แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอ


946 ผู้ชม


กะหล่ำปลี ควงมาพร้อมแครอต และแอปเปิ้ล   

เจ็บคอ ‘กะหล่ำปลี’ ช่วยบรรเทา 
แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอ กะหล่ำปลี ควงมาพร้อมแครอต และแอปเปิ้ล

แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอเชื่อว่าสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความชื้นที่มากับฤดูฝน คงเป็นตัวกระตุ้นอาการภูมิแพ้กำเริบ พาลพาให้รู้สึกคัดจมูก เป็นหวัด แถมอาการเจ็บคอยังติดสอยห้อยตามมาด้วย 
‘มุมสุขภาพ-กินดี’ วันนี้ มีสูตรเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้ใกล้ๆ ตัว มาแนะนำให้ปรุงดื่มแก้เจ็บคอและบรรเทาอาการหวัดคัดจมูก ซึ่งพระเอกในสูตรนี้ คือ ‘กะหล่ำปลีม่วง’ อันอุดมด้วยสารไฟโตเคมิคอล ซัลโฟราเฟน กลูโคซิโนเลต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี และกรดโฟลิก สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้ไอ แถมสารอาหารในผักชนิดนี้ยังเป็นเกราะป้อนกันเซลล์มะเร็งด้วย
ส่วนผักและผลไม้ที่สามารถช่วยลดกลิ่นเหม็นเขียวให้จางลง และช่วยให้เครื่องดื่มสูตรนี้ดื่มได้ง่ายขึ้น คือ แครอตกับแอปเปิ้ล ซึ่งต่างก็มีสรรพคุณที่ช่วยเกื้อหนุนเสริมคุณค่ามากยิ่งขึ้น สำหรับ ‘แครอต’ ก็ยังช่วยบรรเทาอาการไอได้เช่นกัน ในผักสีส้มสวยนี้ มีเบต้าแคโรทีน ซัลเฟอร์ คลอรีน ส่วน ‘แอปเปิ้ล’ ช่วยลดไข้  แก้หวัด คัดจมูก เพราะมีวิตามินซี บี1 บี2 และบี6 นั่นเอง
ส่วนผสมและสัดส่วนในสูตร • กะหล่ำปลีม่วง 1 ถ้วย• แครอต 1 ถ้วย• แอปเปิ้ลแดง 1 ถ้วย
ขั้นตอนในการทำ เริ่มจากทำความสะอาดล้างผักและผลไม้ให้เรียบร้อย จากนั้นนำกะหล่ำปลีซอยเป็นชิ้นเล็กๆ แครอตกับแอปเปิ้ลหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าขนาดพอประมาณ นำส่วนผสมทั้งหมดไปสกัดพร้อมกันโดยใช้เครื่องสกัดน้ำผักและผลไม้ เมื่อได้น้ำผักและผลไม้สูตรนี้แล้ว จะเติมน้ำแข็งป่นสักเล็กน้อยช่วยให้ดื่มง่ายขึ้นก็ย่อมได้ แต่ไม่ควรเติมมากเกินไปเพราะจะทำให้ระคายคอ
ที่มาของข้อมูล https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=557&contentId=139818
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง อัตราส่วน (อังกฤษ: ratio, IPA: [ˈreɪʃoʊ] เรโช)
คือปริมาณอย่างหนึ่งที่แสดงถึงจำนวนหรือขนาดตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีกปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน อัตราส่วนจะเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย หากอัตราส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณที่อยู่ในมิติเดียวกัน และเมื่อปริมาณสองอย่างที่เปรียบเทียบกันเป็นคนละชนิดกัน หน่วยของอัตราส่วนจะเป็นหน่วยแรก "ต่อ" หน่วยที่สอง ตัวอย่างเช่น ความเร็วสามารถแสดงได้ในหน่วย "กิโลเมตรต่อชั่วโมง" เป็นต้น ถ้าหน่วยที่สองเป็นหน่วยวัดเวลา เราจะเรียกอัตราส่วนชนิดนี้ว่า อัตรา (rate)
