มจร.กับ ... ผลวิจัย


876 ผู้ชม


ได้รวบรวมงานวิจัยของพระนิสิต และนักศึกษา ตั้งแต่ปี 2549-2553 เรื่อง "บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา"   

ผลวิจัย มจร.ชี้ชาวพุทธทั่วประเทศ
ไม่เคยทำบุญ 25% ไม่สวดมนต์ 15%

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (ประสาน จันทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) เปิดเผยว่า มจร.มจร.กับ ... ผลวิจัยได้รวบรวมงานวิจัยของพระนิสิต และนักศึกษา ตั้งแต่ปี 2549-2553 เรื่อง "บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา" โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ดังนี้ ด้านการปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างชาวพุทธ
ทั่วประเทศ พบว่า 
สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 30.66 
เป็นบางครั้ง ร้อยละ 54.26 
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 15.09
ทำบุญตักบาตรบ่อยแค่ไหน พบว่า 
มีชาวพุทธไม่เคยทำบุญตักบาตร ร้อยละ 25.79 
ปฏิบัติเป็นประจำ ร้อยละ 10.22 
เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 18.73 
ทำเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ร้อยละ 45.26
 
ภาคเหนือ พบว่า 
สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 27.78 
เป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.67 
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 15.56 
ปฏิบัติทำบุญตักบาตรบ่อยแค่ไหน พบว่า 
ไม่เคยทำบุญตักบาตร ร้อยละ 18.89 
ทำเป็นประจำ ร้อยละ 11.11 
เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 23.33 
เฉพาะวันสำคัญ ร้อยละ 46.67
ส่วนตัวอย่างกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) พบว่า 
สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 36.92 เ
ป็นบางครั้ง ร้อยละ 49.23 
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 13.85 
ทำบุญตักบาตรบ่อยแค่ไหน ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 23.08 
ปฏิบัติเป็นประจำ ร้อยละ 15.38 
เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 21.54 
วันสำคัญ ร้อยละ 40
 
ภาคกลาง พบว่า 
มจร.กับ ... ผลวิจัยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 34.44 
เป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.67
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 8.89 
ทำบุญตักบาตรบ่อยแค่ไหน พบว่า 
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 23.33 
ปฏิบัติเป็นประจำ ร้อยละ 10 
เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 14.44 
วันสำคัญ ร้อยละ 52.22 
ขณะที่กลุ่มภาคใต้ พบว่า 
สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 24.24 
เป็นบางครั้ง ร้อยละ 57.58 
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 18.18 
ทำบุญตักบาตรบ่อยแค่ไหน พบว่า 
ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 30.30 
ปฏิบัติเป็นประจำ ร้อยละ 4.55 
เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 12.12 
วันสำคัญ ร้อยละ 53.03
 
พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ กล่าวอีกว่า เมื่อถามกลุ่มชาวพุทธทั่วประเทศว่า
ศีลข้อใดรักษายากที่สุด พบว่า 
ศีลข้อ 1 เว้นจากการฆ่าสัตว์ ร้อยละ 31.39 
ศีลข้อ 5 เว้นจากการดื่มสุรา ร้อยละ 28.47 
 
“งานวิจัยสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เร่งรีบ และสะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มสุรา และการฆ่าสัตว์ หรือฆ่าคนด้วยกันเอง แต่ที่รู้สึกตกใจ เห็นจะเป็นเรื่องของชาวพุทธบางส่วนไม่เคยทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ ถึงแม้จะมีไม่มาก แต่ก็น่าห่วงว่า ถ้าต่อไปในอนาคต คนไม่ใส่บาตร พระสงฆ์และสามเณรก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น ในช่วงวันสำคัญอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา จึงอยากชวนชาวพุทธคนใดที่ไม่เคยใส่บาตร ให้มาทำบุญสักครั้ง เพื่อช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา” พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณกล่าว
ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310558826&grpid=&catid=19&subcatid=1903
คณิตศาสตรที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
          การกำหนดกลุ่มตัวอย่างมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการเก็บข้อมูลกับประชากรทุกหน่วยอาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมากและบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด  การเลือกศึกษาเฉพาะบางส่วนของประชากรจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น  เพื่อให้มีความเข้าใจในการเลือกตัวอย่าง จะขอนำเสนอความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
ความหมายของคำที่เกี่ยวข้อง
มจร.กับ ... ผลวิจัยประชากร (Population) หมายถึง สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษา ซึ่งไม่ได้หมายถึงคนเพียงอย่างเดียว ประชากรอาจจะเป็นสิ่งของ เวลา สถานที่   9ล9 เช่นถ้าสนใจว่าความคิดเห็นของคนไทยที่มีต่อการเลือกตั้ง ประชากร คือคนไทยทุกคน หรือถ้าสนใจอายุการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อหนึ่ง ประชากรคือเครื่องคอมพิวเตอร์ยี่ห้อนั้นทุกเครื่อง  แต่การเก็บข้อมูลกับประชากรทุกหน่วยอาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงมากและบางครั้งเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจภายในเวลาจำกัด  การเลือกศึกษาเฉพาะบางส่วนของประชากรจึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น เรียกว่ากลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง ส่วนหนึ่งของประชากรที่นำมาศึกษาซึ่งเป็นตัวแทนของประชากร การที่กลุ่มตัวอย่างจะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรเพื่อการอ้างอิงไปยังประชากรอย่างน่าเชื่อถือได้นั้น จะต้องมีการเลือกตัวอย่างและขนาดตัวอย่างที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องอาศัยสถิติเข้ามาช่วยในการสุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) หมายถึง กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ประเภทของการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง
วิธีการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น ( Nonprobability sampling )เป็นการเลือกตัวอย่างโดยไม่คำนึงว่าตัวอย่างแต่ละหน่วยมีโอกาสถูกเลือกมากน้อยเท่าไร
ทำให้ไม่ทราบความน่าจะเป็นที่แต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้ แต่มีความสะดวกและประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่า  ซึ่งสามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
1.1 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อให้ได้จำนวนตามต้องการโดยไม่มีหลักเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถให้ข้อมูลได้
1.2 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ( Quota  sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยคำนึงถึงสัดส่วนองค์ประกอบของประชากร เช่นเมื่อต้องการกลุ่มตัวอย่าง 100 คน ก็แบ่งเป็นเพศชาย 50 คน หญิง 50 คน แล้วก็เลือกแบบบังเอิญ คือเจอใครก็เลือกจนครบตามจำนวนที่ต้องการ
1.3 การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive  sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเอง ลักษณะของกลุ่มที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงต้องอาศัยความรอบรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆของผู้ทำวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Judgement sampling

2. การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น ( Probability sampling )
          เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยสามารถกำหนดโอกาสที่หน่วยตัวอย่างแต่ละหน่วยถูกเลือก ทำให้ทราบความน่าจะเป็นที่มจร.กับ ... ผลวิจัยแต่ละหน่วยในประชากรจะถูกเลือก การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้สามารถนำผลที่ได้อ้างอิงไปยังประชากรได้  สามารถทำได้หลายแบบ ดังนี้
2.1 การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย  (Simple random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยถือว่าทุกๆหน่วยหรือทุกๆสมาชิกในประชากรมีโอกาสจะถูกเลือกเท่าๆกัน การสุ่มวิธีนี้จะต้องมีรายชื่อประชากรทั้งหมดและมีการให้เลขกำกับ วิธีการอาจใช้วิธีการจับสลากโดยทำรายชื่อประชากรทั้งหมด หรือใช้ตารางเลขสุ่มโดยมีเลขกำกับหน่วยรายชื่อทั้งหมดของประชากร
2.2 การสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ ( Systematic sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยมีรายชื่อของทุกหน่วยประชากรมาเรียงเป็นระบบตามบัญชีเรียกชื่อ การสุ่มจะแบ่งประชากรออกเป็นช่วงๆที่เท่ากันอาจใช้ช่วงจากสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและประชากร แล้วสุ่มประชากรหน่วยแรก ส่วนหน่วยต่อๆไปนับจากช่วงสัดส่วนที่คำนวณไว้        
2.3 การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อยๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (homogenious)    แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากร                                                         
2.4 การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling ) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งประชากร
ออกตามพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องทำบัญชีรายชื่อของประชากร และสุ่มตัวอย่างประชากรจากพื้นที่ดังกล่าวตามจำนวนที่ต้องการ แล้วศึกษาทุกหน่วยประชากรในกลุ่มพื้นที่นั้นๆ หรือจะทำการสุ่มต่อเป็นลำดับขั้นมากกว่า 1 ระดับ โดยอาจแบ่งพื้นที่จากภาค เป็นจังหวัด จาก จังหวัดเป็นอำเภอ และเรื่อยไปจนถึงหมู่บ้าน 
นอกจากนี้การสุ่มตัวอย่างยังสามารถเลือกสุ่มตัวอย่างผสมระหว่างแบบง่ายแบบชั้นภูมิและแบบกลุ่มด้วยก็ได้
ที่มาของข้อมูล https://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re6.htm
การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติกันในการทำวิจัย  จำแนกได้เป็น 2 รูปแบบ  คือ
1. การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบที่หน่วยตัวอย่างทุกหน่วยมีโอกาสถูกเลือกไม่เท่ากัน  การ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ไม่เป็นไปตามหลักของความน่าจะเป็นซึ่งมักจะใช้ใน กรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากรแน่นอน หรือไม่ได้สนใจว่าประชากรจะมีเท่าไร ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจึงไม่ใช่ตัวแทนของประชากรทั้งหมดแต่ก็ยังมี การวิจัยเชิงสำรวจบางเรื่องจำเป็นต้องใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบนี้ 
1.1 การเลือกแบบบังเอิญ  (Accidental  Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างเท่าที่จะหาได้ครบตามช่วงเวลา หรือสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่นไปยืนรอสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้หมวกนิรภัยของประชาชนที่ขี่รถ จักรยานยนต์มาจ่ายกับข้าวตอนเช้าที่หน้าตลาดสดจำนวน 200 คน 
