ
    4. ครูควรร่วมกิจกรรมกับอย่าให้เด็กทำกิจกรรมเพียงลำพัง
    5. ทำจิตใจให้แจ่มใสเป็นกันเองกับเด็ก
    6. ปรับตัวให้เข้ากับเด็กทุกวัย
    7. รู้จักแก้ปัญหา ปรับแผนตามสถานการณ์ ความจำเป็น ความเหมาะสมเพราะอาจมีปัญหาหรือไม่มีก็ได้
ที่มา: อมรา  กล่ำเจริญ. วิธีสอนนาฏศิลป์.  วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา. 2535. 
                                                                                     

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3116

อัพเดทล่าสุด