ขับขานประสานเสียง


706 ผู้ชม


กิจกรรมการเรียนรู้ฝึกพื้นฐานการขับร้องเพลงเบื้องต้นสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ (ดนตรี)ในขั้นพื้นฐาน   

                           ขับขานประสานเสียง 

                                                                                 ที่มาภาพ

               การประกวดร้องเพลงรูปแบบใหม่ KPN AWARD 2010 เพื่อชิงรางวัลแห่งเกียรติยศ ถ้วยพระราชทานจาก  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ เงินรางวัลจำนวน 1 ล้านบาท กำลังเข้มข้นทุกสัปดาห์ใครจะเป็นของผู้ที่มีความสามารถในการร้องเพลงที่ดีที่สุดและได้รับตำแหน่งชนะเลืศคงต้องติดตามต่อไป   
(ที่มาข่าว )

 สาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระที่ ๒  ดนตรี )
              มาตรฐาน ศ ๒.๑  เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน
             มาตรฐาน ศ ๒.๒  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่ เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล

ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง    ศ ๒.๑ ป.๑/๓-๔, ป.๒/๓-๔, ป.๓/๔, ป.๔/๕, ป.๕/๕-๖, ป.๖/๔

สาระสำคัญ
            การร้องเพลงเป็นการทำอะไรหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกันต้องใช้สมาธิและสมองสั่งการคิดมากกว่าปกติ
การฝึกต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทุกอย่าง อย่างเคร่งครัด โดยเริ่มจากการฝึกการหายใจเป็นอันดับแรกตามลำดับต่อไป


การฝึกหัดขับร้องเพลงแนวสากล

                                           ขับขานประสานเสียง
                                                                           (ที่มาภาพ)


              ๑. การวอร์มเสียง คือการวอร์ม ทำให้สามารถเปล่งเสียงได้ในช่วงที่กว้างขึ้น เสียงต่ำได้มากขึ้น เสียงสูงได้มากขึ้น สามารถควบคุมเสียงได้ง่ายและนิ่งการวอร์มเป็นการเตรียมกล้ามเนื้อที่จะใช้งานในการร้องเพลงให้พร้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการร้องเพลงให้ดีขึ้น และลดอาการบาดเจ็บเมื่อเราดึงศักยภาพสูงสุดออกมาใช้งานทั้งเวลาซ้อมและเวลาการร้องจริง ทำให้เรามีพัฒนาการที่ดีขึ้น การวอร์มเสียงควรทำแต่พอดีไม่มากหรือน้อยไปในแบบฝึกตัวโน้ตการไล่เสียงที่แตกต่างกันไป

                                                ขับขานประสานเสียง                                             ขับขานประสานเสียง


                   ๒. เทคนิคการร้องเพลง (Stnging) เป็นศิลปะการแสดงดนตรีที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เสียงขับร้อง(Voice) มีความแตกต่างกันไปในมนุษย์แต่ละคน การร้องเพลงนับเป็นศาสตร์ที่อาศัยอวัยวะกล่องเสียงเป็นสำคัญ ซื่งถือเป็น เครื่องดนตรีประจำตัว ของผู้ร้องเพลงการร้องเพลงจะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ นับตั้งแต่บริเวณส่วนท้อง  กะบังลม  ปอด  หลอดลม  กล่องเสียง  อวัยวะในปากทั้งหมดโพรงจมูก และบริเวณส่วนกะโหลกศีรษะ  

                                          ขับขานประสานเสียง
                                                                              (ที่มาภาพ)
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้หลักวิธีการฝึกที่ถูกต้อง
          ๑.ปฎิบัติตามขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ในการร้องเพลงที่ถูกต้อง
          ๒.ปฏิบัติการฝึกลมหายใจ(Breathing)
          ๓.ฝึกปฏิบัติการเปิดลำคอ (Open Throat)
          ๔.ศึกษาการใช้เสียงให้ถูกตำแหน่ง (Voice Register)
          ๕.ศึกษาเรื่องการออกเสียงสระ พยัญชนะ
          ๖.ปฏิบัติฝึกการร้องบันไดเสียง
          ๗.ฝึกปฏิบัติความคล่องแคล่วของเสียง
          ๘.ปฏิบัติฝึกร้อง Arpeggio

                                          ขับขานประสานเสียง
                                                                               (ที่มาภาพ)

