สิ่งมีชิวิตทุกชนิดต้องดำรงไว้เผ่าพันธ์ของตนเอง คนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐแตกต่างจากสิ่งมีชืวิตขนิดอื่น การสืบพันธ์ของคนเป็นเรื่องธรรมชาติเมื่อถึงวัยเจริญพันธ์
สิ่งมีชิวิตทุกชนิดต้องดำรงไว้เผ่าพันธ์ของตนเอง คนเป็นสัตว์ที่ประเสริฐแตกต่างจากสิ่งมีชืวิตขนิดอื่น การสืบพันธ์ของคนเป็นเรื่องธรรมชาติเมื่อถึงวัยเจริญพันธ์
สาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานการเรียนรู้ พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิต ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำรงชืวิต
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สามารถอธิบายการตั้งครรภ์ได้
เมื่อเชื้อของผู้ชายหรือตัว sperm ถูกปล่อยเข้าในช่องคลอดเป็นล้านๆตัว ตัวที่แข็งแรงและว่ายได้เร็วจะผ่านไปยังปากมดลูก เข้าสู่มดลูก และไปเกิดปฏิสนธิที่ท่อรังไข่ ณ.ที่แห่งนี้การกำเนิดตัวอ่อนได้เริ่มขึ้น ตัวอ่อนที่แบ่งตัวจะเคลื่อนมาฝังตัวที่เยื่อบุมดลูก และเจริญเป็นทารก
ที่มา: https://www.thaigoodview.com
การตั้งครรภ์ คือ ช่วงระยะเวลาเริ่มหลังจากการปฏิสนธิ โดยที่ตัวอสุจิ (sperm) ผสม (conceive) กับ ไข่ (egg)ในสภาวะและเวลาที่เหมาะสม จนถึงการคลอด โดยในมนุษย์ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน
ที่มา: https://variety.teenee.com
สภาวะที่เหมาะสมในการเริ่มตั้งครรภ์
ไข่ต้องสมบูรณ์ โดยทั่วไปผู้หญิงจะมีไข่เดือนละ 1 ใบ อยู่ในรังไข่ข้างใดก็ได้ ประมาณกึ่งกลางรอบเดือนซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 14 หล้งจากวันที่มีประจำเดือนวันแรก ไข่จะเคลื่อนที่เพื่อเตรียมผสม อสุจิต้องแข็งแรงและมีปริมาณมากพอ ทั้งนี้เพราะกว่าจะไปถึงไข่ อสุจิต้องผ่านสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ผ่านโพรงมดลูก ในระหว่างนี้อสุจิบางส่วนอาจวิ่งไปคนละทางกับเป้าหมาย ทำให้เหลืออสุจิรอดไปถึงไข่ได้ไม่มาก สุดท้ายอสุจิที่หาไข่เจอจะต้องมีความสามารถในการเจาะไข่เพื่อผสมได้ด้วย จึงจะเกิดการตั้งครรภ์
อาการของการตั้งครรภ์
เมื่อมารดามีการตั้งครรภ์จะมีเริ่มมีอาการที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้เช่น การขาดประจำเดือน, การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของมารดา ถ้ามีความวิตกกังวลก็อาจทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนได้
ที่มา: https://www.babble.com
ที่มา: https://naramon-34.exteen.com
การปฏิบัติตนในระหว่างตั้งครรภ์
อาหาร เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะอาหารและทุกสิ่งที่คุณแม่รับประทานจะมีผลต่อทารกในครรภ์ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ วันละ 3 มื้อ อาหารที่ควรรับประทานได้แก่ อาหารที่มีโปรตีนและแคลเซียมสูง เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ ผักใบเขียว ผลไม้ รวมทั้งยา วิตามินที่ได้รับจากการฝากครรภ์
อาหารที่ไม่ควรรับประทาน ได้แก่ อาหารเผ็ดจัด เค็มจัด อาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ ของหมักดอง ผงชูรส ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอร์ บุหรี่
การขับถ่าย หญิงตั้งครรภ์มักจะมีปัญหาท้องผูก ซึ่งก็สามารถแก้ไขได้โดยการรับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ ได้แก่ ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ถ้าท้องผูกมาก ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์
ที่มา: http://blog.fukduk
การพักผ่อน ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง และควรหาเวลาพักผ่อนบ้างในตอนกลางวัน ไม่ควรยกของหนักและยืนนาน ๆ
การออกกำลังกาย จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี หญิงตั้งครรภ์สามารถทำงานบ้านได้ตามปกติ การเดินเล่นในที่อากาศปลอดโปร่ง บริหารกายด้วยท่าง่าย ๆ เป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่ไม่ควรหักโหมจนเหนื่อยหรืออ่อนเพลียเกินไป
ที่มา: https://sgstb.msn.com
