หลายคนอาจจะอยากให้หมอผ่าเอาลูกออกเมื่อครรภ์ครบกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดเวลาเบ่งคลอด หรืออาจจะต้องการฤกษ์ที่ดีสำหรับการคลอดลูกจึงหาวันและเวลาที่เหมาะสม แล้วนัดหมอมาผ่าเอาลูกออกตามฤกษ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณเลือกเอง ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
หลายคนอาจจะอยากให้หมอผ่าเอาลูกออกเมื่อครรภ์ครบกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดเวลาเบ่งคลอด หรืออาจจะต้องการฤกษ์ที่ดีสำหรับการคลอดลูกจึงหาวันและเวลาที่เหมาะสม แล้วนัดหมอมาผ่าเอาลูกออกตามฤกษ์ วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณเลือกเอง ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐานการเรียนรู้ พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าของชีวิต ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำรงชืวิต
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง สามารถอธิบายการคลอดโดยวิธีธรรมชาติและการผ่าตัดได้
การคลอดโดยวิธีธรรมชาติ
คือ จะปวดท้องคลอดเมื่อครรภ์แก่ แล้วเบ่งคลอดออกมาจากช่องคลอด วิธีนี้จะปลอดภัยและไม่อันตรายต่อลูก การที่ลูกออกมาแล้วร้องไห้นั้น จะทำให้ปอดของลูกขยายเต็มที่ เมื่อได้ยินเสียงลูกร้อง จะรู้สึกชื่นใจ หายเหนื่อยและหายเจ็บทันที ถึงแม้เวลาจะผ่านไปอีกหลายสิบปี เสียงร้องครั้งแรกของลูกยังก้องกังวานอยู่ในหู นอกจากนี้การได้กอดลูกทันทีที่ลูกคลอดออกมาจะทำให้คุณชื่นใจยิ่งนัก การที่มีหมอดูแลระหว่างคลอด นอกจากจะช่วยทำคลอดแล้ว ยังช่วยระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น เด็กอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสมสำหรับการคลอดทางช่องคลอด เด็กตัวใหญ่กว่าช่องคลอดมาก หรือเด็กอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน หมอทำคลอดจะตัดสินใจ ณ นาทีนั้นเพื่อหาวิธีใดวิธีหนึ่งเร่งคลอดโดยด่วน เช่น ใช่เครื่องช่วยดึง ใช้คีมช่วยดึงหรือการผ่าท้องคลอด เพื่อมิให้ลูกในครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมองนานเกินไป
ที่มา: https://www.ran-ya.com
คลอดลูกโดยการผ่าทางหน้าท้อง
ใช้วิธีนี้ในรายที่ลูกในครรภ์ตัวใหญ่มากหรือยู่ในทางผิดปกติ เช่น ท่าขวาง ท่าก้น รกเกาะต่ำ หรือภาวะฉุกเฉินที่ต้องการช่วงลูกโดยรีบด่วน หรือในกรณีที่เคยผ่าท้องคลอดในการตั้งครรภ์ครั้งที่แล้ว คุณจะได้รับการดมยาสลบ หรืฉีดยาชาเข้าไขสันหลังเพื่อการผ่าท้องคลอด คุณควรมีครรภ์ที่คบกำหนดคลอด ข้อเสียของการผ่าท้องคลอดมีมากมาย เช่น ผ่าท้องคลอดโดยที่ลูกในครรภ์ยังไม่ครบกำหนดคลอด ปอดของลูกจะยังทำงานไม่สมบูรณ์ หรือการผ่าท้องคลอดแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าคลอด เช่น เลือดออกไม่หยุด หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบหรือการฉีดยาชาเข้าสันหลัง เช่น เกิดภาวะตับวายฉับพลัน ปัญหาเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ ตลอดเวลาจึงควรระมัดระวังทุกขั้นตอนในวันรุ่งขึ้นหลังการผ่าท้องคลอดถึงแม้ คุณจะเจ็บแผลบริเวณหน้าท้องก็ควรพลิกตะแคงตัวหรือลุกขึ้นนั่งข้างเตียงและ เดินไปเดินมาในห้องพักบ้าง ไม่ควรนอนนิ่งอยู่บนเตียงอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดี และทำให้เกิดพังผืดในบริเวณช่องท้องลดน้อยลง การเกิดพังผืดมากทำให้ลำไส้เคลื่อนตัวไม่สะดวกและจะทำให้การผ่าตัวครั้งต่อๆ ไปในบริเวณนี้ลำบากมากยิ่งขึ้น
ใช้คีมหรือเครื่องดูดลูกออก
