ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑


712 ผู้ชม


การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่   

ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๑

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

          การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ  ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด 
ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการตัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

          เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์

มาตรฐาน ศ.๑.๑ สร้างสรรค์งานศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ที่ ๑  อภิปรายเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์
                  สร้างขึ้น
ตัวชี้วัด ที่ ๒ บอกความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ตัวชี้วัด ที่ ๓ มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์

ผู้เรียนรู้อะไร


          รูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ความรู้สึกในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          การใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี สร้างงานทัศนศิลป์

ผู้เรียนทำอะไรได้


          อภิปรายเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          บอกความรู้สึกในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          มีทักษะพื้นฐานในการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ เช่น 

ทักษะการคิด
          ๑. ทักษะการสังเกต
          ๒. ทักษะการจำแนกประเภท
          ๓. ทักษะการพูด
          ๔. ทักษะการนำความรู้ไปใช้

ชิ้นงาน / ภาระงาน


          อภิปรายแสดงความคิดเห็นเสนอมุมมองของตนเองต่อสิ่งที่มองเห็นตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          อภิปรายแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          วาดภาพระบายสีหรืองานปั้น

แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด


          ๑. สังเกตเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติและ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๒. จำแนกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๓. เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะและขนาดโดยบอกความเหมือน ความแตกต่าง
          ๔. การอภิปรายแสดงความคิดเห็น
          ๕. สังเกตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          ๖. บอกความรู้ของตนเองที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
          ๗. ทบทวนความรู้เกี่ยวงานทัศนศิลป์
          ๘. นำเสนอวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างงาน ทัศนศิลป์ เช่น อุปกรณ์ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี 
          ๙. เปรียบเทียบผลงานวาดภาพด้วยวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ
          ๑๐. นำความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุและอุปกรณ์มาใช้ในการวาดภาพ ระบายสี หรืองานปั้น

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

ความคิดรวบยอด


          รูปร่างลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ  รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความแตกต่างกัน ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกัน สามารถถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกสู่งานศิลป์ โดยรู้จักเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างเหมาะสม

สาระการเรียนรู้


          ๑. รูปร่าง ลักษณะของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๒. ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น รู้สึกประทับใจกับความงามของบริเวณรอบอาคารเรียนหรือรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบของสภาพภายในห้องเรียน
          ๓. การรู้จักเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี สร้างงานทัศนศิลป์

ทักษะการคิด
          ๑. ทักษะการสังเกต
          ๒. ทักษะการสำรวจ
          ๓. ทักษะการจำแนกประเภท
          ๔. ทักษะการนำความรู้ไปใช้

ชิ้นงาน/ภาระงาน


          ๑. อภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๒. เขียนบรรยายความรู้สึกที่มี

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้


          ๑. สังเกตเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัว ปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๒. จำแนกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๓. เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะและขนาด โดยบอกความเหมือน ความแตกต่างและบอกความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่สังเกตและจำแนก
 
         ๔. อภิปรายเกี่ยวกับความเห็นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัว ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
          ๕. อธิบายความรู้และซักถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างงาน
          ๖. สรุปความรู้ร่วมกัน
          ๗. นำความรู้เกี่ยวกับการใช้ วัสดุ อุปกรณ์มาใช้ในการสร้างงานสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ เช่น วาดภาพ หรืองานปั้นอย่างเหมาะสม

ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา

  

       แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานศิลป์                                                              เวลา  ๓  ชั่วโมง

ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ.............          ...................................ผู้สอน
............................................................................................................................................................

สาระที่ ๑ ทัศนศิลป์


มาตรฐาน ศ.๑.๑
 สร้างสรรค์งานศิลป์ตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ที่ ๑  อภิปรายเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์
                  สร้างขึ้น
ตัวชี้วัด ที่ ๒ บอกความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ตัวชี้วัด ที่ ๓ มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ สร้างงานทัศนศิลป์

ความคิดรวบยอด


          
รูปร่างลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ  รอบตัวในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มีความแตกต่างกัน ทำให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกัน สามารถถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึกสู่งานศิลป์ โดยรู้จักเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์อย่างเหมาะสม

จุดประสงค์การเรียนรู้

          ๑. สามารถบรรยายรูปร่าง ลักษณะของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นได้
          ๒. นักเรียนสามารถบอกความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น รู้สึกประทับใจกับความงามของบริเวณรอบอาคารเรียนหรือรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบของสภาพภายในห้องเรียนได้
          ๓. สามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี สร้างงานทัศนศิลป์ได้

สาระการเรียนรู้
          
๑. รูปร่าง ลักษณะของสิ่งต่างๆ รอบตัวในธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๒. ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น รู้สึกประทับใจกับความงามของบริเวณรอบอาคารเรียนหรือรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบของสภาพภายในห้องเรียน
          ๓. การรู้จักเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี สร้างงานทัศนศิลป์

 

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)

          ๑. สังเกตเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัว ปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๒. จำแนกสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
          ๓. เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะและขนาด โดยบอกความเหมือน ความแตกต่างและบอกความรู้สึกเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่สังเกตและจำแนก
          ๔. อภิปรายเกี่ยวกับความเห็นเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะและขนาดของสิ่งต่างๆ รอบตัว ว่าเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
          ๕. อธิบายความรู้และซักถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างงาน
          ๖. สรุปความรู้ร่วมกัน
          ๗. นำความรู้เกี่ยวกับการใช้ วัสดุ อุปกรณ์มาใช้ในการสร้างงานสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ เช่น 
วาดภาพ หรืองานปั้นอย่างเหมาะสม

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น
          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          ๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
          
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

สื่อการจัดการเรียนรู้
          
๑.วัสดุตามธรรมชาติในท้องถิ่น
          ๒. สิ่งแวดล้อมรอบอาคารเรียน (สื่อของจริง)
 
         ๓. ดินเหนียว ดินน้ำมัน ดินสอ พู่กัน กระดาษ สีเทียน สีน้ำ ดินสอสี

การวัดและประเมินผล
          
๑. การสังเกต
          
   - การแสดงออกของนักเรียน
             - การร่วมกิจกรรม
          
๒. ตรวจผลงานนักเรียน

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3599

อัพเดทล่าสุด