“แปดริ้ว” ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไข


800 ผู้ชม


จัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดน้ำบางคล้าย่านการค้าพาณิชย์ และ กิจกรรมตลาดน้ำเทียนไข ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 14-15 พ.ค.นี้ ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา   

                                                                        “แปดริ้ว” ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไข  
 
“แปดริ้ว” ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไขนายสุวิทย์ คำดี นายอำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดน้ำบางคล้าย่านการค้าพาณิชย์ และ กิจกรรมตลาดน้ำเทียนไข ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 14-15 พ.ค.นี้ ที่บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ว่ากิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง เทศบาลตำบลบางคล้า และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดฉะเชิงเทรา 
โดยงานแบ่งเป็น
ภาคเช้า เวลา 08.00 น. – 18.00 น. กิจกรรมส่งเสริมตลาดน้ำบางคล้าย่านการค้าพาณิชย์ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง และผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย อาทิ มะพร้าวน้ำหอม น้ำตาลสด ผลไม้แปรรูป และข้าวหอมมะลิ 
ภาคค่ำ เวลา 18.00 น. – 22.00 น. เป็นกิจกรรมตลาดน้ำเทียนไข ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะย้อนอดีตเมื่อครั้งยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้แสงสว่างจากเทียน หรือตะเกียง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถล่องเรือชมหิ้งห้อย ฟังเพลงในอดีตจากชมรมดนตรีในสวน ชมการบรรเลงดนตรีไทยของนักเรียน นอกจากนี้ยังมีการประกวดร้องเพลงและประกวดวาดภาพ เพื่อสร้างสีสันให้กับงาน  
ที่มาของข้อมูล https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2471242/แปดริ้ว%20ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไข

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เลขฐานแปด หรือ อัฐนิยม (อังกฤษ: Octal)
“แปดริ้ว” ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไขหมายถึง ระบบตัวเลขที่มีตัวเลขแปดตัว คือ 0 - 7 เลขฐานแปดนี้สร้างขึ้นจากเลขฐานสอง โดยการจัดกลุ่มเลขฐานสองออกเป็นกลุ่มละสามตัว (เริ่มจากขวา) ตัวอย่างเช่น เลขฐานสองที่แทนเลข 74 ในฐานสิบ คือ 1001010 เมื่อจัดเป็นกลุ่มละสาม จากขวาไปซ้าย ก็จะได้ 1 001 010 — เลขฐานแปดก็คือ 112 (1 ฐานสองตัวแรก เท่ากับ 1 ฐานแปด, 001 ฐานสอง เท่ากับ 1 ฐานแปด และ 010 ฐานสอง เท่ากับ 2 ฐานแปด)
บางครั้งมีการใช้เลขฐานแปด ในการคำนวณและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แทนที่การใช้เลขฐานสิบหก
ที่มาขอ
งข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94
ระบบเลขฐานประกอบด้วยเลขฐาน 2 เลขฐาน 8 เลขฐาน 10 เลขฐาน 16
ระบบเลขฐาน 2 (Binary Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 2 ตัว ได้แก่เลข 0 กับ เลข 1 ซึ่งเป็นเลขฐานที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ง่าย เพราะว่าอุปกรณ์ทางไฟฟ้าก็มีสถานะเพียง 2 สถานะ คือ เปิด กับ ปิด ซึ่งก็เทียบได้กับ 0 กับ 1 แต่ถ้าใช้เลขฐาน 10 ในคอมพิวเตอร์อาจจะเกิดปัญหาอย่างอื่นตามมา หรือแม้แต่อุปกรณ์ทางไฟฟ้า ก็ต้องแบ่งสถานะออกเป็น 10 สถานะ ซึ่งไม่เป็นที่นิยมนัก การเก็บข้อมูลในระบบของคอมพิวเตอร์ก็จะจัดเก็บเป็นกลุ่มตัวเลขฐานสองหลายบิต ขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งที่ต้องการเก็บ และหน่วยความจำที่ใช้

“แปดริ้ว” ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไขระบบเลขฐาน 8 (Octal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยเลข 8 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ซึ่งเป็นเลขฐานที่เพิ่มเนื้อที่หน่วยความจำในการเก็บให้มากขึ้น การเก็บข้อมูลเป็นเลขฐาน 8 จะทำให้เก็บข้อมูลได้มากขึ้น

ระบบเลขฐาน 10 (Decimal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ซึ่งระบบเลขฐาน 10 เป็นระบบเลขฐานที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งใช้มาตลอด สามารถจำได้และคำนวณได้ง่ายกว่าเลขฐานอื่น ๆ