ทั้งเศษส่วนและอัตราร้อยละเป็นอัตราส่วนที่นำเอาไปใช้เฉพาะทาง เศษส่วนเป็นปริมาณส่วนหนึ่งที่เทียบกับปริมาณทั้งหมด ในขณะที่อัตราร้อยละจะแบ่งปริมาณทั้งหมดออกเป็น 100 ส่วน นอกจากนั้น อัตราส่วนอาจสามารถเปรียบเทียบปริมาณได้มากกว่าสองอย่างซึ่งพบได้น้อยกว่า เช่นสูตรอาหาร หรือการผสมสารเคมี เป็นต้น
อัตราส่วน 2:3 (สองต่อสาม) หมายความว่าปริมาณทั้งหมดประกอบขึ้นจากวัตถุแรก 2 ส่วนและวัตถุหลังอีก 3 ส่วน ดังนั้นปริมาณวัตถุจะมีทั้งหมด 5 ส่วน หรืออธิบายให้เจาะจงกว่านี้ ถ้าในตะกร้ามีแอปเปิล 2 ผลและส้ม 3 ผล เรากล่าวว่าอัตราส่วนระหว่างแอปเปิลกับส้มคือ 2:3 ถ้าหากเพิ่มแอปเปิลอีก 2 ผลและส้มอีก 3 ผลลงในตะกร้าใบเดิม ทำให้ในตะกร้ามีแอปเปิล 4 ผลกับส้ม 6 ผล เป็นอัตราส่วน 4:6 ซึ่งก็ยังเทียบเท่ากันกับ 2:3 (แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนก็สามารถลดทอนได้เหมือนกับเศษส่วน) ซึ่งในกรณีนี้  หรือ 40% ของผลไม้ทั้งหมดคือแอปเปิล และ  หรือ 60% ของผลไม้ทั้งหมดคือส้ม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ อัตราส่วน 2:3 ไม่ได้มีความหมายเหมือนกับเศษส่วน 
ในทางวิทยาศาสตร์ อัตราส่วนของปริมาณทางกายภาพมักจะถูกทำให้เป็นจำนวนจริงจำนวนหนึ่ง เช่นอัตราส่วนของ 2π เมตรต่อ 1 เมตร (อัตราส่วนระหว่างเส้นรอบวงกับรัศมีของรูปวงกลม) เท่ากับจำนวนจริง 2π ด้วยเหตุจากนิยามของการวัดที่มีมาแต่เดิม ซึ่งเป็นการประมาณอัตราส่วนระหว่างปริมาณหนึ่งกับอีกปริมาณหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน
ในทางพีชคณิต ปริมาณสองชนิดที่มีอัตราส่วนเป็นค่าคงตัว คือความสัมพันธ์เชิงเส้นชนิดพิเศษเรียกว่า สัดส่วน (proportionality)
ที่มาของข้อมูลhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99
อัตราส่วนและร้อยละ(Ratio and Percentage)
แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอ1. อัตราส่วน (Ratio)  คือ การเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งต่อของอีกสิ่งหนึ่งที่มีหน่วยอย่าง เดียวกัน เช่น  a : b อ่านว่า a ต่อ b  หรือ  a/b
ตัวอย่าง ปรีชาสูง 150 ซม.  นายสุชาติสูง 170 ซม.  ดังนั้นความสูงของ นายปรีชาต่อความสูงของนายสุชาติ คือ 150 ต่อ 170 หรือเขียนเป็น 150 : 170  =  15 :17
2.  อัตราส่วนที่เท่ากัน  คือ อัตราส่วนที่แสดงอัตราเดียวกัน นั่นเอง เช่น
3 : 5  =  6 : 10  =  12 : 20   เป็นต้น
3.  สัดส่วน (Proportion)  คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่แสดงการเท่ากันของ  2  
อัตราส่วน  เช่น  a : b  =  c : d  อ่านว่า  a  ต่อ b เท่ากับ c ต่อ d

