เร่งดำเนินการเพื่อทราบว่าบุคคลเหล่านี้มีความพร้อมและมีความรู้ความสามารถที่จะมีวิทยฐานะต่อไปหรือไม่
ก.ค.ศ. เร่งประเมินวิทยฐานะครบ 5 ปี
ไม่ผ่านเกณฑ์ อดได้เงิน -หวั่นล่าช้า ปัญหาใหญ่
นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดศธ. กล่าวถึงการประเมินคงวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ได้รับวิทยฐานะครบ 5 ปี ว่า ขณะนี้ (ก.ค.ศ.) กำลังเร่งจัดทำหลักเกณฑ์ เพื่อนำเข้าพิจารณาในคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญ ในวันที่ 20 ก.ค.นี้ โดยต้องเร่งดำเนินการเพื่อทราบว่าบุคคลเหล่านี้มีความพร้อมและมีความรู้ความสามารถที่จะมีวิทยฐานะต่อไปหรือไม่ หากมีก็ให้มีจะไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ
"เรื่องนี้เป็นกฎหมายที่ระบุให้ต้องมีการตรวจสอบว่าวิทยฐานะที่ได้รับไปนั้นเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่ทำก็ถือว่าบกพร่องต่อหน้าที่ เพราะกฎหมายของครูแตกต่างจากกฎหมายของข้าราชการประเภทอื่น เมื่อครบกำหนดที่ได้วิทยฐานะแล้วให้ประเมินใหม่ เพราะหากล่าช้าและเมื่อครบรอบแล้วประเมินไม่ผ่าน แต่จ่ายเงินไปล่วงหน้าแล้วครูจะต้องจ่ายเงินคืนหลวง ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะผู้ที่ครบรอบวิทยฐานะในทุกสังกัดมีจำนวนเป็นแสนคน โดยการประเมินครูสามารถเข้าไปดูผลสัมฤทธิ์การสอน กระบวนการเรียนการสอน สมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนได้เลย ส่วนผู้บริหารก็ดูสมรรถนะการบริหาร เป็นต้น ดูงานในหน้าที่ของทุกคนอยู่แล้ว" ปลัดศธ.กล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFpIVXdNVEV4TURjMU5BPT0=§ionid=TURNeE5RPT0=&day=TWpBeE1TMHdOeTB4TVE9PQ==
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ค่ามาตรฐานหรือคะแนนมาตรฐาน (Standard Scores)
ค่ามาตรฐานเป็นค่าที่บอกให้ทราบความแตกต่างระหว่างค่าของข้อมูลนั้นกับค่าเฉลี่ยเลขคณริตของข้อมูลชุดนั้นเป็นกี่เท่าของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ในการเปรียบเทียบค่าคะแนนของข้อมูลที่มาจากข้อมูลต่างชุดกัน ว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งบางครั้งไม่สามารถเปรียบเทียบได้โดยตรง เพราะมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลมักจะไม่เท่ากัน ในการเปรียบเมียบให้มีความถูกต้องจึงมีความจำเป็นของการเปลี่ยนคะแนนของข้อมูลทั้งสองชุดนั้นให้เป็นคะแนนมาตรฐาน ( ซึ่งมีมัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากันเสียก่อน ) จึงจะเปรียบเทียบข้อมูล 2 ชุดนี้ได้ ในการเปลี่ยนค่าของข้อมูลของตัวแแปรหรือข้อมูลแต่ละตัวให้เป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้คือเปลี่ยนให้มีค่ามัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1
ข้อสังเกต
1.คะแนนมาตรฐานเป็นตัวเลขไม่มีหน่วย
2.ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนมาตรฐานทั้งหมดของชุดข้อมูล จะมีค่าเท่ากับ 1
3.คะแนนมาตรฐานของข้อมูลใดๆ จะเป็นบวก หรือลบก็ได้ขึ้นอยู่กับค่าของข้อมูลนั้นๆ กับมัชฌิมเลขของข้อมูลชุดนั้นว่าค่าใดมีค่ามากกว่ากัน
4.คะแนนมาตรฐานโดยทั่วไปจะมีค่า –3 ถึง +3 แต่อาจจะมีบางข้อมูลที่มีคะแนนมาตรฐานสูงหรือต่ำกว่านี้เล็กน้อย
5.เมื่อแปลงข้อมูลทุกๆ ค่าในข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งให้เป็นคะแนนมาตรฐานแล้วทำค่ามาตรฐานเหล่านั้นมาคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิตจะได้เท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะได้เท่ากับ 1 ( คะแนนมาตรฐานจะมีมัชฌิมเลขคณิตเท่ากับ 0 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1 )
ตัวอย่าง
สายใจสอบวิชาสถิติและภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคะแนนเต็ม 100 คะแนนเท่ากัน ในการสอบสายใจได้คะแนน 75 และ 85 คะแนนตามลำดับ ถ้าค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเเบี่ยงเบนมาาตรฐานของคะแนนสถิติของนักศึกษากลุ่มนี้คือ 60 และ 10 ค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของวิชาภาษาอังกฤษคือ 70 และ 12 ตามลำดับ แล้วจงเปรียบเทียบว่าสายใจเรียนวิชาไหนได้ดีกว่ากัน
วิธีทำ
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาสถิติ คือ (75-60)/10 = 1.5
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ คือ (85-70)/12 = 1.25
ค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาสถิติของสายใจสูงกว่าค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาภาษาอังกฤษ แสดงว่าสายใจเรียนวิชาสถิติได้ดีกว่าวิชาภาษา
อังกฤษ
ตัวอย่าง
ในการสอบวิชาบัญชีของนักศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มหนึ่ง มีค่ามัชฌิมเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็น 64 และ 10 ตามลำดับ ถ้าค่ามาตรฐานของคะแนนวิชาบัญชีของ เพชรมณีคือ 1.3 อยากทราบว่าเพชรมณีสอบได้คะแนนเท่าไร