ระบบเลขฐาน 16 (Hexadecimal Number System) เป็นเลขฐานที่ประกอบด้วยตัวเลข 10 ตัวและตัวอักษรแทนตัวเลขอีก 6 ตัว ซึ่งประกอบด้วยเลข 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และตัวอักษรภาษาอังกฤษแทน 10 ถึง 15 ได้แก่ A, B, C, D, E, F ซึ่งก็จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าระบบเลขฐาน 2 ฐาน 8
การแปลงเลขฐาน 2 เป็นเลขฐาน 10 เลขฐาน 2 แต่ละหลักมีเลขประจำหลักต่างกันไปในการแปลงเป็นเลขฐานอื่น โดยเริ่มจาก
หลักหน่วย   จะเท่ากับ   20   หรือเท่ากับ    1
หลักสิบ       จะเท่ากับ   21   หรือเท่ากับ    2
หลักร้อย     จะเท่ากับ   22   หรือเท่ากับ    4
หลักพัน      จะเท่ากับ   23   หรือเท่ากับ    8
หลักหมื่น    จะเท่ากับ   24   หรือเท่ากับ  16
และหลักถัดไปก็จะยกกำลังเพิ่มขึ้น บวกหนึ่งไปเรื่อย ๆ ตามจำนวนหลักของเลขฐานสอง หรือถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นได้ว่า ตัวเลขจะมีการเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าทุก ๆ จำนวน 
ตัวอย่าง แปลงเลข 10101 ฐาน 2 เป็นเลข ฐาน 10 
วิธีทำ
วิธีที่ 1
    จับตัวเลขของแต่ละหลัก คูณกับเลขประจำหลักของแต่ละตัว แล้วนำผลของแต่ละตัวมาบวกกัน
              10101  = [(1 * 24) + (0 * 23) + (1 * 22) + (0 * 21) + (1 * 20)
             
             = 16 + 0 + 4 + 0 + 1
             = 21
วิธีที่ 2  แทนค่าเลขประจำหลักโดยไม่ต้องคูณ   โดยให้นำเลขประจำหลักของเลขฐาน 2 ที่มีค่าเป็น 1มาบวกกัน
                                                   16   8   4   2  1
              10101 =     1   0   1   0  1
       จากเลขประจำหลักของแต่ละหน่วย   จะได้  16 + 4 + 1  = 21  ซึ่งได้คำตอบเท่ากับ
การแปลงเลขฐาน 10 เป็นเลขฐาน 2 ใช้วิธีเช่นเดียวกับวิธีที่ 2 ของการแปลงเลขฐาน 2 เป็นเลขฐาน 10 โดยการให้ตัวเลขที่นำมาบวกกันแล้วได้เลขเท่ากับ เลขฐาน 2 ที่ต้องการแปลงเท่ากับ 1 ถ้าตัวไหนไม่ได้นำมาบวกให้เท่ากับ 0 ตัวอย่างเช่น แปลง 252 ฐาน 10 เป็นเลขฐาน 2 วิธีการ ใช้หลักการของตัวเลขประจำหลัก คือ จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16
      ซึ่งตัวเลขที่นำมาบวกกันแล้วได้ 252  ได้แก่  128 + 64 + 32 + 16 + 8 + 4 ส่วนเลข 2 กับ 1 ไม่ได้นำมาบวกก็ให้เท่ากับ 0
      จะได้ 11111100 ฐาน 2
ที่มาของข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/Radix
แบบฝึกหัด“แปดริ้ว” ชวนเที่ยวตลาดน้ำเทียนไข
1. จงแปลง 67    ฐาน 10 ให้เป็นเลขฐานสอง
2. จงแปลง 1010  ฐาน 2   ให้เป็นเลขฐานสิบ
3. จงแปลง 82     ฐาน 10  ให้เป็นเลขฐานแปด
4. จงแปลง 265    ฐาน 7 ให้เป็นเลขฐานสิบ
5. จงเแปลง 108    ฐาน 10 ให้เป็นเลขฐานสิบหก
6. จงแปลง  A5C  ฐาน 16   ให้เป็นเลขฐานสิบ
7. จงแปลง  111100101ฐาน 2  ให้เป็นเลขฐานแปด
8. จงแปลง  634   ฐาน 3 ให้เป็นเลขฐานสอง
9. จงแปลง   11011101101  ฐาน 2 ให้เป็นเลขฐานสิบหก
10. จงแปลง   B2D4  ฐาน 16 ให้เป็นเลขฐานสอง

ที่มาของข้อมูลhttps://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/sukanda_p/number/selftest.html
อ่านเนื้อหาเพิ่มเติม https://www.cdt.ob.tc/page16.html
คำถามในห้องเรียน
1. จงแปลง 8 ฐาน 10  ให้เป็นเลขฐานสอง
2. จงแปลง 11011101101 ฐาน 2  ให้เป็นเลขฐานแปด

ข้อเสนอแนะ
ถ้าต้องใช้แสงสว่างจากเทียนหรือตะเกียง จะช่วยลดพลังงานได้มากน้อยเพียงใด และควรใช้พลังงานทดแทนเข้ามาเกี่ยวข้อง

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 
สาระที่ 2  ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนำมาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 2   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRqS6pLancWZygPcEtH_R8iEygA3N3iMJJYOGSkMHTjOO7Dc5Xj
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRWsrlRU6BJV88drugkIgws-_QnpATBODKOGjDzqSCUwQHdbuIj
ที่มาของภาพ https://www.jjsiam.com/_files/prakard/2011_01_29_225405_0_hIAjphqn.jpg
ที่มาของภาพhttps://www.nmt.or.th/chachoengsao/bangkhla/SiteCollectionImages/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87.jpg
ที่มาของภาพ  https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTCVzeTLKLP75pGq9KHJ5CTuqlFxyvpw95pbb5uUr5dL2X6piweCA

ที่มาของภาพ  https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT-ku27W9A6aixyFxkN6FMQmGL-JR3MQUoXwmDS_t4IkX2Gu1qL

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3924

อัพเดทล่าสุด