1.2 การเลือกแบบกำหนดโควตา (Quota  Sampling)เป็น การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดจำนวนจำแนกตามสถานภาพของกลุ่มตัวอย่าง เช่น ต้องการกลุ่มตัวอย่างชาย 100 คน กับกลุ่มตัวอย่างหญิงอีก 100 คน หรือต้องการกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่น 60คน วัยหนุ่มสาว 80  คน และ วัยชรา  60  คน  แล้วจึงเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีบังเอิญตามจำนวนที่กำหนด
 1.3  การเลือกแบบมีจุดมุ่งหมาย หรือแบบจงใจ  (Purposive  Sampling)  เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะเฉพาะตรงกับปัญหา เช่น ต้องการศึกษาปัญหาการลาออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในปีการศึกษา 2550 ก็กำหนดกลุ่มตัวอย่างเฉพาะนักศึกษาที่มายื่นใบลาออกในปีการศึกษา  2550
1.4 การเลือกแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่คำนึงความสะดวกในการเก็บข้อมูล เช่น กลุ่มตัวอย่างอยู่ใกล้ เดินทางสะดวก มีผู้ช่วยเก็บข้อมูลแทนได้
1.5  การเลือกแบบลูกโซ่  (Chain)  เป็น การเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เริ่มจากคนแรก  แล้วให้คนแรกแนะนำหน่วยตัวอย่างคนต่อไปเหมือนสายโซ่ทำเช่นนี้จนได้จำนวน กลุ่มตัวอย่าง           ตามต้องการ
2. การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบที่หน่วยตัวอย่างทุกหน่วยมีโอการถูกเลือกเท่ากัน  การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบนี้เป็นไปตามหลักของทฤษฎีความน่าจะเป็น และเรียกว่า “การสุ่มตัวอย่าง (Random Sampling)” และถือว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้มาเป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด ซึ่งจำแนกเป็น 5 แบบ  ดังนี้
 2.1  การสุ่มแบบง่าย (Simple  Random  Sampling) การ สุ่มตัวอย่างโดยวิธีนี้สมาชิกของกลุ่มประชากรทุก ๆ หน่วยมีโอกาสเท่าๆกันในการได้รับเลือกมาเป็นสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง  การสุ่มแบบนี้เหมาะสำหรับประชากรที่มีหน่วยตัวอย่างไม่มาก ซึ่งการสุ่มทำได้ 2 วิธี ดังนี้
     2.1.1  ใช้การจับฉลาก โดยการเขียนหมายเลขรหัสของหน่วยตัวอย่างทั้งหมด(หรือเขียนชื่อก็ได้)ตาม บัญชีประชากรที่จัดทำไว้อย่างเป็นระบบลงในกระดาษที่ทำฉลาก  จากนั้นจึงดำเนินการจับหมายเลขนั้นทีละหมายเลขแบบสุ่มจนครบตามจำนวนกลุ่ม ตัวอย่างที่ต้องการ เช่น ประชากรเป็นนักศึกษามี 100 คน ต้องการกลุ่มตัวอย่าง 80 คน ก็ทำฉลากเลขรหัสนักศึกษา 100 หมายเลข แล้วจับขึ้นมา 80 หมายเลขก็จะทราบว่าใครบ้างที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
      2.1.2  ใช้ตารางเลขสุ่ม เป็นตารางที่นักสถิติจัดทำขึ้น ในตารางประกอบขึ้นด้วยตัวเลขโดดวางต่อๆ กันแบบไม่มีลำดับหรือไม่เป็นระบบ ถือว่าเป็นตัวเลขสุ่ม พร้อมที่จะผสมตัวเลขตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป  เช่น จากตัวอย่างนักศึกษา 100 คน ต้องการสุ่มตัวอย่าง 80 คน  จะต้องให้หมายเลขรหัสของหน่วยตัวอย่างเป็น  001,  002, 003,…, 100 จากนั้นไปสุ่มตัวเลข   ในตารางเลขสุ่มมา 1 ตัว  แล้วอ่านเลขผสมทีละ 3 ตัวเรียงไปทางขวามือ (เรียงย้อนตามแนวนอนมาทางซ้ายก็ได้ หรือเรียงขึ้นลงในแนวตั้งก็ได้) หมดแถวแล้วให้เรียงตัวเลขต่อกับบรรทัดต่อไป  ถ้าพบว่าได้เลขตรงกับหน่วย ตัวอย่างใด  ก็ทำเครื่องหมายบันทึกไว้  ถ้าได้ซ้ำก็ให้ข้ามไป จนครบ  80  ตัวอย่าง