การแก้ปัญหาโจทย์สัดส่วน
1. อ่านโจทย์ให้เข้าใจว่าโจทย์ต้องการอะไร และให้ข้อมูลอะไรมาบ้าง
2. สมมุติตัวแปร  แทนสิ่งที่ต้องการ
3. เขียนเป็นสัดส่วน (เปลี่ยนประโยคภาษาไทยให้เป็นประโยคสัญลักษณ์)
4. หาค่าตัวแปรในสัดส่วน
5. ตรวจสอบคำตอบ (นำคำตอบที่ได้ไปแทนค่าในโจทย์) เพื่อความไม่ประมาท

ทดสอบความเข้าใจ
ข้อ 1.  ในโรงงานแห่งหนึ่งมีคนงาน 300 คน ถ้าวันหนึ่งคนไม่มา 5 เปอร์เซ็นต์ คนงานขาดงานกี่คน  
ข้อ 2.  นักธุรกิจคนหนึ่งมีรายได้สุทธิ 360,000 บาท ในปี พ.ศ. 2537  ถ้าเข้าต้องชำระค่าภาษีเงินได้ดังนี้  เงินได้สุทธิ 100,000 บาทแรก ชำระภาษีในอัตรา 5 เปอร์เซ็นต์ และเงินได้สุทธิที่เหลือชำระภาษีในอัตรา 10 เปอร์เซ็นต์ จงหาว่านักธุรกิจคนนี้ต้องชำระภาษีได้ในปีนั้นเท่าไร  
ข้อ 3.  บริษัทผลิตสบู่ ตั้งราคาสบู่ไว้ก้อนละ 40 บาท ให้ส่วนลดแก่ร้านค้าปลีก 25 เปอร์เซ็นต์ ของราคาที่ตั้งไว้  ต่อมาร้านค้าปลีกประกาศลดราคาสบู่ 10 เปอร์เซ็นต์ จงหาว่าถ้าร้านค้าปลีกขายสบู่ 10 โหลจะได้กำไรเท่าไร 
เฉลย
ข้อ 1. ตอบ   15  คน
ข้อ 2. ตอบ  31,000  บาท
ข้อ 3. ตอบ  720 บาท
ที่มาของข้อมูล www.tutormaths.com/matha3.doc
แบบทดสอบ เรื่อง อัตราส่วน
ข้อที่ 1) ข้อใดไม่ใช่อัตราส่วนเดียวกัน
     ก. 48 : 72
     ข. 36 : 24
     ค. 12 : 18
     ง. 12 : 36

ข้อที่ 2) จงทำอัตราส่วน 15 : 3 ให้เป็นอัตราส่วนอย่างตำ ตรงกับข้อใด
     ก. 1 : 5
    ข. 3 : 2
    ค. 5 : 1
    ง. 2 : 3

ข้อที่ 3) ถ้า 30 : x = 15 : 9 ค่าของ x คือข้อใด
    ก. 18
    ข. 25
    ค. 35
    ง. 50

ข้อที่ 4) ถ้า a : 12 = 3 : 4 ค่าของ a คือข้อใด
     ก. 3
    ข. 6
    ค. 7
    ง. 9

ข้อที่ 5) จงทอนอัตราส่วน 6 : 18 : 14 : 4 ต่อไปนี้ด้วย 2 
    ก. 3 : 9 : 7 : 2
    ข. 2 : 7 : 9 : 3
    ค. 7 : 2 : 3 : 9
    ง. 3 : 2 : 7 : 9

ข้อที่ 6) จงทวีอัตราส่วน 3 : 4 : 5 : 1 ต่อไปนี้ด้วย 3 
    ก. 12 : 15 : 9 : 3
    ข. 15 : 12 : 9 : 3
    ค. 9 : 12 : 15 : 3
    ง. 3 : 9 : 12 : 15

ข้อที่ 7) อัตราส่วนของ ก : ข = 1 : 2 และ อัตราส่วนของ ข : ค = 3 : 4 จงหาอัตราส่วนของ ก : ข : ค คือข้อใด
    ก. 1 : 2 : 3
    ข. 3 : 6 : 8
    ค. 2 : 6 : 8
    ง. 2 : 4 : 6

ข้อที่ 8) อัตราส่วนของ A : B = 5 : 12 และ B : C = 4 : 7 จงหาอัตราส่วนของ A : B : C คือข้อใด 
   5 : 4 : 7
   5 : 12 : 4
   5 : 12 : 7
   5 : 12 : 21

ข้อที่ 9) แหวนวงหนึ่งเป็นโลหะผสมระหว่างทองคำกับเงินในอัตราส่วน 12 : 8 ถ้าแหวนวงนี้หนัก 10 กรัม มีส่วนผสมของเงินกี่กรัม
    ก. 12
    ข. 6
    ค. 4
    ง. 2

ข้อที่ 10) อัตราส่วนจำนวนเงินของแดง : ดำ = 3 : 2 และ แดง : ขาว = 2 : 1 อัตราส่วนจำนวนเงินของแดง : ดำ : ขาว คือข้อใด
    ก. 6 : 4 : 3
    ข. 3 : 4 : 6
    ค. 1 : 2 : 3
    ง. 3 : 2 : 1

