ตัวชี้วัดตามหลักสูตร>>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๘


478 ผู้ชม


การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด   

ตัวชี้วัดจากหลักสูตร >>>>สู่แผนการสอนศิลป์ ตอนที่ ๘

การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

          การวิเคราะห์ตัวชี้วัดสู่การพัฒนาทักษะการคิดกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยวิเคราะห์เป็น ๔ ประเด็น คือ  ตัวชีวิตแต่ละตัวผู้เรียนควรมีความรู้อะไรและทำอะไรได้ ทักษะการคิด ชิ้นงาน/ภาระงาน และแนวการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ในแต่ละประเด็นจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและสะท้อนคุณภาพผู้เรียนตามตัวชี้วัด

          เพื่อให้ง่ายแก่การนำไปใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียนของท่าน ขอนำเสนอเรียงตามลำดับสาระย่อย ดังนี้

สาระที่ ๒ ดนตรี

มาตรฐาน ศ.๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ที่ ๔ มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน

ผู้เรียนรู้อะไร

          การร้องเพลง การเคาะจังหวะ การเคลื่อนไหวประกอบท่าทางเป็นกิจกรรมทางดนตรีที่สนุกสนาน

ผู้เรียนทำอะไรได้

          ๑. ฟังและร้องเพลงที่ชื่นชอบ / เคาะจังหวะ
          ๒. เคลื่อนไหวร่างกายประกอบบทเพลง
          ๓. มีส่วนร่วมกิจกรรมดนตรีด้วยความสนุกสนาน

ทักษะการคิด

          ๑. ทักษะการพูด
          ๒. ทักษะการนำความรู้ไปใช้

ชิ้นงาน / ภาระงาน

          ๑. ร้องเพลงที่ชื่นชอบ
          ๒. แสดงการการเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงด้วยความสนุกสนาน
          ๓. แสดงความคิดเห็นต่อผลงานของตนเองและเพื่อน

แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด

          ๑. ฟังเพลงที่กำหนดพร้อมทั้งเคาะจังหวะและเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระด้วยความสนุกสนาน
          ๒. แบ่งกลุ่มร้องเพลงที่ชื่นชอบและเคาะจังหวะโดยเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระด้วยความสนุกสนาน
          ๓. แสดงความคิดเห็นต่อผลงานของตนเองและเพื่อน


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

 ความคิดรวบยอด

          การมีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีทำให้เกิดความสนุกสนาน

สาระการเรียนรู้

          กิจกรรมดนตรี
          - การร้องเพลง
          - การเคาะจังหวะ
          - การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงตามความดัง- เบา ของบทเพลงตามความช้า – เร็วของจังหวะ  

แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

          ๑. ฟังเพลงที่กำหนด เคาะจังหวะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระด้วยความสนุกสนาน
          ๒. แบ่งกลุ่มร้องเพลงที่ชื่นชอบ เคาะจังหวะ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระด้วยความสนุกสนาน
          ๓. แสดงความคิดเห็นต่อผลงานของตนเองและของเพื่อน

ที่มา : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. : แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นบาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับประถมศึกษา


    แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (สาระดนตรี) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
เรื่อง ความรู้พื้นฐานงานดนตรี                                                              เวลา  .....  ชั่วโมง

ใช้สอนวันที่ ............. เดือน....................................พ.ศ.............          ...................................ผู้สอน
...............................................................................................................................................
.............

สาระที่ ๒ ดนตรี

มาตรฐาน ศ.๒.๑ เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัด ที่ ๔ มีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีอย่างสนุกสนาน

ความคิดรวบยอด

          การมีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีทำให้เกิดความสนุกสนาน

จุดประสงค์การเรียนรู้

          ๑. ฟังและร้องเพลงที่ชื่นชอบ / เคาะจังหวะได้ถูกต้องตามจังหวะ
          ๒. เคลื่อนไหวร่างกายประกอบบทเพลงได้ถูกต้องตามจังหวะ
          ๓. นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมดนตรีด้วยความสนุกสนาน

สาระการเรียนรู้

          กิจกรรมดนตรี
          - การร้องเพลง
          - การเคาะจังหวะ
          - การเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงตามความดัง- เบา ของบทเพลงตามความช้า – เร็วของจังหวะ  

กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ (ปรับได้ตามความเหมาะสม)

          ๑. ฟังเพลงที่กำหนด เคาะจังหวะเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระด้วยความสนุกสนาน
          ๒. แบ่งกลุ่มร้องเพลงที่ชื่นชอบ เคาะจังหวะ เคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระด้วยความสนุกสนาน
          ๓. แสดงความคิดเห็นต่อผลงานของตนเองและของเพื่อน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น

          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
          ๒.กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา
          
๓. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
          ๔. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          ๕. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
          
๖. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สื่อการจัดการเรียนรู้

          ๑. เพลงที่มีจังหวะช้า / เร็ว
          ๒. อุปกรณ์ที่ใช้เคาะจังหวะ

 การวัดและประเมินผล

          ๑. การสังเกต
          
   - การแสดงออกของนักเรียน
             - การร่วมกิจกรรม

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3606

อัพเดทล่าสุด