            ๓.ฝึกปฏิบัติการขับร้อง
            การร้องเสียงเดียว (Unison Singing) คือ การร้องที่มีทำนองเพียงแนวเดียว โดยอาจใช้ผู้ร้องคนเดียว ซึ่งเป็นการร้องเดี่ยว(Solo Singing) หรือมีผู้ร่วมร้องกันหลายคน คือการร้องหมู่  (Unison Singing)  ในการจัดกิจกรรมในชั้นเรียนมักใช้การร้องหมู่เพราะทุกคนได้มีส่วนร่วม       โดยมีกระบวนการดังนี้
           ๑.นักเรียนศึกษาความรู้จากใบความรู้เรื่อง การร้องเสียงเดียว
           ๒.นักเรียนทำความเข้าใจเนื้อเพลง สัญลักษณ์ในบทเพลง
           ๓.นักเรียนปฏิบัติการร้องเพลงนานาชาติง่าย ๆ 
           ๔.นักเรียนปฏิบัติการร้องเพลงไทยสากล
           ๕. นักเรียนปฏิบัติการร้องเพลงพระราชนิพนธ์

สื่อการเรียนรู้
         ๑.แบบฝึกเทคนิคการร้องเพลง
         ๒.โน้ตเพลง
        ๓.เครื่องบันทึกเสียง

การวัดและประเมินผล
     วิธีการวัด
           - สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
           - การปฏิบัติการร้องเพลง
     เครื่องมือ
          - แบบสังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
          - แบบบันทึกการปฏิบัติการร้องเพลง


เชื่อมโยงในองค์ความรู้
       คณิตศาสตร์                             การนับจำนวน  คำนวนขนาด รูปทรง  รูปร่างเส้นเรขาคณิต            
       ภาษาไทย                               การเขียน  การอธิบาย ลักษณะวิธีการฝึกปฏิบัติการร้องเพลง  
       วิทยาศาสตร์                            การกำเนิดเสียง  ระบบอวัยวะภายในร่างกาย
       สังคมศึกษา                             วัฒนธรรมประเพณี  ธรรมเนียมในการแสดง การร้องเพลงต่างเชื้อชาติ
       สุขศึกษาและพลศึกษา               กิจกรรมเข้าจังหวะประกอบการร้องเพลง  การดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย
       การงานอาชีพฯ              การพัฒนาสู่การเป็นนักร้องมืออาชีพ  ICT 
       ภาษาต่างประเทศ            การขับร้องเพลงนานาชาติ  เรียนรู้คำศัพท์ ประโยคสนทนา จากบทเพลง
       ศิลปะ             (ทัศนศิลป์) การสร้างงานศิลปะจากบทเพลง   (นาฏศิลป์)การออกแบบท่าทางประกอบบทเพลง
       บูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้      สามารถนำมาใช้เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน   กิจกรรมกระตุ้นเร้าความสนใจการเรียนรู้ของผู้เรียน
              สอดแทรกในกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

 เพิ่มเติมกิจกรรมนำไปใช้
        -  ให้นักเรียนได้มีโอกาสรับฟังการร้องเพลงในรูปแบบต่าง ๆ
        -  เชิญผู้ที่มีความรู้ เชี่ยวชาญในการร้องเพลง
        -  กิจกรรมประกวดการร้องเพลงทั้ง เพลงไทยเดิม เพลงไทยลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงพระราชนิพนธ์ และเพลงสากล
       
      
ข้อคำถามสานต่อความคิด
         -  การวอร์มเสียงมีประโยชน์อย่างไร
         -  เราจะมีเทคนิคในการร้องเพลงอย่างไรให้ดีมีคุณภาพ
         -   วิธีการฝึกปฏิบัติการร้องเพลงมีลำดับขั้นตอนอย่างไร
         - การจะเป็นนักร้องที่ดีมีคุณภาพควรมีการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเพราะเหตุใด

        
อ้างอิงที่มาข้อมูล
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,  แนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระ
                   การเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา,
 ๒๕๕๒. 
พงศ์พันธุ์ ไชยบุญเรือง, แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระศิลปะ(ดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖, ๒๕๕๑
https://pop-u.com

อ้างอิงที่มารูปภาพ
https://music.mthai.com
songburi.com
i1.ytimg.com
ht//modernine.mcot.net

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3300

อัพเดทล่าสุด