ความเชื่อก้นครัวไทย


936 ผู้ชม


ห้ามผู้หญิงร้องเพลงในครัว จะได้สามีแก่   

ความเชื่อก้นครัวไทย
ความเชื่อก้นครัวไทยห้ามผู้หญิงร้องเพลงในครัว จะได้สามีแก่
เป็นกุศโลบายไม่ให้แม่ครัวสาวร้องเพลงระหว่างทำกับข้าว นัยว่าเป็นการตัดรำคาญ และการร้องเพลงจะทำให้ไม่มีสมาธิในการทำกับข้าว จนอาจทำให้กับข้าวไหม้ หรือมีดบาดมือได้

ห้ามเคาะหม้อข้าวเวลาคดข้าว ชาติหน้าจะปากแหว่ง
เป็นกุศโลบายไม่ให้เคาะทัพพีกับหม้อข้าวเวลาคดข้าวแล้วมีเศษข้าวติดทัพพี เพราะหม้อข้าวสมัยโบราณเป็นหม้อดินเผา การเอาทัพพีเคาะหม้อข้าวบ่อยๆ อาจจะทำให้หม้อข้าวนั้นบิ่นหรือแตกได้

เวลาตักกับข้าวห้ามให้ช้อนกระทบกัน เพราะจะมีคนนำข่าวร้ายมาให้ 
เป็นกุศโลบายไม่ให้แย่งตักกับข้าวพร้อมกันจนช้อนกระทบกันเสียงดัง ซึ่งดูแล้วเป็นมารยาทที่ไม่งาม เหมือนการกินอย่างตะกละตะกลาม มูมมาม

นอนกิน ชาติหน้าจะเกิดเป็นงู
เพราะงูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่กินอาหารในท่านอน ดังนั้น คนโบราณจึงใช้ลักษณะนี้ในการสร้างความเชื่อดังกล่าว เพื่อเป็นกุศโลบายไม่ให้คนกินอาหารในท่านอน เพราะดูไม่สุภาพ และอาจสำลักได้

ห้ามพลิกปลา เพราะเวลานั่งเรือแล้วเรือจะล่ม ความเชื่อก้นครัวไทย
เป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งของคนไทยสมัยโบราณ เพราะการพลิกปลาเป็นมารยาทไม่ดีบนโต๊ะอาหาร รวมถึงอาจทำให้เลอะเทอะได้ ให้ใช้วิธีแกะก้างปลาออกแทนการพลิกปลา จะดูงามกว่า

ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hOakl6TURZMU5BPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1TMHdOaTB5TXc9PQ==

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การอ้างเหตุผล

การอ้างเหตุผล คือ การอ้างว่า "สำหรับเหตุการณ์ P1, P 2,..., Pn ชุดหนึ่ง สามารถสรุปผลที่ตามมา C ได้"  
  การอ้างเหตุผลประกอบด้วย 2 ส่วน คือ  
  1. เหตุ หรือสิ่งที่กำหนดให้  
  2. ผล หรือสิ่งที่ตามมา  
สำหรับการพิจารณาว่า การอ้างเหตุผลนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่นั้นพิจารณาได้จากประพจน์ ( P1 ∧ P2 ∧ ... Pn) → C ถ้าประพจน์ดังกล่าวมีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ (เป็นสัจนิรันดร์) เราสามารถสรุปได้ว่าการ 
อ้างเหตุผลดังกล่าวเป็นการอ้างที่สมเหตุสมผล  
ตัวอย่าง 
เหตุ 1. p → q 
      2. p  
ผล q 
ที่มาของข้อมูล https://www.thaigoodview.com/library/contest2551/math04/07/2/BasicMathForM4/logi_rea.html
ความเชื่อก้นครัวไทยการให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deductive Reasoning)
การให้เหตุผลแบบนิรนัยเกิดจากการมีสมมติฐานทั่วไปและตามด้วยสมมติฐานเฉพาะย่อยๆ ไปเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสมมติฐานทั่วไป และสมมติฐานเฉพาะจะก่อให้เกิดผลสรุปเฉพาะ โดยต้องยอมรับว่า 
สมมติฐานทุกสมมติฐานเป็นข้อความที่เป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป 
ตัวอย่างการให้เหตุผลแบบนิรนัย
1.   เหตุ   1) จำนวนคู่หมายถึงจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว             
2) 10 หารด้วย 2 ลงตัว                                         
       ผล  10  เป็นจำนวนคู่                                                
              สมเหตุสมผล                                                           
2.   เหตุ   1) คนทุกคนต้องตาย
2) นายวิชาเป็นคน
       ผล  นายวิชาต้องตาย                          
              สมเหตุสมผล
3.  เหตุ   1) นักกีฬากลางแจ้งทุกคนจะต้องมีสุขภาพดี               
         2) เกียรติศักดิ์เป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย                         
        ผล   เกียรติศักดิ์มีสุขภาพดี                                     
                     สมเหตุสมผล                                                                                          
4.  เหตุ   1) นกทุกตัวบินได้
2) ค้างคาวเป็นนก
       ผล  ค้างคาวบินได้                            
สมเหตุสมผล

จากตัวอย่างการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วจึงหาข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับแล้วนั้น ซึ่งจะเรียกความเชื่อก้นครัวไทยว่า ผล การสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปผลได้อย่างสมเหตุสมผล (valid)  เช่น
เหตุ     1) เรือทุกลำลอยน้ำได้      
         2) ถังน้ำพลาสติก ลอยน้ำได้
ผล    ถังน้ำพลาสติกเป็นเรือ                             
การสรุปผลจากข้างต้นไม่สมเหตุสมผล แม้ว่าข้ออ้างหรือเหตุทั้งสองข้อจะเป็นจริง แต่การที่เราทราบว่าเรือทุกลำลอยน้ำ
ได้ก็ไม่ได้หมายความว่าสิ่งอื่นๆ ที่ลอยน้ำได้จะต้องเป็นเรือเสมอไป ข้อสรุปดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการสรุปไม่สมเหตุสมผล
ข้อสังเกต การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น ผลหรือข้อสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ
1)  ยอมรับว่าเหตุเป็นจริงทุกข้อ
2)  การสรุปผลสมเหตุสมผล
ตัวอย่างการให้เหตุผล
เหตุ   1) นายธนาคารทุกคนเป็นคนรวย                     
         2) นายอภิศักดิ์ เป็นนายธนาคาร                                      
        ผล    นายอภิศักดิ์ เป็นคนรวย       
ที่มาของข้อมูล https://www.phokwit.ac.th/maths/reason2.htm
ข้อเสนอแนะ

คำถามในห้องเรียน
นักเรียนคิดว่าการอ้างเหตุผลกับกุศโลบายเหมือนหรือต่างกันอย่างไรแล้วอะไรน่าเชื่อถือมากกว่ากัน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สาระที่ 5    วรรณคดีและวรรณกรรม
มาตรฐาน  ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่าง
เห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 1     ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน  ส 1.1    รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของ
พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติ
ตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

ที่มาของภาพ https://thaiidiom.kapook.com/wp-content/uploads/2009/09/s230ip.jpg
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ4olQHxh5iZkmIzWneYZ1dmLoVWeGVCiOtPA8AqFGs04uu1CL6Tg&t=1
ที่มาของภาพ https://www.showwallpaper.com/wallpaper/0903/027084.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4088

อัพเดทล่าสุด