นาฏศิลป์พื้นบ้าน


4,421 ผู้ชม


อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น   

               การแสดงนาฏศิลป์ท้องถิ่นของไทย

นาฏศิลป์พื้นบ้าน

                      ที่มาภาพ:https://www.thairath.co.th

         สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ร่วมกับนักแสดง 10 มณฑลของจีน สานความสัมพันธ์ครบรอบ 35 ปีไทย-จีนในเทศกาลตรุษจีน เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของชาวจีนที่บริเวณถนนเยาวราชในชื่องาน ตรุษจีน ไชน่าทาวน์ 2553 สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ได้เตรียมชุดการแสดง 3 ชุด ประกอบด้วย 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดนาฏศิลป์ 4 ภาค แนวอนุรักษ์ ได้แก่ ฟ้อนก๋ายลายของภาคเหนือ มวยโบราณออกลำเพลินของภาคอีสาน ระบำชนไก่ภาคใต้และเถิดเทิงกลองยาวของภาคกลาง ชุดนาฏศิลป์ 4 ภาคแนวสร้างสรรค์ ได้แก่ ชุดชาวดอย ชุดรับขวัญข้าว ชุดรอยอีสาน และชุดล่องใต้ ส่วนชุดสุดท้ายคือชุดการแสดงรำถวายพระพร และการแสดงสร้างสรรค์ ชุดสิงหลีลา  จีนได้นำการแสดงสุดยอดศิลปวัฒนธรรมจาก 10 มณฑล ได้แก่ การแสดงในราชสำนัก กายกรรม มวยกังฟู ดนตรีจีน หุ่นกระบอก ระบำชนเผ่า ระบำมองโกล ระบำเจียงหนาน ตลอดจนการแสดงเปลี่ยนหน้ากากจากมณฑลเสฉวน  รายได้ทั้งหมดจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : มาลี ไชโย   Rewriter : สุนันทา สุขสุมิตร
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ : https://thainews.prd.go.th

         การเผยแพร่วัฒนธรรมไทยด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อสานความสัมพันธ์ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยในด้านการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ ทั้ง 4 ภาค 
        เนื้อหาสำหรับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ (ดนตรี -นาฏศิลป์)  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


                                                               การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง 4 ภาค
ภาคเหนือ

        จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือเรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น ภาคเหนือนี้มีการแสดงหรือการร่ายรำที่มีจังหวะช้า ท่ารำที่อ่อนช้อย นุ่มนวล เพราะมีอากาศเย็นสบาย ทำให้จิตใจของผู้คนมีความนุ่มนวล อ่อนโยน ภาษาพูดก็นุ่มนวลไปด้วย เพลงมีความไพเราะ อ่อนหวาน ผู้คนไม่ต้องรีบร้อนในการทำมาหากิน สิ่งต่างๆ เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของภาคเหนือนาฏศิลป์ของภาคเหนือเช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนมาลัย ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาบ ฟ้อนเชิง(ฟ้อนเจิง) ตีกลองสะบัดไชย ซอ ค่าว นอกจากนี้ นาฏศิลป์ของภาคเหนือยังได้รับอิทธิพลจากประเทศใกล้เคียง ได้แก่ พม่า ลาว จีน และวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อย เช่น ไทยใหญ่ เงี้ยว ชาวไทยภูเขา ยอง เป็นต้นดังนั้น นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือ นอกจากมีของที่เป็น "คนเมือง" แท้ๆ แล้วยังมีนาฏศิลป์ที่ผสมกลมกลืนกับชนชาติต่างๆ และของชนเผ่าต่างๆ อีกหลายอย่าง เช่น อิทธิพลจากพม่า เช่น ฟ้อนม่านมงคล ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา นาฏศิลป์ของชนเผ่าต่างๆ เช่น ฟ้อนนก(กิงกาหล่า - ไทยใหญ่) ฟ้อนเงี้ยว (เงี้ยว) ระบำเก็บใบชา(ชาวไทยภูเขา)เป็นต้น

ฟ้อนสาวไหม

 นาฏศิลป์พื้นบ้าน

                                                         ที่มาภาพ: https://www.bloggang.com

                                                           ที่มาวิดิโอ:https://youtu.be/1ATv9jK6MFs
         ฟ้อนสาวไหม เป็นการฟ้อนพื้นเมืองที่เลียนแบบมาจากการทอผ้าไหมของชาวบ้าน การฟ้อนสาวไหมเป็นการฟ้อนรำแบบเก่า เป็นท่าหนึ่งของฟ้อนเจิงซึ่งอยู่ในชุดเดียวกับการฟ้อนดาบ ลีลาการฟ้อนเป็นจังหวะที่คล่องแคล่วและรวดเร็ว (สะดุดเป็นช่วง ๆ เหมือนการทอผ้าด้วยกี่กระตุก)
ที่มา:https://www.bloggang.com

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติผีและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น 
นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น

เซิ้งสวิง

 นาฏศิลป์พื้นบ้าน
ที่มาภาพ:https://www.bloggang.com

 

