สมรรถภาพทางกาย/สมรรถภาพทางกลไก หรือสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ


994 ผู้ชม


สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกลไก และสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (คิดถึงสหวิทยา คิดถึงวัฒนา)   

สาระที่ 4   การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค

สมรรถภาพทางกาย/สมรรถภาพทางกลไก หรือสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ

ภาพจาก : ไทยกู๊ดวิลล์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  สาระที่ 4   การสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถภาพ และการป้องกันโรค   
มาตรฐานที่ พ 4.1  เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ 
      ครูผู้สอนมักประสบปัญหาว่าจะใช้แบบทดสอบอะไรดี หรือใช้แบบทดสอบสมรรถภาพของหน่วยงานไหนดี ถึงจะมีความ           เหมาะสมและสามารถวัดได้ถูกต้องตรงกับความต้องการของคุณครูและหลักสูตร  เพราะว่าแบบทดสอบสมรรถภาพ ที่มีอยู่มัน          หลากหลายจริงๆ  ก่อนอื่นขอให้คุณครูทำความเข้าใจกับคำว่า สมรรถภาพทางกาย   สมรรถภาพทางกลไก และสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ให้ดีเสียก่อนครับ และถ้าต้องการนำมาใช้ ต้องนำมาให้ครบทุกรายการครับถึงจะมีความสมบูรณ์และวัดได้ตรงกับความต้องการ คุณครูมาดูความหมายของสมรรถภาพ ก่อนครับ

          สมรรถภาพทางกาย   หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะสามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว และฟื้นตัวจากความเมื่อยล้า
จากการปฏิบัติภารกิจได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และร่างกายมีความต้านทานโรคสูง  ประกอบด้วย 
        1.ศักยภาพหรือความสามารถของระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือด  เรียกอีกอย่างว่า  ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด  หมายถึง  คุณสมบัติที่สามารถอดทนต่อการปฏิบัติกิจกรรมหนักได้เป็นระยะเวลานาน ๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า  สมรรถภาพของระบบไหลเวียนเลือด (Circulo = Respiratory Fitness)  หมายรวมอยู่ในกิจกรรมที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของร่างกายเป็นส่วนมาก เช่น  วิ่ง  ว่ายน้ำ  ขี่จักรยาน   
        2.ความอดทนของกล้ามเนื้อ  (Muscular Endurance)  หมายถึง  คุณสมบัติที่บุคคลสามารถเพียรพยายามทำงานในกิจกรรมที่ต้องใช้กลุ่มกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวกันเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ดึงข้อ  ดันพื้น  ลุกนั่ง 
        3.ความแข็งแรง  (Strength) หมายถึง  ความสามารถในการใช้แรงสูงสุดใมการทำงานเพียงครั้งเดียว มีอยู่  2  ลักษณะ  คือ
                    3.1 ความแข็งแรงแบบอยู่กับที่  (Isometric or Static Strength)  หมายถึง ลักษณะของการใช้แรงจำนวนสูงสุดในครั้งเดียว ที่บุคคลสามารถกระทำต่อแรงต้านทานชนิดอยู่กับที่ในขณะที่กล้ามเนื้อทั้งหมดกำลังหดตัว 
                    3.2 ความแข็งแรงแบบไม่อยู่กับที่  (Isotonic or Dynamic Strength)  หมายถึง จำนวนความต้านทานที่บุคคลสามารถกระทำให้ผ่านพ้นไปได้ระหว่างการใช้แรงในขณะมีการเคลื่อนที่อย่างเต็มแรงของข้อต่อเฉพาะแห่ง
หรือข้อต่อหลาย ๆ แห่งของร่างกายรวมอยู่ด้วยเช่น  การงอแขนยกบาร์เบล 
ดังนั้น  ความแข็งแรงจึงเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนหรือเฉพาะกลุ่มซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของแรงต้านทาน (หมายถึง  แรงต้านทานแบบอยู่กับที่หรือเคลื่อนที่) 
       4.ความยืดหยุ่น  (Flexibility) หรือความอ่อนตัว  หมายถึง  ศักยภาพหรือความสามารถพื้นฐานของข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ตลอดระยะเวลาของการเคลื่อนที่ตามปกติ  ความยืดหยุ่นจึงค่อนข้างเจาะจงลงที่ข้อต่อ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะ
ของกล้ามเนื้อและเอ็น (Musculature and Connective Tissue) รอบ ๆ ข้อต่อนั้นมากกว่าโครงสร้างของกระดูกข้อต่อเอง  (ยกเว้นกรณีที่เป็นโรคกระดูกเสื่อมหรือไม่สามารถทำงานได้) 
การเคลื่อนที่ของข้อต่อที่มากกว่าปกติ  คือความสามารถพิเศษที่เกิดจากการฝึกฝนของคนแต่ละคน  เช่น  ท่าทางต่าง ๆ ของนักกายกรรม  หรือนักยิมนาสติก  ซึ่งเป็นการกระทำที่คนปกติทำไม่ได้ 
        5.องค์ประกอบของร่างกาย  (Body  Composition)  จัดเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถภาพทางกาย  เพราะในปัจจุบันมีหลักฐานยืนยันได้ว่า ไขมันส่วนเกินที่เก็บเอาไว้ในร่างกายมีความเกี่ยวข้องกับ ข้อจำกัด  ของสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย  