ในช่วงกำลังเบ่งคลอดเพื่อให้ลูกผ่านออกมาทางช่องคลอด คุณอาจจะหมดแรงอ่อนล้า หรือลูกอยู่ในท่าที่ทำให้ตัวเคลื่อนออกมายาก หมอจะเห็นแต่หัวลูกผลุบๆ โผล่ๆ บริเวณปากช่องคลอดโดยที่ตัวไม่เคลื่อนออกมา ถ้า ยื้อกันนานเกินไป ลูกจะขาดออกวิเจนได้ หมอจำเป็นต้องช่วยแรงเบ่งของคุณโดยการใช้คีมทาบบริเวณหัวของลูก หรือใช้เครื่องดูดวางไว้บริเวณศีรษะของลูก แล้วช่วยดึงลูกออกมาทางปากช่องคลอด โดยสัมพันธ์กับการเบ่งท้องของลูก การ ใช้คีมหรือเครื่องดูดโดยหมอที่ชำนาญจะช่วยลดการบาดเจ็บจากการคลอดลูกได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะการขาดออกซิเจนของลูกจากการคลอดที่ยืดเยื้อ แต่บริเวณศีรษะหรือใบหน้าของลูกอาจจะมีร่องรอยของการใช้เครื่องมือ เช่น ใบหน้าลูกมีรอยแดง หรือบริเวณศีรษะจะนูนบวมและแดงจากการใช้เครื่องดูด สิ่งเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องใช้ยา
การคลอดร่วมกับการให้ยาชาฉีดเข้าไขสันหลัง
การให้ยาชนิดฉีดเข้าไขสันหลังจะทำให้คุณไม่มีความเจ็บปวดตั้งแต่บริเวณสะดือลง ไปดังนั้นขณะที่กำลังเบ่งท้องคลอด คุณจะยังมีความรู้สึกตลอดเวลา แต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดบริเวณหน้าท้องจนถึงปลายเท้าเลย การฉีดยาชาเข้าไขสันหลังมีความเสี่ยงบ้าง เพราะยาชาอาจจะทำให้คุณหยุดหายใจได้ ถ้าทำโดยหมอที่ไม่ชำนาญ จึงควรพิจารณาให้ดีก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ในการช่วยคลอด การคลอดโดยวิธีปกติจะเป็นวิธีดีและปลอดภัยที่สุด
การคลอดลูกคนที่สองและคนถัดๆ ไป
ถ้าคุณเคยผ่านการคลอดลูกคนแรกภายใน 2-3 ปี โดยการเบ่งคลอดออกมาเอง การคลอดลูกคนที่สองก็จะง่ายกว่าเดิม ประวัติการคลอดลูกคนแรกระยะเวลาในการคลอด รวมทั้งน้ำหนักตัวของลูกคนแรกจะช่วยหมอที่ทำคลอดมาก บางคนมีประวัติว่าท้องคนแรกคลอดเร็วมาก ใช้เวลาตั้งแต่เจ็บครรภ์จนถึงเบ่งคลอดลูกออกมาไม่ถึง 10 ชั่วโมง เมื่อเป็นเช่นนี้ถ้าท้องที่สองเกิดเจ็บครรภ์เพียงเล็กน้อย ควรรีบเข้าไปห้องคลอดเลย และหมอควรจะมาดูแลใกล้ชิด มิฉะนั้นจะทำคลอดไม่ทัน และหมอจะระวังไม่ให้ศีรษะลูกโผล่พ้นช่องคลอดเร็วเกินไป สมองของลูกจะปรับความดันอากาศไม่ทัน อาจจะมีเลือดออกในสมอง
การปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด
ใครว่าคลอดแล้วเบาสบายหายเมื่อยและหมดภาระหนักที่ต้องอุ้มมาตั้งเก้าเดือนเสียที..จริง ๆ แล้วเพิ่มจะเป็นการเริ่มต้นภาระใหม่ที่หนักกว่าอย่างมากเชียวละ แม้จะเป็นภาระแห่งความสุขก็ตามที ก็เจ้าตัวน้อยตาแป๋ว ที่หลุดพ้นจากท้องออกมาอยู่ในอ้อมแขนคุณแม่นี่แหละ เป็นผู้ที่จะอาศัยกำลังกายและใจอันสดชื่นแข็งแรงของคุณ ช่วยให้แกเจริญเติบโตต่อไปอย่างมีความสุข ช่วงหลังคลอด จึงเป็นระยะสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้เพราะคุณต้องมีการปรับตัวปรับใจ สร้างพลังที่พร้อมจะรับภาระใหม่อย่างรวดเร็ว มีหลายสิ่งที่คุณต้องปฏิบัติและทำความเข้าใจคุณ คุณอาจลืมนึกถึงบางอย่าง
การปฏิบัติตนในระยะหลังคลอด ความสำคัญของระยะหลังคลอด
ระยะหลังคลอด เป็นระยะของการปรับตัวของมารดาทั้งด้านจิตใจและร่างกาย ทางจิตใจนั้นก็ต้องปรับ สภาพชีวิตให้เป็นทั้งมารดาของชีวิตใหม่และเป็นภรรยาที่ดีของสามี ในทางร่างกายนั้นธรรมชาติจะปรับสภาพของอวัยวะต่างๆ ให้กลับสู่สภาวะปกติ ดังนั้นการปฏิบัติตนหลังคลอดที่ถูกต้องจึงจะทำให้สุขภาพของมารดามีความ สมบูรณ์ทั้งจิตใและร่างกายทั้งในระยะนี้และในอนาคตภายหน้าเมื่อสูงวัยขึ้น
การรักษาสุขภาพจิต
ผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการรักษาสุขภาพจิตของมารดาหลังคลอดก็คือ สามีซึ่งต้องเอาใจใส่ ให้กำลังใจ และแสดงอาทรต่อทุกข์สุขของมารดาหลังคลอด และคอยดูแลช่วยเหลือในการเลี้ยงบุตร ตลอดจนช่วยประกอบกิจ วัตรประจำวันจะทำให้มารดาคลายความว้าเหว่ คลายความเครียดและความกังวลในการปรับตนเองเพื่อ “ความเป็นมารดา” และ “ความเป็นภรรยา” ลงได้
อาหาร