การดูแลสุขภาพฟัน หญิงตั้งครรภ์มักมีปัญหาเหงือกอักเสบและฟันผุง่าย จึงควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ และพบทันตแพทย์อยู่เสมอเพื่อตรวจเช็คสุขภาพในช่องปาก
ที่มา : https://aksorn.com
สิ่งที่ควรนำมาโรงพยาบาลเมื่อมาคลอด ของใช้ส่วนตัวสำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับเด็กอ่อน
หลักฐานในการทำสูติบัตร ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส สำเนาทะเบียนสมรส (ถ้าจดทะเบียน) ชื่อบุตร (จะเป็นชื่อจริงหรือชื่อเล่นก็ได้)
อาการผิดปกติของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ที่ควรมาพบแพทย์ทันที
1.มีเลือดออกจากช่องคลอด เมื่อตั้งครรภ์ประมาณเดือนเศษ คุณแม่บางคนอาจจะมีเลือดออกมาทางช่องคลอดเพียงเล็กน้อย เพียงแค่วันสองวันก็จะเงียบหายไป เป็นเรื่องที่ปกติที่เรียกว่า "เลือดล้างหน้า" แต่ถ้าสามวันแล้วเลือดไม่ยอมหยุด แม้จะออกเพียงแค่กระปิดประปอยก็ตาม คุณแม่ก็ต้อง ไปพบแพทย์แล้ว เพื่อตรวจหาสาเหตุว่า เลือดนั้นออกมาจากตรงส่วนไหน หรือจากอะไรกันแน่ เป็นการตั้งครรภ์ไข่ฝ่อ คือไม่มีตัวเด็กหรือเปล่า หรือว่าเป็นอย่างอื่น เพราะการที่เลือดออกหลายๆ ครั้งในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น มันเป็นเรื่องที่ผิดปกติอย่างแน่นอน
2.อาการปวดท้อง หรือเป็นตะคริว ซึ่งเพิ่มความปวดขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการปวดมากกว่า 24 ชั่วโมง
3.มีน้ำเดิน (สิ่งขับถ่ายทางช่องคลอด) บางครั้งที่น้ำเดินเกิดขึ้นห่างจากวันครบกำหนดคลอดมาก ลูกในครรภ์ก็ยังเล็กอยู่ เมื่อประสบเหตุการณ์เช่นนี้ไม่ว่าลูกจะครบกำหนดหรือไม่ ควรรีบไปหาหมอทันที หมอจะทำการตรวจภายในเพื่อดูว่าเยื่อหุ้มลูกแตกหรือไม่ หรือถ้ายังไม่ครบกำหนดคลอด แต่ถ้ามีอาการบ่งบอกมีการติดเชื้อขึ้นมาหมอก็ต้องยุติการตั้งครรภ์ ถึงแม้ยังไม่ครบกำหนดคลอด เพราะเด็กในครรภ์อาจจะติดเชื้อและเกิดอันตรายได้
4.มีไข้สูง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย และรักษาต่อไป
5.ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ทานยาแล้วไม่หาย หรือสายตาพร่ามัว
6.อาเจียน อาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะจะพบได้ 1 ใน 3 ของหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด มักจะเกิดระหว่างอายุครรภ์ 6-12 สัปดาห์ และจะหายไปเองภายหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเป็นนานกว่านั้นก็ได้ ถ้าอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นมาก และเป็นตลอดทั้งวัน จนกระทั่งร่างกายได้รับอาหารและน้ำไม่เพียงพอ ทำให้มีผลร้ายอื่นๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายได้ ถ้าได้รับการช่วยเหลือและดูแลไม่ทัน
7.ทารกในครรภ์หยุดดิ้นหรือดิ้นน้อยลง ถ้ามารดารู้สึกว่าทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงหรือลดลง เป็นสัญญาณอันตรายที่มารดาต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไปว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพเป็นอย่างไรและต้องให้การรักษาหรือไม่ ซึ่งการที่ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลงมักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ และก่อนที่ทารกในครรภ์จะเสียชีวิต 12-48 ชั่วโมงจะพบว่ามารดาจะให้ประวัติว่าทารกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น ดังนั้นการบันทึกหรือนับการดิ้นของทารกในครรภ์จะช่วยในการค้นหาหรือแก้ไขภาวะที่อาจทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเด็นคำถาม
1.การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้อย่างไร
2.อาการตั้งครภ์เป็นอย่างไร
3. การปฏิบัติตนในการตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้สาระอื่น
1.สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่องการตั้งครรภ์
2.สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอภิปรายทไมผู้หญิงถึงท้อง
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=685