กลัวเปลือง


842 ผู้ชม


ตำรวจเยอรมนีเห็นรถตู้ดูโหลดๆ พิกล จึงเรียกตรวจ เปิดท้ายถึงกับผงะ   

กลัวเปลืองกลัวเปลือง

ตำรวจเยอรมนีเห็นรถตู้ดูโหลดๆ พิกล จึงเรียกตรวจ เปิดท้ายถึงกับผงะเพราะเจอ มาสด้า 626 นอนตะแคงข้างอยู่

หนุ่มคาซัคสถานเจ้าของรถอ้างว่า "กลับคาซัคสถานอีกตั้งไกล น้ำมันแพง ขับไปตอนนี้น้ำมันกินตายเลย เพื่อนมีรถตู้ ผมก็ขอเอาใส่รถตู้ พวกผมผิดตรงไหนไม่เข้าใจอะ" พ่อหนุ่มทำหน้าปะหลับปะเหลือกอธิบาย

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXpNekUyTURZMU5BPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE1TMHdOaTB4Tmc9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
 
การหาปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมใด ๆ
 การหาปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมใด ๆ หาได้โดยอาศัยวิธีหาปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ดังนี้
 การตัดปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากตามระนาบที่แรเงาดังแสดงในรูป จะได้รูปเรขาคณิตสามมิติสองรูปที่มีขนาดและรูปร่างเป็นอย่างเดียวกัน รูปเรขาคณิตสามมิติทั้งสองรูปเป็นปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีปริมาตรเท่ากัน แต่ละรูปมีปริมาตรเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
นั่นคือ  ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมใด ๆ   =  พื้นที่ฐาน  x  ความสูง

ตัวอย่าง
กลัวเปลืองกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากใบหนึ่ง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 3 เมตรยาว  6 เมตร สูง 4  เมตร กล่องใบนี้มีปริมาตรกี่ลูกบาศก์เมตร
วิธีทำ
จาก  ปริมาตรของกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก   คือ พื้นที่ฐาน  x ความสูง
พื้นที่ฐานของกล่องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า      คือ  กว้าง  x  ยาว
      =  6 x 3   =   18   ตารางเมตร
   ดังนั้น ปริมาตร =  พื้นที่ฐาน  x สูง
      =  18 x 4        ลูกบาศก์เมตร
      =  72   ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น  ปริมาตรของกล่องทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก   เท่ากับ      72  ลูกบาศก์เมตร

แบบฝึกหัด
1. ปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉากมีด้านประกอบมุมฉากยาว  12  และ 16  เซนติเมตร  ปริซึมแท่งนี้ยาว  20  เซนติเมตร  จงหาปริมาตร        
วิธีทำ  จากปริมาตรของปริซึม  =  พื้นที่ฐาน  x ความสูง
ดังนั้น    ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยม = (1/2 ความยาวฐาน xความสูง) x  ความสูง
แทนค่า  ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยม =     1,920    ลูกบาศก์เซนติเมตร
ตอบ  ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก  คือ  1,920    ลูกบาศก์เซนติเมตร

กลัวเปลือง2. ห้องเรียนกว้าง  4  เมตร  ยาว  6  เมตร  สูง  5  เมตร  ปริมาตรอากาศในห้องเรียนจะเป็นเท่าไร
วิธีทำ    จากโจทย์ ห้องเรียนเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมีปริมาตร   =  พื้นที่ฐาน  x สูง
พื้นที่ฐาน   =   กว้าง  x  ยาว 
จะได้  พื้นที่ฐาน   =   4  x  6     =    24    ตารางเมตร 
ดังนั้น  ปริมาตรของห้องเรียน =    24  x  5   ลูกบาศก์เมตร
=    120 ลูกบาศก์เมตร

ดังนั้น  ปริมาตรของอากาศในห้องเรียน   เท่ากับ      120 ลูกบาศก์เมตร

การเปรียบเทียบหน่วยปริมาตร [C] การเปรียบเทียบหน่วยปริมาตร                                      
การเปรียบเทียบหน่วยปริมาตร
 
หน่วยปริมาตรที่นิยมและใช้กันมาก คือ หน่วยการตวงในมาตราเมตริก
มาตราเมตริก  มีหน่วยความยาวเป็น มิลลิเมตร เซนติเมตร เมตร และ กิโลเมตร
1 มิลลิเมตร  =   1   เซนติเมตร
1 เมตร  =    100  เซนติเมตร
1 กิโลเมตร  =   1,000 เมตร

เมื่อเทียบกับหน่วยปริมาตร
1 ลิตร  =  1,000  ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 มิลลิลิตร  =     1  ลูกบาศก์เซนติเมตร
1 ลูกบาศก์เมตร  =     1,000  ลิตร
หน่วยการตวงในมาตราไทย มีดังนี้
1 ถัง  =     20 ลิตร
1 เกวียน  =     100  ถัง
1 เกวียน  =       2  ลูกบาศก์เมตร
แบบทดสอบ https://www.kr.ac.th/ebook2/warisara/t03.html

คำถามในห้องเรียน

การนำรถตู้ บรรทุกรถยนต์ซึ่งนอนตะแคงข้าง จะต้องรู้อะไรเพิ่มเติม จากรถยนต์ รถบรรทุก อธิบาย

ข้อเสนอแนะ
กลัวเปลืองการประหยัดเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ควรประหยัดในเรื่องที่ถูกที่ควร จะได้ไม่เสียใจต่อการกระทำของตน อาจจะเข้าข่าย เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว 
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน  มีความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา  ทักษะการทำงานร่วมกัน   และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน  มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 5 ความปลอดภัยในชีวิต
มาตรฐาน พ 5.1 ป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ อุบัติเหตุ การใช้ยาสารเสพติด และความรุนแรง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม   
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ที่มาของข้อมูล https://www.krunum11.files.wordpress.com/
ที่มาของข้อมูล https://www.gotoknow.org/blog/utmath132/285759
ที่มาของภาพ https://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2011/06/for33160654p1.jpg&width=360&height=360
ที่มาของภาพ https://www.goonone.com/images/stories/mathmatic/vol_suf/photo/surface_6.bmp
ที่มาของภาพ https://www.prc.ac.th/newart/web_pic4/form04.jpg
ที่มาของภาพ https://2.bp.blogspot.com/_QMdnqqSmYXM/SWSj1p99wBI/AAAAAAAAAC0/3w8Fld8I7hc/s400/ps3.jpg

ที่มาของภาพ https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSKQGZjifOlFmUS4IBcRpQiX0poXlu2FNEsN3jPRQ6DAKsJdUhK&t=1

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4069

อัพเดทล่าสุด