ควรได้อาหารจำพวกโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมากกว่าระยะตั้งครรภ์ เพื่อความสมบูรณ์ในการเลี้ยงบุตร ด้วยนมมารดา ไม่ควรงดอาหารโดยเด็จขาด และไม่ควรดื่มสุรา เบียร์ หรือเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เช่น ยาดองเหล้า
กิจวัตรประจำวัน
ควรบริหารร่างกายบ้างเพื่อให้การปรี้กระเปร่าสดชื่นอยู่เสมอควรอาบน้ำสระผมไปตามปกติที่เคยปฏิบัติ ไม่ควรอยู่ในสภานที่อับ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่ควรอยู่ไฟหรืออดของแสลง และไม่ต้องรับประทานยาขับน้ำคาวปลา โ่ดยเด็ดขาด
การดูแลน้ำคาวปลาและฝีเย็บ
จะมีน้ำคาวปลาเป็นสีแดงในระยะแรกจะลดปริมาณลงเรื่อย ๆ และจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูและจางจงจน เป็นน้ำสีเหลือง ๆ ภายใน 2-3 สัปดาห์ ควรใช้ผ้าอนามัยที่สะอาดรองรับน้ำคาวปลา และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ในระยะแรก ต่อไปก็เปลี่ยนตามปกติ
ควรล้างแผลฝีเย็บด้วยน้ำอุ่นสะอาดแล้วซับให้แห้ง ถ้าปวดแผลมากและแผลบวมแดง กดเจ็บ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดการอักเสบของแผลจากเชื้อโรค
การออกกำลังกาย
เมื่อสามารถช่วยตนเองได้คล่องแล้ว ควรจะบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงลดไขมันที่สะสมอยู่หน้าท้องและเมื่อหายเจ็บแผลฝีเย็บ ควรจะบริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดและฝีเย็บการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องทำโดยนอนราบไปกับพื้นแล้วค่อย ๆ ยกแขนทั้งสองข้าง ยกศีรษะและลำตัวลง พยายามจรดปลายนิ้วมือให้แตะกับปลายนิ้วเท้า บริหารครั้งละ 30-50 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน โดยเริ่มตัน 10-20 ครั้ง ในระยะแรกแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น วิธีบริหารช่องคลอดและฝีเย็บก็ทำได้ด้วยการขมิบทวารหนักวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละประมาณ 50 ครั้ง
การบริหารร่างกายนี้ควรจะกระทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน และต่อเนื่องตลอดไป แต่ต้องอาศัยกำลังใจอย่างมาก ซึ่งผู้ที่จะช่วยสนับสนุนการกระทำนี้ก็คือ สามี
ก. นอนราบบนพื้น
ข. ยกศรีษะและลำตัวส่วนบนขึ้นตรง แขนชูขนานกับลำตัว
ค. ก้มศรีษะและลำตัวส่วนบนหาหน้าขา และเยียดแขนให้ปลายนิ้วมือแตะกับปลายนิ้วเท้า
การตรวจหลังคลอด
มารดาทุกคนควรได้รับการตรวจฟัน ตรวจร่างกายและตรวจภายใน (คือการตรวจช่องคลอด ปากมดลูก และรังไข่) เมื่อครบเวลา 6 สัปดาห์หลังคลอด ที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข เพื่อตรวจสุขภาพของฟัน
ร่างกาย ระบบอวัยวะสืบพันธุ์และรับการคุมกำเนิด
การตรวจภายในประจำปี
มารดาทุกคนควรได้รับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นโ่ดยไม่มีอาการ
ปรากฎ ที่สำคัญคือมะเร็งของปากมดลูก และมะเร็งของรังไข่
การรักษาสุขภาพของทารก
ควรนำทารกไปตรวจสุขภาพตามนัด และรับวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดทุกครั้ง ควรเลี้ยงดูบุตรด้วยนม
มารดา และให้รับประทานอาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อให้ทารกได้รับอาหารตาม ความจำเป็นอย่างครบถ้วน
ประเด็นคำถาม
1.จงอธิบายกาคลอดตามธรรมชาติมาให้เข้าใจ 2.จงอธิบายการคลอดโดยการผ่าตัดมาให้เข้าใจ
3.การปฏิบัติตนหลังคลอดบุตร ควรปฏิบัติตนอย่างไร
การบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ
1.สาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่องระบบสืบพันธ์
2.สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่องการวาดภาพ
3.สาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอภิปราบการเขียนบทความการคลอดลูก
ที่มา : https://www.maedek.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=837