                                                              ที่มาวิดิโอ:https://youtu.be/9wz10XfETTU
          เป็นการละเล่นพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในท้องถิ่นอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นการละเล่นเพื่อส่งเสริมด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ โดยมีสวิงเป็นเครื่องมือหลัก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านผู้เชี่ยวชาญนาฎศิลป์ไทย กรมศิลปากร จึงได้นำท่าเซิ้งศิลปะท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เป็นท่าที่กระฉับกระเฉงขึ้น โดยสอดคล้องกับท่วงทำนองดนตรี ที่มีลักษณะสนุกสนานร่าเริง เครื่องดนตรี ที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงชุดเซิ้งสวิง ได้แก่ กลองยาว กลองแต๊ะ แคน ฆ้องโหม่ง กั๊บแก๊บ ฉิ่ง ฉาบ กรับ

การแต่งกาย
        ชาย    สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย มีผ้าขาวม้าโพกศีรษะและคาดเอว มือถือตะข้อง 
        หญิง   นุ่งผ้าซิ่นพื้นบ้านอีสาน ผ้ามัดหมี่มีเชิงยาวคลุมเข่า สวมเสื้อตามลักษณะผู้หญิงชาวภูไท คือสวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด ผ่าอก ประดับเหรียญโลหะสีเงิน ปัจจุบันใช้กระดุมพลาสติกสีขาวแทน ขลิบชายเสื้อ คอ ปลายแขน และขลิบผ่าอกตลอดแนวด้วยผ้าสีตัดกัน เช่น สีเขียวขลิบแดง หรือสวมเสื้อกระบอกคอปิด ผ่าอก ห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้อ สวมสร้อยคอโลหะทำด้วยเงิน ใส่กำไลข้อมือและกำไลข้อเท้า ผมเกล้ามวยสูงไว้กลางศีรษะ ทัดดอกไม้ 
มือถือสวิง
ที่มา: https://www.bloggang.com

ภาคกลาง
             การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง เป็นศิลปะการรำ และการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิต และเพื่อความบันเทิง สนุกสนานเป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยว ส่วนมากเป็นการละเล่นประเภทการร้องโต้ตอบกันระหว่าง ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องด้นกลอนสด เช่น ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ เพลงเหย่อย รำเถิดเทิง ฯลฯ ใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และ โหม่ง

เต้นกำรำเคียว

นาฏศิลป์พื้นบ้าน

ที่มาภาพ: https://www.lks.ac.th
(ภาพจากปฏิทินของธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดย กรมศิลปากร)

 ที่มาวิดิโอ: https://youtu.be/U0iEK7DJzXQ

 ภาคใต้   
               การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่ม คือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลบอก เพลงนา วัฒนธรรมไทยมุสลิม ลักษณะการแสดงส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของมาเลเซีย เช่น รองเง็ง ซำเป็ง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู และ ซิละ นอกจากนี้ยังมีระบำที่ปรับปรุงมาจากกิจกรรมในวิถีชีวิตศิลปาชีพต่าง ๆ เช่น ระบำร่อนแร่ ระบำตารีกีปัส ระบำปาเต๊ะ ระบำกรีดยาง เป็นต้น
 มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญคือ กลองโนรา กลองโพน กลองโทน ทับ โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน แอคคอเดียน ฯลฯ 
 
รองเง็ง

นาฏศิลป์พื้นบ้าน


ที่มาภาพ:https://www.lks.ac.th

(ภาพจากปฏิทินของธนาคารกรุงเทพ จำกัด โดย กรมศิลปากร)

 

 ที่มาวิดิโอ: https://youtu.be/Bo5MYHOl9N4

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
 1. นักเรียนชอบการแสดงพื้นเมืองภาคใดที่สุด
 2. ในท้องถิ่นของนักเรียนมีการแสดงพื้นเมืองอะไรบ้างยกตัวอย่าง
 3.นักเรียนจะอนุรักษ์การแสดงท้องถิ่นอย่างไรบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
 1.ครูผู้สอนควรยกตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองประจำท้องถิ่นของนักเรียนก่อน
 2. ครูผู้สอนควรสอนด้วยการอธิบายและสาธิตประกอบ
 3. ครูผู้สอนควรยกตัวอย่างการแสดงชาติอื่นประกอบด้วย
การบูรณาการกับสาระวิชาอื่นๆ
 1. สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี
 2. สาระศิลปะ (ทัศนศิลป์) วาดภาพการแสดงในท้องถิ่น
 3. สาระภาษาต่างประเทศ  คำศัพท์เฉพาะ
 4. สาระภาษาไทย คำศัพท์เฉพาะ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
 ที่มาภาพ:
 https://www.thairath.co.th/media/content/2010/02/07/630/63611.jpg
  https://www.bloggang.com/data/banrakthai/picture/1221627799.jpg
  https://www.bloggang.com/data/banrakthai/picture/1221629711.jpg
  https://www.lks.ac.th/thaidance/watana_kone_007.jpg
  https://www.lks.ac.th/thaidance/watana_kone_008.jpg
 ที่มาข้อมูล:  ผู้สื่อข่าว : มาลี ไชโย   Rewriter : สุนันทา สุขสุมิตร   สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ :https://thainews.prd.go.th
  https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=banrakthai
  
 ที่มาวิดิโอ:https://youtu.be/1ATv9jK6MFs
 ที่มาวิดิโอ:https://youtu.be/9wz10XfETTU
  ที่มาวิดิโอ: https://youtu.be/U0iEK7DJzXQ
  ที่มาวิดิโอ: https://youtu.be/Bo5MYHOl9N4
                              

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3781

อัพเดทล่าสุด