ขาใหญ่


984 ผู้ชม


อารมณ์โกรธและการใช้ความรุนแรงนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ซึ่งเป็นปกติที่เราจะมีอารมณ์โกรธหรืออยากใช้กำลังในการเอาชนะเมื่อถูกขัดใจหรือเพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ   

ขาใหญ่

ภาพจาก : อินเตอร์เน็ต

      อารมณ์โกรธและการใช้ความรุนแรงนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ซึ่งเป็นปกติที่เราจะมีอารมณ์โกรธหรืออยากใช้กำลังในการเอาชนะเมื่อถูกขัดใจหรือเพื่อให้ได้ซึ่งสิ่งที่ตนเองต้องการ   ในวัยเด็กจะเห็นว่าเขามีการแสดงออกของอารมณ์เหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา แต่เมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ประสบการณ์และวุฒิภาวะที่เป็นไปตามอายุ ทำให้เรารู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ และการแสดงออกของอารมณ์รุนแรงเหล่านี้ให้อยู่ในเกณฑ์ที่สังคมยอมรับได้ และไม่ทำร้ายผู้อื่น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรที่จะค่อยๆฝึกให้ลูกรู้จักที่จะรู้ถึงอารมณ์โกรธที่เกิดขึ้นในตัวเอง และรู้จักวิธีที่จะควบคุมอารมณ์นั้น และแสดงออกในเชิงที่สร้างสรรค์ ไม่เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณพ่อคุณแม่ว่าจะมีลูกเล่นอย่างไร

       เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้    สุขศึกษาและพลศึกษา (สุขศึกษา)
                                                                ช่วงชั้นที่ 2
  ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6   
        หน่วยการเรียนรู้ที่ 14     เรื่อง   การจัดการอารมณ์และความเครียด
        มฐ.พ. 4.1  ข้อ 4            จัดการกับอารมณ์และความเครียดเมื่อประสบปัญหา
        
หน่วยการเรียนรู้ที่ 18     เรื่อง   ความรุนแรง
        
มฐ.พ. 5.1  ข้อ 2            -  ตระหนักว่าทุกคนมีสิทธิ์ในตนเองและทรัพย์สิน 
                                              -  ปกป้องสิทธิของตนเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
                                              -  มีทักษะการสื่อสารเพื่อป้องกันปัญหาความรุนแรง
                                              -  รู้  เข้าใจ  ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

        ผู้ค้าย่านพัฒน์พงษ์ไม่พอใจ  ชุดจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์กวาดจับ แผงค้ารวมตัวล้อม
ทำร้ายเจ้าหน้าที่ จนเกิดตะลุมบอนขณะที่กลุ่มชายฉกรรจ์คว้าไม้ ขวด อิฐทุบรถตู้ขนสินค้าพังยับ ผู้การฯ 6 ต้องระดมกำลังเข้าระงับเหตุ ให้สองฝ่ายตั้งตัวแทนเจรจาหาข้อสรุป
         เมื่อเวลา 21.30 น. วานนี้(6 พฤษภาคม) เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมสินค้าละเมิดลิขสิทธ์ กระทรวงพาณิชย์ กับกลุ่มผู้ค้าตลาดพัฒน์พงษ์ แขวงสุริยวงศ์และเขตบางรัก กทม. โดยริเวณที่เกิดเหตุพบเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์กว่า 100 นาย เข้าปิดต้นซอยและท้ายซอยพัฒน์พงษ์ ทำการกวาดจับแผงค้าทุกแผงจนสร้างความไม่พอใจให้กลุ่มผู้ค้ากว่า 200 คน เพราะมีสินค้าจำนวนมากที่ถูกต้องตามกฏหมาย แต่เจ้าหน้ากลับกวาดจับสินค้าไปทั้งหมด และเกิดการกระทบกระทั่งตะลุมบอนกันขึ้น และมีชายฉกรรจ์ประมาณ 20 คน ถือไม้กรูเข้าทำร้ายเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งปาขวดและก้อนอิฐเข้าใส่ ทำให้มีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บหลายนาย อีกทั้งกลุ่มชายฉกรรจ์ได้ชักปืนยิงขึ้นฟ้า 4 นัดเพื่อข่มขู่ แต่เจ้าหน้าที่สามารถนำสินค้าของกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกระเป๋าและเสื้อผ้าแบรนด์เนมนำใส่รถตู้จำนวน 4 คัน และผู้ต้องหาจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปดำเนินคดีที่ สน.บางรัก 
อ้างอิง : คมชัดลึก 7 พ.ค. 52

