"ดาวเรือง" รับอานิสงส์


1,460 ผู้ชม


ดอกไม้ที่ได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจร้อยพวงมาลัยขายเป็นอย่างมากในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง   

"ดาวเรือง" รับอานิสงส์

"ดอกดาวเรือง" ดอกไม้ที่ได้รับความนิยม และสามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจร้อยพวงมาลัยขายเป็นอย่างมาก"ดาวเรือง" รับอานิสงส์ในช่วงของการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมักจะได้รับดอกดาวเรืองจากชาวบ้านหรือหัวคะแนนของตนเพื่อเป็นกำลังใจ โดยในช่วงที่มีการออกหาเสียงตามสถานที่ต่างๆ จะเห็นดอกดาวเรืองที่ร้อยเป็นพวงมาลัยประดับอยู่บนคอผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งแทบจะทุกคน สาเหตุที่ดอกดาวเรืองเป็นที่นิยมมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ นั้น สันนิษฐานกันว่า เนื่องมาจากสีสันที่สดใสของดอกดาวเรือง ไม่เหี่ยวเฉาง่าย อีกทั้งชื่อของดอกไม้ก็มีความหมายไปในทางที่ดี เมื่อคล้องคอแล้วจะทำให้เจริญรุ่งเรืองและประสบความสำเร็จ
ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งปี 54 หรือประมาณ 40 วัน (ตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.-2 ก.ค.54) ธุรกิจร้อยพวงมาลัยดอกดาวเรืองเป็นธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ และสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นในช่วงเลือกตั้ง ทั้งนี้ ประมาณการว่า ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งปี 54 จะทำให้ธุรกิจมีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 53 ล้านบาท และคาดว่าจะมีเม็ดเงินเพิ่มขึ้นกว่าการเลือกตั้งในปี 50 ถึงแม้ว่าในปี 50 จะมีจำนวนผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่าปีนี้ กอปรกับจำนวนวันที่ใช้ในการหาเสียงมีมากกว่า (หรือประมาณ 45 วัน) แต่หากเปรียบเทียบเม็ดเงินเฉลี่ยต่อวันแล้ว พบว่าในปี 54 ธุรกิจร้อยพวงมาลัยดอกดาวเรืองในช่วงเลือกตั้ง สามารถสร้างรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 1.3 ล้านบาท และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าการเลือกตั้งในปี 50 ความต้องการดอกดาวเรืองในช่วงหาเสียงเลือกตั้งปีนี้ โดยเฉพาะการมอบพวงมาลัยให้กับบุคคลที่เป็นที่สนใจและชื่นชอบคาดว่าจะได้รับมากเป็นพิเศษ
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHlOekV4TURZMU5BPT0=&sectionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOaTB4TVE9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ฐานนิยม (Mode) 
"ดาวเรือง" รับอานิสงส์ฐานนิยม คือ ค่าของคะแนนที่ซ้ำกันมากที่สุดหรือ ค่าคะแนนที่มีความถี่สูงที่สุดในข้อมูลชุดนั้น 
การหาฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่ ( Ungrouped Data ) พิจารณาค่าของข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด คือ ฐานนิยม 
ตัวอย่าง จงหาฐานนิยมของข้อมูลต่อไปนี้ 3, 2, 4, 5, 6, 4, 8, 4, 7, 10
ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 4
ฐานนิยมคือ 4
ข้อมูลบางชุดอาจมีฐานนิยม 2 ค่า เช่น 10, 14, 12, 10, 11, 13, 12, 14, 12, 10
ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุดคือ 10 กับ 12
ฐานนิยม คือ 10 กับ 12
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.4.html

การหาฐานนิยมของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่
หลักการคิด      
 -  ให้ดูว่าข้อมูลใดในข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมด  มีการซ้ำกันมากที่สุด(ความถี่สูงสุด)  ข้อมูลนั้นเป็นฐานนิยมของข้อมูลชุดนั้น
หมายเหตุ        
 -  ฐานอาจจะไม่มี  หรือ  มีมากกว่า 1 ค่าก็ได้ 
การหาฐานนิยมของข้อมูลที่มีการแจกแจงเป็นอันตรภาคชั้น การประมาณอย่างคร่าวๆ ฐานนิยม คือ จุดกึ่งกลางชั้นที่มีความถี่สูงสุด 
ที่มาของข้อมูล https://301math.exteen.com/20080101/mode
ค่าฐานนิยม (Mode) 
"ดาวเรือง" รับอานิสงส์        เมื่อเราได้ข้อมูลมาจำนวนหนึ่งถ้าเรานำมาเรียงลำดับกัน (ซึ่งไม่จำเป็น) ในกรณีที่กลุ่มข้อมูลนี้จะมีค่าฐานนิยมหรือไม่ ถ้ามีเป็นเท่าไหร่ เราดูว่าเราพบข้อมูลค่าใดที่มีความถี่ หรือมีจำนวนมากที่สุด 
ตัวอย่าง 3 3.5 4 4 5 5 5 6 6 7 8 
        จากตัวอย่างข้างบนนั้นฐานนิยมของข้อมูลชุดนี้คือ 5 เพราะมีถึงสามตัว ซึ่งมากที่สุดในข้อมูลกลุ่มนี้ ในบางกรณีจำนวนตัวเลขที่มีมากที่สุดในกลุ่มอาจจะมีมากกว่า หนึ่ง ก็ได้ก็จะทำให้มีค่ามัธยฐานมากกว่าหนึ่งด้วยเช่นกัน 
ตัวอย่าง 
        3 3.5 4 4 4 5 5 6 6 6 7 8 
        จากตัวอย่างข้างบนนี้ฐานนิยม มีสองค่าคือ 4 และ 6 ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า ข้อมูลแบบสองฐานนิยม (Bi-modal) ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 
ข้อมูลบางชุดอาจจะไม่มีฐานนิยมซึ่ง ได้แก่ ข้อมูลที่มีรายการซ้ำจำนวนเท่ากันหลายชุด เช่น 5, 2, 3, 4, 7, 8, 2, 3, 5, 9, 10, 2, 3, 5, 7, 9, 8, 7, 8
ข้อมูลที่ไม่มีรายการซ้ำกันเลย เช่น 8, 9, 10, 11, 13, 15 
ที่มาของข้อมูลhttps://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87_(Central_Tendency)