ข้อที่ 11) สามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีอัตราส่วนของด้านทั้งสามเป็น 3 :4 : 5 ถ้าเส้นรอบรูปยาว 36 ซม. จงหาความยาวของด้านที่สั้นที่สุด
    ก. 3
    ข. 5
    ค. 7
    ง. 9

ข้อที่ 12) 10 % ของเงิน 250 บาท เป็นเงินกี่บาท
    ก. 15 บาท
    ข. 25 บาท
    ค. 35 บาท
    ง. 45 บาท

ข้อที่ 13) 80 % ของคะแนนเต็ม 500 คะแนน เท่ากับกี่คะแนน
    ก. 100 คะแนน
    ข. 250 คะแนน
    ค. 400 คะแนน
    ง. 450 คะแนน

ข้อที่ 14) 7 % ของวัว 800 ตัว เท่ากับกี่ตัว
    ก. 56 ตัว
    ข. 60 ตัว
    ค. 72 ตัว
    ง. 86 ตัว

ข้อที่ 15) 120 บาท เป็น 20 % ของจำนวนเงินเท่าไร
    ก. 500 บาท
    ข. 600 บาท
    ค. 700 บาท
    ง. 800 บาท

ข้อที่ 16) 105 บาท เป็นร้อยละเท่าไรของ 300 บาท 
    ก. ร้อยละ15
    ข. ร้อยละ25
    ค. ร้อยละ35
    ง. ร้อยละ45

ข้อที่ 17) ศรีสกุลและเกษราได้คะแนนเป็นอัตราส่วน 4 : 5 ศรีสกุลได้คะแนนเป็นร้อยละเท่าไรของเกษรา 
    ก. ร้อยละ 80
    ข. ร้อยละ 100
    ค. ร้อยละ 120
    ง. ร้อยละ 140

ข้อที่ 18) ใช้เงินไป 240 บาท คิดเป็น 40 % ของเงินที่มีอยู่เดิม จงหาว่าเดิมมีเงินเท่าไร 
    ก. 300 บาท
    ข. 400 บาท
    ค. 500 บาท
    ง. 600 บาท

ข้อที่ 19) ซื้อของมาราคา 4,000 บาท ขายไปขาดทุน 20 % ขายไปราคาเท่าไร
    ก. 2,800 บาท
    ข. 3,200 บาท
    ค. 3,400 บาท
    ง. 3,600 บาท

ข้อที่ 20) ซื้อของมาราคา 2,000 บาท ขายไปได้กำไร 25 % ขายไปราคาเท่าไร
    ก. 1,500 บาท
    ข. 2,000 บาท
    ค. 2,500 บาท 
    ง. 3,000 บาท

ที่มาของข้อมูล https://www.stw.ac.th/stw/output/teacher/testonline/hasnahonline/math32101.html

คำถามในห้องเรียน
แก้เจ็บคอ บรรเทาอาการไอ1. จาก "ส่วนผสม • กะหล่ำปลีม่วง 1 ถ้วย• แครอต 1 ถ้วย• แอปเปิ้ลแดง 1 ถ้วย" นักเรียนคิดว่าอัตราส่วนร่วมเขียนแบบใด
2. ถ้าผลรวมของสามเหลี่ยมรูปหนึ่งมีอัตราส่วนของด้านทั้งสามเป็น 2 :4 : 6 ถ้าเส้นรอบรูปยาว 24 ซม. จงหาความยาวของด้านที่ยาวที่สุด

ข้อเสนอแนะ
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความชื้นในฤดูฝน ดังนั้นเราทุกคนควรดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีที่สุด  เพราะสุขภาพพีไม่มีซื้อขาย

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่  4      การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1  เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4    การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1    เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSczQL-SyZWZBl2UB5Iad5xvaFOk3yyHD_x-El3JOlO9KQCBgCmRQ
ที่มาของภาพ https://www.thaigoodview.com/library/iam/m46-43/27-ok/tgv-26-01-44-115_01.jpg
ที่มาของภาพ https://www.thaicoffeemaster.com/images/column_1272104043/espresso-coffee-level.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQfIDr-vG5fM8IQKeM68XN2HKrts6wCKs736lUvjz2Fz-LdqXXM

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3972

อัพเดทล่าสุด