           วัยรุ่น  เป็นวัยที่มีการปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม จึงทำให้
วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเผชิญกับความเครียดอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและพัฒนาการเหล่านี้อย่างมากตามไปด้วย นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศจนถึงระดับโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจการเมือง ค่านิยม และวัฒนธรรม ล้วนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นอย่างมาก รวมไปถึงการที่พ่อแม่และสังคมมีความคาดหวังต่อวัยรุ่นสูง โดยเฉพาะในด้านการเรียน ปัจจัยเหล่านี้รวมกันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นในปัจจุบัน ต้องเผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันมากกว่าวัยรุ่นในอดีต 

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริไชย หงส์สงวนศรี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี      ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้อย่างดีมาก     เริ่มด้วยให้คำจำกัดความของความเครียด หรือ “Stress” หมายถึง อารมณ์หรือความรู้สึกที่เกิดจากบุคคลประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสภาพแวดล้อมว่าอาจจะมีผลกระทบทางลบต่อสุขภาวะของตนเอง หรือความขัดแย้งภายในจิตใจที่ทำให้เกิดการเสียสมดุลของจิตใจ     และมีการแสดงออกทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และอาการทางกายที่เกิดจากการตื่นตัวของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ใจสั่น หายใจเร็วกว่าปกติ เป็นต้น   ดังนั้นต้นเหตุของความเครียดอาจเป็นผลจากการประเมินสถานการณ์  หรือเหตุการณ์ภายนอก หรือเกิดมาจากภายในจิตใจของตนเอง เช่น การคาดการณ์ล่วงหน้าในทางลบ ความขัดแย้งภายในจิตใจ รวมถึงความขัดแย้งในระดับจิตใต้สำนึก เป็นต้น ระดับความเครียดเกี่ยวข้องกับปัจจัยส่วนบุคคล  ปัจจัยสภาพแวดล้อม และความสามารถในการจัดการกับความเครียด 

       ปัจจัยส่วนบุคคล  มีความสำคัญต่อการเกิดความเครียดในด้านการให้ความสำคัญต่อปัญหา และความเครียดหรือมุมมองต่อปัญหาต่าง ๆ   แต่ละบุคคลให้ความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ แตกต่างกัน และมีมุมมองต่อปัญหาแต่ละเรื่องแตกต่างกัน เช่น บางคนมีมุมมองต่อปัญหาว่าเป็นการท้าทายและสามารถจัดการได้ แต่บางคนมีมุมมองว่าเป็นอุปสรรคและคิดว่าไม่สามารถจัดการได้ 
      ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ที่สัมพันธ์กับระดับความเครียด ได้แก่ การเป็นเรื่องใหม่ที่บุคคลไม่มีประสบการณ์มาก่อน ปัญหามีความรุนแรงหรือมีอันตรายสูงระยะเวลาและช่วงเวลาที่เกิดปัญหา 
มีความไม่ชัดเจนหรือความไม่แน่นอนสูง เป็นต้น         