วิธีทำ
แทนค่า 1.3 = (x – 64) /10
X = (1.3)( 10)+64 = 77
เพชรมณีสอบวิชาบัญชีได้คะแนน 77 คะแนน
ตัวอย่าง ในการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปริญญาตรีแผนกการตลาดและแผนกบัญยชี ซึ่งวสา นักศึกษาแผนกบัญชีสอบได้ 85 คะแนน ในแผนกบัญชีมีค่ามัชฌิมเลขคณิต 70 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 10 และสุธี นักศึกษาแผนกการตลาดสอบได้ 75 คะแนนในแผนกการตลาดมีค่ามัชฌิมเลขคณิต 60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 12 จงหาว่า วสาและสุธี ใครเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีกว่ากัน
วิธีทำ
คะแนนมาตรฐานของวสา = (85-70)/10= 1.5
คะแนนมาตรฐานของสุธี = 1.25
ดังนั้นจากการเปรียบเทียบคะแนนมาตรฐานของวสาจะสูงกว่าของสุธี แสดงว่า วสาจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีกว่าสุธ
ที่มาของข้อมูล https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/3.17.html
คะแนนมาตรฐาน เป็นหน่วยของการวัดชนิดหนึ่งที่แปลงรูปมาจากคะแนนดิบเพื่อเปลี่ยนระดับผลการวัด จากระดับอันดับเป็นระดับอันตรภาค ที่นิยมใช้มี Z-score และ T – score
Z- score เป็นคะแนนมาตรฐานที่มีทรวดทรงการกระจายเป็นโค้งปกติ ซึ่งมี
มัชฌิมเลขคณิต = 0 และ S = 1
Z เป็นได้ทั้ง + และ -
เป็น + แสดงว่ามีความสามารถสูงกว่าค่าเฉลี่ย
เป็น - แสดงว่ามีความสามารถต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
T – score เป็นคะแนนมาตรฐานที่มีทรวดทรงการกระจายเป็นโค้งปกติ ซึ่งมี
มัชฌิมเลขคณิต = 50 และ S = 10 (แปลงมาจาก Z เพราะว่า Z ติดลบและติดทศนิยม)
พื้นที่ใต้โค้งของ Z- score และ T-score ดังนี้
Z – score -3 -2 -1 0 1 2 3
T – score 20 30 40 50 60 70 80
ถ้ากำหนดพื้นที่ใต้โค้งเป็น 100 % จะมีคุณสมบัติดังนี้
ค่า Z จาก 0 ถึง +1 หรือ 0 ถึง -1 มีพื้นที่ประมาณ 34 %
ค่า Z จาก +1 ถึง +2 หรือ -1 ถึง -2 มีพื้นที่ประมาณ 14 %
ค่า Z จาก +2 ถึง +3 หรือ -2 ถึง -3 มีพื้นที่ประมาณ 2 %
หมายเหตุ
ค่า T มีคุณสมบัติทำนองเดียวกับค่า Z เช่น
ค่า T จาก 50 ถึง 60 หรือ 40 ถึง 50 มีพื้นที่ประมาณ 34 %
จากคุณสมบัตินี้เป็นประโยชน์ต่อการแปลความหมายของคะแนน ดังนี้
Z = 0 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 50 คน ใน 100 คน
Z = 1 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 84 คน ใน 100 คน
Z = 2 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 98 คน ใน 100 คน
Z = -1 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 16 คน ใน 100 คน
Z = -2 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 2 คน ใน 100 คน
หมายเหตุ ค่า T แปลความหมายของคะแนนทำนองเดียวกับค่า Z เช่น
T = 50 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 50 คน ใน 100 คน
T = 70 จะมีความสามารถสูงกว่าคนอื่น 98 คน ใน 100 คน
การใช้ Z – score และ T – Score
1. ใช้บอกระดับความสามารถในกลุ่ม โดยใช้การแปลความหมายของคะแนน Z – score และ T – score ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแต่ละคนมีความสามารถมากน้อยแค่ไหนสูงกว่าคนอื่นมากน้อยเพียงใด
2. ใช้เปรียบเทียบความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเด็กเพื่อช่วยให้เห็นสภาพความสามารถในแต่ละด้านของเด็ก
แต่ละคน
ที่มาของข้อมูล https://www.ipecp.ac.th/cgi-binn/webpili/unit7/level7-5.html
คำถามในห้องเรียน
"หากครูไม่มีมีความพร้อมและไม่มีความรู้ความสามารถจะไม่ได้รับเงินวิทยฐานะ" นักเรียนคิดว่าควร Z – score หรือ T – Score มาตัดสินการประเมินครั้งนี้แล้วจะมีผลกระทบตามมาเรื่องอะไรบ้าง ร่วมกันอภิปราย
ข้อเสนอแนะ
ครูมีความพร้อมและมีความรู้ความสามารถที่จะมีวิทยฐานะต่อไปหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน
การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์
มาตรฐาน ส.3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
มาตรฐาน ส.3.2 เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สาระที่ 2 ชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน พ 2.1 เข้าใจและเห็นคุณค่าตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดำเนินชีวิต
ที่มาของภาพ https://www.osmie5.moe.go.th/new/images/stories/News2/140.jpg
ที่มาของภาพ https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/124/50124/images/109.jpg
ที่มาของภาพ https://www.promma.ac.th/group_director/wp-content/uploads/2011/04/p23406920009.jpg
ที่มาของภาพ https://www.health.nu.ac.th/score/t.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4151