         สมรรถภาพทางกลไก หมายถึง การวัดและประเมินค่าความสามารถในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ที่ส่งเสริมให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกลไกเป็นเครื่องมือ
ในการประเมินผล โดยมุ่งเน้นการทดสอบที่ครอบคลุมองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกลไกที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ              ในการทรงตัว ความอ่อนตัว ความคล่องแคล่วว่องไว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กำลังของกล้ามเนื้อ และความทนทานของกล้ามเนื้อ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ
       1) ความคล่องแคล่ว หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและควบคุมได้ รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ทดสอบ เช่น การวิ่งเก็บของการวิ่งซิกแซ็ก
       2) การทรงตัว หมายถึง ความสามารถในการรักษาความสมดุลร่างกายในขณะอยู่กับที่หรือขณะเคลื่อนที่รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ในการทดสอบ  
       3) การประสานสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการทำงานประสานสอดคล้องกันระหว่าง ตา-มือ-เท้า รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ในการทดสอบ  
      4) พลังกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่ออกแรงสูงสุดในเวลาสิ้นสุด รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ในการทดสอบ  
      5) เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง หมายถึง ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รูปแบบที่นิยมนำมาใช้ทดสอบ  
      6) ความเร็ว หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งอย่างรวดเร็ว รูปแบบที่นิยมมาใช้ทดสอบ
  
       สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ  หมายถึง ความสามารถของระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่เป็นความสามารถเชิงสรีรวิทยาของระบบที่จะช่วยป้องกันบุคคลจากโรคต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะของการขาดการออกกำลังกาย และถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คนเรามีสุขภาพที่ดี  ประกอบด้วย องค์ประกอบของร่างกาย ( Body  Composition) ตามปกติแล้วในร่างกายมนุษย์ประกอบด้วย กล้ามเนื้อ กระดูก ไขมัน และ ส่วนอื่นๆ แต่ในส่วนของสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพนั้น หมายถึง 
สัดส่วนปริมาณไขมันในร่างกายกับมวลร่างกายที่ปราศจากไขมัน  โดยการวัดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ไขมัน (% fat) ด้วยเครื่อง
       1. ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด (Cardiorespiratory Endurance) หมายถึง สมรรถนะเชิงปฏิบัติของระบบไหลเวียนเลือด (หัวใจ หลอดเลือด) และระบบหายใจในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อ 
ทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดที่จะทำงานหรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นระยะเวลายาวนานได้
      2. ความอ่อนตัวหรือความยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง พิสัยของการเคลื่อนไหวสูงสุดเท่าที่จะทำได้ของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อ
      3. ความอดทนของกล้ามเนื้อ ( Muscular  Endurance) หมายถึง  ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อ ในการหดตัวซ้ำๆ เพื่อต้านแรงหรือความสามารถในการหดตัวครั้งเดียวได้เป็นระยะเวลายาวนาน
      4. ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( Muscular  Strength) หมายถึง  ปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อสามารถออกแรงต้านทานได้ ในช่วงการหดตัว ๑ ครั้ง
คุณครูต้องพิจารณาสาระ ตัวชี้วัดให้ดีเสียก่อนนะครับ ก่อนที่จะทดสอบกับนักเรียนว่าหลักสูตร ต้องการอะไร...

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=240

อัพเดทล่าสุด