ฐานนิยม คือ ค่ากลาง ซึ่งเลือกมาจากข้อมูลที่มีการซ้ำกันมากที่สุด ข้อมูลที่ซ้ำกันมากที่สุด
ของ  20  25  45  45  45  55  25  30  30  60  คือ 45 (ซ้ำกันสามค่า ซึ่งมากที่สุด)
            ค่าฐานนิยม = 45
ดังนั้น ฐานนิยมของอายุคนกลุ่มนี้คือ 45 ปี
การพิจารณาเลือกใช้ค่า Mean, Mode และ Median
          ค่า Mean, Mode, Median ต่างก็เป็นสถิติที่ใช้ในการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางด้วยกัน แต่มีวิธีใช้ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมาตรวัดค่าและความปกติของข้อมูล การจะพิจารณาเลือกใช้สถิติใดจึงต้องพิจารณาที่มาตรวัดค่าและความปกติของข้อมูลประกอบดังนี้
            Mean  เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีมาตรวัดค่าตั้งแต่มาตราอันตรภาค (interval scale) เป็นต้นไป เช่น คะแนนสอบ รายได้ อายุ เป็นต้น และไม่ควรมีข้อมูลค่าใดสูงหรือต่ำจนผิดปกติ (extreme value) เช่น ไม่ควรคำนวณรายได้เฉลี่ยของคนไทยจำนวน 10 คนที่มี ดร.ทักษิณ ชินวัตร รวมอยู่ด้วย ยกเว้นมีจุดมุงหมายพิเศษบางอย่าง เช่น ต้องการคำนวณรายได้เฉลี่ยของเศรษฐีจำนวน 10 คนแรกของประเทศไทย เป็นต้น"ดาวเรือง" รับอานิสงส์
            Median เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีมาตรวัดค่าตั้งแต่มาตราเรียงลำดับ (ordinal scale) เป็นต้นไป เช่น ระดับความคิดเห็น คะแนนสอบ รายได้ อายุ เป็นต้น ซึ่งคำนวณจากหนึ่งหรือสองค่าที่อยู่ตรงกลางของกลุ่มเท่านั้น ดังนั้น ค่าสูงหรือต่ำผิดปกติบางค่าจึงไม่มีผลกระทบต่อ Median 
            Mode เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีมาตรวัดค่าตั้งแต่มาตรานามบัญญัติ (nominal scale) เป็นต้นไป หรือใช้ได้กับข้อมูลทุกประเภท เช่น เพศ ศาสนา อาชีพ ระดับความคิดเห็น คะแนนสอบ รายได้  อายุ เป็นต้น และคำนวณจากหนึ่งค่าของกลุ่มเท่านั้น ค่าสูงหรือต่ำผิดปกติบางค่าจึงไม่มีผลกระทบต่อ Mode ถ้าข้อมูลมีการกระจายปกติแล้ว ค่า Mean, Mode และ Median จะเท่ากัน ในกรณีนี้จะเลือกใช้ค่าใดก็ได้ แต่ถ้าข้อมูลมีความผิดปกติไปข้างใดข้างหนึ่งแล้ว ควรเลือกใช้ค่า Mode หรือ Median จะเหมาะสมกว่า Mean 
ที่มาของข้อมูล https://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/fundstat.htm

คำถามในห้องเรียน
1. ปี 54 ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวน 125 คน นักเรียนคิดว่าแนวโน้มรายได้จากการขายมาลัย ดอกดาวเรือง มากขึ้นหรือไม่อย่างไร
2. มาลัยดอกดาวเรืองเป็นที่นิยมมากกว่าดอกไม้ชนิดอื่นๆ เพราะเหตุใดอภิปราย
ข้อเสนอแนะ
การมอบพวงมาลัยให้กับบุคคลที่เคารพและนับถือควรมีความจริงจากใจมิใช่คำนึงถึงผลประโยชน์
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
             
สาระที่ 2  หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
มาตรฐาน ส 2.2 เข้า
ใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส 3.1
  เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ 
มาตรฐาน ส 3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาระที่ 4 การอาชีพ 
มาตรฐาน ง 4.1 เข้าใจ มีทักษะที่จำเป็น  มีประสบการณ์  เห็นแนวทางในงานอาชีพ  ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ   มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ
ที่มาของภาพ https://www.thaitambon.com/thailand/Ranong/850105/011129175055/850105-A13.jpg
ที่มาของภาพ https://skywork.tarad.com/shop/s/skywork/img-lib/spd_20090321155010.jpg
ที่มาของภาพ https://thongchaloem.com/attachfile/imagepost-20100310-114742.jpg
ที่มาของภาพ https://www.sopon.ac.th/sopon/math/anong/a4/nav/nav_1_index_p03n02_bhb.gif
ที่มาของภาพ https://203.172.222.170/MATH//math47/stat1_files/image5.gif

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4053

อัพเดทล่าสุด