       ความเครียดมีผลกระทบต่อวัยรุ่นและทุกวัย ทั้งทางด้านบวกและด้านลบ ความเครียด
ในระดับพอดีจะมีผลทางบวก ได้แก่ ความเครียดเรื่องผลการเรียนทำให้วัยรุ่นตั้งใจเรียน เป็นต้น ผลการวิจัยยังพบว่าความเครียดในระดับพอเหมาะทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำดีขึ้น แต่ความเครียดในระดับที่มากเกินไปกลับทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และความจำแย่ลง  ความเครียดในระดับรุนแรงเป็นเวลานานและไม่สามารถจัดการได้ ยังมีผลกระทบทางลบต่อทั้งสุขภาพจิตและปัญหาสุขภาพร่างกายอย่างมาก ผลทางสุขภาพจิต ได้แก่ ความวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย การมีพฤติกรรมเสี่ยงในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง และปัญหาการเรียน เป็นต้น และผลต่อสุขภาพร่างกาย ได้แก่ นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น หายใจไม่เต็มอิ่ม เป็นลม เป็นต้น ความเครียดมีผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายทุกระบบ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย หรืออาจทำให้เกิดความผิดปกติมากขึ้นในผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกัน  ระบบต่อมไร้ท่อที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนต่าง ๆ และระบบประสาทที่สัมพันธ์กับการเกิดโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้า และระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เส้นเลือดหัวใจตีบตัน เป็นต้น ในบางกรณีความเครียดอาจทำให้เกิดอาการป่วยที่เรียกว่ากลุ่มอาการ Hyperventilation syndrome คือ จะมีอาการใจสั่นแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มอิ่มเหมือนกับจะขาดใจตายจึงพยายามหายใจเร็ว จนทำให้ภาวะความเป็นกรดด่างในเลือดผิดปกติและระดับเกลือแร่ต่าง ๆ ในร่างกายเสียสมดุล และเกิดอาการปลายมือปลายเท้าชาและจีบเกร็งคล้ายกับมีอาการลมชักได้ ผลการวิจัยในประเทศไทยพบว่า วัยรุ่นถึงร้อยละ 35 มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายและวิตกกังวลสูงเมื่อมีปัญหาสะเทือนอารมณ์ 
        สาเหตุความเครียดของวัยรุ่น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกิดความเครียดบ่อย ๆ ได้แก่ 
         1. ปัญหาความสัมพันธ์และความขัดแย้งกับผู้อื่น เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อน เพื่อนต่างเพศ ครูอาจารย์ เป็นต้น 
         2. ปัญหาภายในครอบครัว เช่น ความรุนแรงในครอบครัว การทะเลาะเบาะแว้งและการทำร้ายร่างกายของพ่อแม่ การหย่าร้างของพ่อแม่ การเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตของพ่อแม่และญาติพี่น้อง การถูกพ่อแม่ลงโทษด้วยความรุนแรง การถูกพ่อแม่ตำหนิหรือดุว่าด้วยถ้อยคำรุนแรง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว 
        3. ปัญหาการเรียนและปัญหาอื่นในโรงเรียน พ่อแม่ในปัจจุบันมักคาดหวังกับลูกวัยรุ่นสูงในเรื่องการเรียน วัยรุ่นที่เรียนไม่เก่ง หรือเรียนได้ไม่ดีเท่าที่ควรจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น โรคสมาธิสั้น โรคทักษะด้านการอ่านบกพร่อง ขาดกำลังใจ เป็นต้น 
        4. ปัญหาสภาพแวดล้อมไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพ 
        5. ปัญหาจากตัววัยรุ่นเอง เช่น รูปร่าง หน้าตาและความเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงวัยรุ่น ความคิดความรู้สึกต่อตนเองในทางลบ รับผิดชอบกิจกรรมหลายอย่าง การมีความคาดหวังว่าต้องทำทุกอย่างสมบูรณ์แบบ การรับความคาดหวังจากพ่อแม่และผู้อื่นมาเป็นของตนเอง และป่วยเป็นโรคทางกายเรื้อรัง เป็นต้น 
         การจัดการกับความเครียด หรือ “Coping” หมายถึง ความพยายามในการแก้ไขความเครียดที่เกิดขึ้น โดยในที่นี้จะหมายถึง ความเครียดที่มากเกินกว่าความเครียดที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ ซึ่งสามารถใช้ความสามารถในการจัดการความเครียดระดับปกติจัดการได้ เป็นความพยายามทั้งทางด้านการควบคุมอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม และการตอบสนองทางสรีรวิทยาของร่างกาย รวมไปถึงความพยายามในการควบคุมปัจจัยสภาพแวดล้อมด้วย โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดความเครียดและทำให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตตามปกติได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดนั้นอาจเป็นปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายในตัวเองก็ได้ แม้ว่าการจัดการกับความเครียด เป็นความพยายามที่เกิดขึ้นในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่ ต่างจากกลไกทางจิต (defense mechanism) ที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึกทั้งหมด แต่การจัดการกับความเครียดบางส่วนก็เป็นผลจากการทำงานของจิตใจในระดับจิตไร้สำนึก หรือเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติต่อปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียด. อ้างอิง :www.Panyathai.or.th       

      ประเด็นคำถาม
        1. ถ้านักเรียนเกิดความเครียดจะทำอย่างไร
        2. กิจกรรมใดที่นักเรียนคิดว่าจะช่วยจัดการกับความเครียดได้ดีที่สุด
        3. นักเรียนจะมีวิธีจัดการกับความเครียดของตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงได้อย่างไร
        4. การกระทำใดที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น
        5. การกระทำใดเป็นการปกป้องสิทธิของตนเองที่ถูกต้อง
      กิจกรรมเสนอแนะ
        1. .ให้นักเรียนไปศึกษาเพิ่มเติมในห้องสมุดโรงเรียนหรือในอินเตอรฺเน็ต
        2.  จัดกิจกรรมนันทนาการให้นักเรียน
       การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
        1. คณิตศาสตร์  การสูญเสียรายได้จาการเก็บภาษี วิธีบวกและลบ
        2. 
วิทยาศาสตร์ การเกิดเสียงของอาวุธปืน 
        3. สังคมศึกษา  ประชาธิปไตย สิทธิและเสรีภาพของบุคคล      
      4. สุขศึกษาและพลศึกษา (พลศึกษา)  
ศิลปะการป้องกันตัว แม่ไม้มวยไทย
 


         
  อ้างอิงแหล่งที่มา : 
 https://www.matichon.co.th/

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=315

อัพเดทล่าสุด