 2.2 การสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยการแบ่งประชากรออกเป็นพวกย่อยๆ หรือเรียกว่าแบ่งชั้น (Strata) แล้วสุ่มตัวอย่างจากทุกพวกออกมาตามสัดส่วนมากน้อยของแต่ละพวกโดยต้องใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายในขั้นสุ่มจริง วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้มาก และถือว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
ตัวอย่าง   
มจร.กับ ... ผลวิจัย        ถ้ามีประชากรนักศึกษาชั้นปีที่ 4ของมหาวิทยาลัย แห่งหนึ่งจำนวนรวม 1,500คน จำแนกเป็นพวกตามคณะที่เรียน มีครุศาสตร์ 250  คน วิทยาศาสตร์ 320 คน มนุษยศาสตร์ 500 คน และวิทยาการจัดการ 430 คน เมื่อเทียบขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรได้ 300 คน จะได้กลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแต่ละคณะดังนี้
ครุศาสตร์ได้          (300/1500)  x  250   =     50  คน
วิทยาศาสตร์          (300/1500)  x   320  =     64  คน
มนุษยศาสตร์        (300/1500)  x   500  =   100  คน
วิทยาการจัดการ    (300/1500)  x   430  =     86  คน
2.3  การสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ใช้ในกรณีที่ประชากรมีการลงทะเบียน และให้หมายเลขไว้ตามลำดับอย่างมีระเบียบ(หรือถ้าไม่ได้จัดทำไว้  นักวิจัยอาจจะนำมาจัดทำเองได้) เช่น ประชากร นักเรียน นักศึกษา พนักงานห้างร้าน คนงานโรงงาน ประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ซึ่งมีบ้านเลขที่ตามสำเนาทะเบียนบ้าน วิธีการสุ่มทำดังนี้
     2.3.1  หาช่วงของการสุ่มตัวอย่าง โดยนำเอาจำนวนประชากรมาหารด้วยจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ถ้ามีเศษให้พิจารณาปัดเศษเป็นจำนวนเต็ม เช่น ถ้ามีประชากร 1,400  คน  ต้องการกลุ่มตัวอย่าง 300 คน จะได้ช่วงของการสุ่ม 1,400/300 = 4.67 ปัดเป็น 5                     
     2.3.2  หน่วยตัวอย่างในประชากร 5 ลำดับแรกมาสุ่มหมายเลขตั้งต้น (Random  Start) โดยวิธีสุ่มอย่างง่ายได้เลขที่ 3
     2.3.3  ระบุหน่วยที่จะเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยเริ่มจากเลขที่ตั้งต้น และเลขที่ต่อไปให้นำเลขที่ตั้งต้นบวกด้วยเลขบอกช่วงการสุ่ม  ดังนี้  3, 8, 13, 18, 23, 28,… จนครบ 300 ตัวอย่าง  ถ้าระบุไปจนถึงคนสุดท้ายแล้วยังไม่ครบ 300 คน เนื่องจากการคำนวณช่วงการสุ่มมีการปัดเศษ ก็ให้บวกเลขวนกลับมาผ่านเลขที่ 1 อีกรอบ ถ้าซ้ำเลขที่เดิมให้ข้ามไป
2.4  การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ในกรณีที่ประชากรอยู่เป็นกลุ่มหลายกลุ่ม  ในแต่ละกลุ่มมีลักษณะของประชากรหลากหลายเช่นเดียวกัน จะใช้กลุ่มเป็นหน่วยการสุ่ม โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายวิธีนี้นิยมใช้สุ่มตัวอย่างประชากรที่แบ่งตาม พื้นที่อยู่อาศัย หรือแบ่งตามเขต การปกครอง เป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน สำหรับตัวอย่างการสุ่มในทางการศึกษา  เช่น กรณีต้องการสุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มา 2 ห้องเรียน จากที่มี  6  ห้องเรียนจะทำได้  ถ้านักเรียนทั้ง 6 ห้องเรียนนั้นมีความสามารถ และสถานภาพส่วนตัวทั่วๆ ไปคละกันเท่าเทียมกันทุกห้องเรียน
