“วาติกัน” เผยโฉมเว็บใหม่ ขณะที่โป๊ปไม่ยอมตกเทรนด์ ออกทวิตเตอร์ เผยแผ่หลักคำสอนทางศาสนาผ่านระบบออนไลน์
“โป๊ป”ผุด“ทวิตเตอร์”
“วาติกัน” เผยโฉมเว็บใหม่ ขณะที่โป๊ปไม่ยอมตกเทรนด์ ออกทวิตเตอร์ เผยแผ่หลักคำสอนทางศาสนาผ่านระบบออนไลน์
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักวาติกัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิก เปิดเว็บไซต์ใหม่อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร และเผยแผ่หลักคำสอน ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ทางคริสตศาสนาแก่ผู้สนใจ ซึ่งการเปิดครั้งนี้มีขึ้นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตามเวลาท้องถิ่น ภายหลังจากสันตะปาปา หรือโป๊ป เบเนดิกต์ ที่ 16 ผู้เป็นองค์ประมุขคริสตจักร ได้เปิดทวิตเตอร์ เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้เพียง 1 วัน
รายงานข่าวแจ้งว่า โป๊ปเบเนดิกต์ ที่ 16 ซึ่งมีพระชนมายุ 84 พรรษา ได้เริ่มส่งข้อความผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ครั้งแรก ด้วยอุปกรณ์ไอแพด
ที่มาของข้อมูล https://www.siamrath.co.th/web/?q=node/73513
ที่มาของภาพ https://www.siamrath.co.th/web/sites/default/files/pope.jpg
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้พื้นฐานการนำเสนอข้อมูล
โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง
2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ
ที่มาของข้อมูล https://thailocal.nso.go.th/nso-cms/%E0%B8%B4basic_knowledge.html
ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก ฯลฯ
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ
ความสำคัญของการนำเสนอ
ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่าง ๆ กล่าวโดยสรุปการนำเสนอมีความสำคัญ ต่อการปฏิบัติงานทุกประเภท เพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ตลอดจนเผยแพร่ความก้าวหน้าของงานต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ
จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบความคิดเห็นหรือความต้องการ
เพื่อให้ผู้รับสารพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เพื่อให้ผู้รับสารได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอ
เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
ประเภทของการนำเสนอ
ประเภทของการนำเสนอแบ่งอย่างกว้าง ๆ มี 2 รูปแบบ ดังนี้
การนำเสนอเฉพาะกลุ่ม
การนำเสนอทั่วไปในที่สาธารณะ
ลักษณะของข้อมูลที่นำเสนอ
ข้อมูลที่จะนำเสนอแบ่งออกตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่
1. ข้อเท็จจริง หมายถึง ข้อความที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ เรื่องราวที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามความจริง
2. ข้อคิดเห็น เป็นความเห็นอันเกิดจากประเด็นหรือเรื่องราวที่ชวนให้คิด ข้อคิดเห็นมีลักษณะต่าง ๆ กัน
คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน พัฒนาการคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง มีขีดความสามารถสูงขึ้น คำนวณได้เร็ว และยังแสดงผลในแบบรูปภาพได้ดี ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในระดับส่วนตัวมากมาย เช่น การสร้างเอกสาร สามารถจัดพิมพ์เอกสารที่มีความสวยงาม พิมพ์เอกสารที่เป็นตาราง รูปภาพ หรือการจัดรูปแบบเอกสาร เพื่อนำเสนอได้ดี ยังมีในรูปแบบตารางคำนวณที่เรียกว่า สเปรดชีต หรือ อิเล็กทรอนิกส์สเปรดชีต ตารางคำนวณมีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้สูง คำนวณตามฟังก์ชันต่างๆ ผู้ใช้ใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม สามารถสร้างรูปกราฟแบบต่างๆ และนำเสนอผลจากตัวเลขในรูปแบบที่เป็นรูปกราฟเพื่อความเข้าใจที่ดีได้
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมกราฟิกที่ใช้ในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ โปรแกรมนำเสนอผลงานสามารถเขียนกราฟและภาพกราฟิกที่สวยงาม เพื่อใช้ในการแสดงผลได้ดี มีผู้นิยมใช้มากเพราะใช้งานได้ง่าย มีคุณภาพ ประกอบกับภาพแสดงผลในปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องฉายภาพ เพื่อนำเสนอในห้องประชุม หรือนำเสนอต่อบุคคลจำนวนมากได้ ในการนำเสนอผลงานจึงต้องมีหลักการ และการเลือกรูปภาพ ให้เหมาะสม เรามีรูปแบบของกราฟหลากหลายรูปแบบ
ประเภทของการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลแบบอนุกรม
ฮิสโตแกรม
กราฟ HI - LO
กราฟแท่ง
กราฟวงกลม(pie chart)
กราฟ Scattering
ที่มาของข้อมูลhttps://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5
ทำแบบฝึกหัด https://it.thanyarat.ac.th/stat/exch2.aspx
คำถามในห้องเรียน
นักเรียนคิดว่าการนำเสนอข้อมูลมีข้อดีและข้อจำกัดอะไรบ้างอภิปรายเป็นข้อๆ
ข้อเสนอแนะ
การใช้ทวิตเตอร์ เผยแผ่หลักคำสอนผ่านระบบออนไลน์ เป็นสิ่งที่ดีเหมาะสมกับยุคนี้อย่างยิ่ง ข้อควรระวังข้อความหรือข้อคอมเมนต์ที่ไม่สุภาพในทุกๆ กรณี
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่างๆ และแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และนำไปใช้ ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
มาตรฐาน ส 1.1 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจ ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ
ที่มาของภาพ https://www.panyathai.or.th/wiki/images/%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A21.jpg
ที่มาของภาพ https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQp1qYdM1C_c2ZCIhn6fLM83j19Qc8MaQsocwHZ8VqBVhJlGubk
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTEca1-PxrszPtzODwlHRU4zsQHxfZ7kMKyAPIrpYNElLrYIECRKg
ที่มาของภาพ https://www.snw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/multimedia/multimedia.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4107