2.5  การสุ่มหลายขั้นตอน  (Multi–stage Random Sampling) ใช้ในกรณีที่ประชากรมีขนาดใหญ่มาก อยู่ในพื้นที่กว้าง และประชากรสามารถแบ่งระดับที่แตกต่างกันหลายระดับจำเป็น ต้องใช้วิธีสุ่มหลายวิธีประกอบกัน เช่น ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งกลุ่มก่อน และในขั้นตอนเกือบสุดท้ายอาจใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น และขั้นสุดท้ายใช้วิธีสุ่มแบบง่าย เช่น ต้องการทำวิจัยปัญหาหนึ่ง โดยใช้ประชากรคนจังหวัดนครปฐมกำหนดกลุ่ม ตัวอย่าง 900 คน กำหนดวิธีสุ่มหลายขั้นตอนดังนี้  สุ่มอำเภอมา 4 อำเภอ จาก 7 อำเภอ ใน 4 อำเภอ สุ่มมาอำเภอละ 3 ตำบล แต่ละตำบลสุ่มมา  5 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านสุ่มครัวเรือนมา 15 ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนสุ่มสมาชิกมา 1 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 4 x 3 x 5 x 15 x 1  =  900  คน
ส่วนการจะเลือกใช้วิธีใดนั้นขอให้ผู้วิจัยคำนึงคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง 2 ข้อนี้  คือ
1. ความเป็นตัวแทนที่ดี  หมายถึง  กลุ่ม ตัวอย่างที่ดีควรมีลักษณะต่างๆ สอดคล้องครอบคลุมคุณลักษณะทุกประการของประชากร ซึ่งหมายถึงว่ากลุ่มตัวอย่างนั้นต้องเลือกมาจากประชากรโดยปราศจาก ความลำเอียง คือ  เลือกมาโดยการสุ่มนั่นเอง
2.  มีขนาดพอเหมาะหรือพอเพียงที่จะทดสอบความเชื่อมั่นทางสถิติได้ เพื่อที่ว่าผลที่ได้จะได้สามารถอ้างอิงไปสู่ประชากรอย่างชื่อถือได้
        ดังนั้นคงไม่สามารถบอกได้ว่าเลือกใช้วิธีไหนดีที่สุด  ต้องขึ้นอยู่กับว่าวิธีไหนที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างที่ได้มา  เป็นตัวแทนที่ดีของประชากรและมีความพอเพียงในการที่จะอ้างอิงข้อค้นพบต่างๆ กลับไปยังประชากรได้
ที่มาของข้อมูล https://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=3533
การกำหนดกลุ่มประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
ประชากรในทางสถิติอาจจะหมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล องค์กรต่างๆ สัตว์ สิ่งของ ก็ได้
เช่น ถ้าเราสนใจศึกษาอายุเฉลี่ยของคนไทย ประชากรคือคนไทยทุกคน สนใจรายได้เฉลี่ยของธนาคาร ประชากรคือธนาคารทุกธนาคาร เป็นต้น
ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากร
ตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล
เช่น ต้องการหาอายุเฉลี่ยของคนไทย ตัวอย่างคือคนไทยบางคนที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง หรือสนใจอายุการใช้งานเฉลี่ยของหลอดไฟยี่ห้อ B ประชากร คือ หลอดไฟยี่ห้อ B ทุกหลอด ตัวอย่างคือ หลอดไฟยี่ห้อ B บางหลอดที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง เป็นต้น สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่าง
ที่มาของข้อมูล https://www.bestwitted.com/?tag=%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2

คำถามในห้องเรียน
การเลือกตัวอย่างในการทำงานวิจัยของพระนิสิต และนักศึกษา นักเรียนคิดว่าควรเลือกตัวอย่างอย่างไร ถึงจะได้ข้อมูลครบและตรงกับจุดมุ่งหมายในการทำวิจัย

ข้อเสนอแนะ
ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงของสังคมน่าเป็นห่วงในหลายๆ ด้าน  เชิญชวนชาวพุทธทำบุญ ใส่บาตรเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาในช่วงวันหยุด  15 - 18 ก.ค.

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ

ที่มาของภาพ https://gotoknow.org/file/mongkol207/ROBOT01.jpg
ที่มาของภาพ https://kanchanapisek.or.th/kp6/New/pictures6/l6-2.jpg
ที่มาของภาพ https://www.si.kmutt.ac.th/bmaaward/final/user20/image/2.jpg
ที่มาของภาพ https://www.kammatan.com/gallary/images/20090224165235_1212738155.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4167

อัพเดทล่าสุด